ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

2 เทคนิค ตัดทางใบสร้างโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ ในสวนปาล์ม

ปกติการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน จะต้องตัดแต่งทางใบปาล์มอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง แต่หารู้ไม่ว่าการนำทางใบปาล์มออกจากสวน เป็นการทิ้งปุ๋ยและทิ้งเงินไปปีๆ หนึ่งมหาศาล

ทั้งนี้ การตัดแต่งทางปาล์มสามารถทำได้ตลอดทั้งปี ในปาล์มอายุ 5-15 ปี โดยจะรักษาทางใบไว้ 35-40 ทางใบ การเก็บทางใบไว้มากเกินไปทำให้ใบที่อยู่ด้านล่างไม่ถูกแสง และสังเคราะห์แสงไม่ได้ แต่ใบยังกินน้ำกินปุ๋ยอยู่เหมือนเดิม

ในทางตรงกันข้ามหากมีทางใบน้อยเกินไป จะทำให้มีใบสังเคราะห์แสงน้อยเกินไป และจะสร้างอาหารได้น้อยลงเช่นกัน
 🌿  เวลาใส่ปุ๋ยเคมีก็ให้หว่านลงไปในกองทางใบนี้เลยกองทางใบจะเป็นตัวช่วยเก็บรักษาปุ๋ย รวมถึงลดการสูญเสียปุ๋ยไปได้ระดับหนึ่ง

โดยปกติในรอบการตัดแต่งทางใบ รอบใหญ่จำนวน 1 รอบ โดยจะทำก่อนหน้าแล้ง เพื่อให้ปาล์มลดการคายน้ำ และใช้ทางใบคลุมโคนต้นลดการคายน้ำ

จากข้อมูลของ กรมวิชาการเกษตร เรื่อง วิชาการปาล์มน้ำมัน มีข้อมูลสำคัญว่า  ทางใบปาล์มคิดเทียบเป็นปุ๋ยเคมีสูงถึง 40% ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใช้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะไนโตรเจน 

เนื่องจากปุ๋ยที่เกษตรกรใส่ลงไปในดิน ต้นปาล์มจะดูดไปยังทางใบปาล์มเพื่อปรุงอาหาร ปุ๋ยจึงอยู่ในส่วนนี้ปริมาณมาก 

นอกจากนี้ทางใบเมื่อย่อยสลายจะ “แปลงร่าง” กลายเป็น “อินทรียวัตถุ” ได้สูงถึง 1.6 ตัน/ไร่/ปี

วิธีการนำทางใบปาล์มเก็บไว้ในสวนจึงเท่ากับเป็นการสร้าง “โรงงานปุ๋ยอินทรีย์” ที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ไว้ในสวนปาล์ม แต่จะมีวิธีจัดการที่เกษตรกรนิยมอยู่ 2 วิธี คือ 

 👍 1.กองเป็นแนวยาวกลางร่องปาล์ม

เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในหมู่ชาวสวนปาล์ม โดยนำมาใบมากองสุมไว้ตรงกลางระหว่างแถวต้นปาล์ม แล้วปล่อยให้มันย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ และปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ในทางใบคืนสู่ดิน 

อาจจะกองแบบแถวเว้นแถว และในแต่ละแถวเว้นช่องทางเดินไว้เป็นระยะสำหรับการทำงาน​ หรือวิธีกองอีกแบบที่นิยมคือกองเป็นรูปตัว​ C รอบโคนต้น​ โดยเว้นพื้นที่รอบวงโคนให้ทำงาน​ ตัดทะลาย​ เก็บลูกร่วง​ และใส่ปุ๋ยได้

เวลาใส่ปุ๋ยเคมีก็ให้หว่านลงไปในกองทางใบนี้เลยกองทางใบจะเป็นตัวช่วยเก็บรักษาปุ๋ย รวมถึงลดการสูญเสียปุ๋ยไปได้ระดับหนึ่ง 

บริเวณนี้จะกลายเป็น “โรงอาหาร” สำหรับต้นปาล์ม นอกจากนั้นทางใบยังมีส่วนช่วยในการรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้างไปกับฝนอีกด้วย 

แต่การกองทางใบรูปแบบนี้ไม่ควรกองสูงจนเกินไป​ เพราะจะทำให้ย่อยสลายยาก​ และเป็นแหล่งอาศัยของหนูหรือสัตว์มีพิษ

ประโยชน์ของการกองทางใบในร่องสวนปาล์ม
1 ช่วยรักษาความชื้นในสวนปาล์ม
2 ย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ บำรุงรักษาดิน และสร้างอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับดิน
3 ช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยเคมี และอินทรียวัตถุจากทางใบปาล์มจะช่วยให้ต้นปาล์มได้รับปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ลดการชะล้างหน้าดินในช่วงหน้าฝน
5 ลดต้นทุนปุ๋ยอินทรีย์ และเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยเคมี ขณะที่เกษตรกรบางรายไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เลย
👍 2. ปูทางใบให้เต็มพื้นสวน
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ค่อยพบเห็นมากนัก แต่กำลังเริ่มได้รับความสนใจค่อนข้างมากจากเกษตรกรชาวสวนปาล์ม 

วิธีการนี้เพียงแค่เปลี่ยนจากกองสุมมาเป็นปูทางใบให้เต็มพื้นสวน เกษตรกรในภาคใต้ อย่าง จ.สุราษฎร์ธานี หลายรายบอกตรงกันว่า วิธีนี้ทางใบจะย่อยสลายได้เร็วกว่ากองสุม และยังช่วยรักษาความชื้นและการชะล้างหน้าดินได้ในวงกว้าง และลดการเกิดหญ้าในสวน เวลาหว่านปุ๋ยจะหว่างกลางแถวเหมือนเดิม หรือหว่านรอบต้นก็ได้

 🌲 นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรหัวก้าวหน้า ของ จ.สุราษฎร์ธานี บอกว่า การใช้ทางปาล์มปูให้เต็มสวนจะสร้างอินทรียวัตถุได้อย่างเหลือเฟือ เพียงแต่ไม่มีใครทำกัน “ผมสังเกตว่าเราปูทางใบตามพื้นมันย่อยสลายเร็วกว่ากองไว้เป็นแถว แล้วหญ้าไม่ค่อยขึ้นด้วย ตรวจวัดแล้วอินทรียวัตถุในดินผม 5.7 เลยมันสูงมาก ทั้งที่ไม่เคยใส่มูลสัตว์สักนิดเลย มาจากทางปาล์มในสวนล้วนๆ 

มีเทคนิคเล็กๆ อยู่ที่ เวลาปูให้คว่ำทางใบ เพื่อไม่ให้ปุ๋ยไปติดอยู่ตามร่องใบปาล์มเท่านั้นเอง
 🌲 อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ และเกษตรกรใน จังหวัดเดียวกัน บอกว่า “สภาพดินที่ปูด้วยทางปาล์ม เมื่อปูซ้ำหลายๆ รอบ ทางใบชั้นล่างจะผุไปเรื่อยๆ และเปลี่ยนสภาพเป็นอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ดินดำ เก็บความชื้นได้ดี และไม่ต้องซื้อปุ๋ยคอกใส่เลย ประหยัดเงินได้เยอะ อีกทั้งหญ้าก็ไม่ต้องตัดมาก รากปาล์มออกมาให้เห็นมากมาย”

ทางใบปาล์ม จึงมีคุณค่าและประโยชน์อนันต์สำหรับสวนปาล์ม รวมถึงยังช่วยลดต้นทุนการทำสวนปาล์มได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณ
นายโสฬส เดชมณี
นายพรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม