ในทางตรงกันข้าม
ถ้าสวนปาล์มขาดน้ำหล่อเลี้ยง ก็ย่อมจะทำให้การทำงานทุกส่วน “พัง” ไปด้วย
________________________
Hightlight
▶ บทความ
“ควรให้น้ำต้นปาล์มหรือไม่ ของ ดร.ธีระพงศ์ จันทรนิยม
น้ำเป็นตัวสนับสนุนให้ผลผลิตปาล์มได้เต็มศักยภาพของพันธุ์ปาล์ม และมีผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตของต้น
และทะลายปาล์ม หากต้นปาล์มขาดน้ำเพียง 1 เดือน จะทำให้น้ำหนักทะลายลดลง 5% แต่ถ้ามีการขาดน้ำมากกว่า 2 เดือน
จะทำให้น้ำหนักทะลายลดลงถึง 15-20%
▶ โสฬส
เดชมณี ให้ความสำคัญกับน้ำ เท่าๆ กับปุ๋ย ในช่วงแล้ง น้ำ จึงจำเป็น เขายังบอกว่าหน้าแล้งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์มมากที่สุด
เพราะเป็นช่วงที่มีแสงแดดมากที่สุด ถ้าให้น้ำและปุ๋ยครบ ผลผลิตจะต่อเนื่อง และผลผลิตเฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนต่ำลง
▶ สวนปาล์มน้ำมัน
4.0 ต้องที่นี่เลย ของณัฐดนัย สุขรัตน์ ควบคุมระบบการให้น้ำ ด้วยสมาร์ทโฟน
อยู่ที่ไหนก็ได้ในโลกนี้เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต
________________________
ในบทความงานวิจัยของ ดร.ธีระพงศ์
จันทรนิยม นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความกระจ่างถึงความสำคัญของ น้ำ
กับสวนปาล์มไว้อย่างละเอียด ซึ่งเราได้ยกมาดังเนื้อหาต่อไปนี้
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก
การจะปลูกปาล์มให้ได้ผลผลิตดี นอกจากจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูก
การใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องเหมาะสม การใช้พันธุ์ที่ดีและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกแล้ว
ปริมาณและการกระจายตัวของฝน คือ เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดให้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตมากหรือน้อย
โดยทั่วไปพบว่าพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มม./ปี และไม่มีช่วงแล้งเลย (แต่ละเดือนมีฝนตกมากกว่า 100 มม.) ปัจจัยของน้ำฝนจะไม่มีผลต่อผลผลิตเลย
โดยทั่วไปพบว่าพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มม./ปี และไม่มีช่วงแล้งเลย (แต่ละเดือนมีฝนตกมากกว่า 100 มม.) ปัจจัยของน้ำฝนจะไม่มีผลต่อผลผลิตเลย
ในขณะที่ปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า
1,250 มม./ปี และมีช่วงแล้งต่อเนื่องกันมากกว่า
4 เดือน
ปริมาณน้ำฝนจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน
━━━━━━━━━━━━
ให้น้ำสวนปาล์มเพื่ออะไร
━━━━━━━━━━━━
การปลูกสร้างสวนปาล์มเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักๆ
ที่สำคัญอย่างน้อย 4 ประการ
ประการแรก คือ
พันธุ์ที่ใช้ปลูกต้องมีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับพันธุ์ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด
ประการที่สอง คือ ปุ๋ย เนื่องจากต้นทุนการผลิตปาล์มมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับปุ๋ย ดังนั้นการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสมนอกจากจะทำให้เพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนอีกด้วย
ประการที่สาม คือ สภาพพื้นที่ปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ประการที่สี่ คือ ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน ซึ่งในประการที่สอง สามและสี่ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้พันธุ์แสดงศักยภาพได้สูงสุดนั่นเอง
ดังนั้นสำหรับปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ (มากกว่า 2,000 มม./ปี และไม่มีช่วงแล้งเลย) จึงไม่จำเป็นต้องมีการให้น้ำ เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอที่ทำให้ปาล์มแสดงศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุดแล้ว
ประการที่สอง คือ ปุ๋ย เนื่องจากต้นทุนการผลิตปาล์มมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับปุ๋ย ดังนั้นการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสมนอกจากจะทำให้เพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนอีกด้วย
ประการที่สาม คือ สภาพพื้นที่ปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ประการที่สี่ คือ ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน ซึ่งในประการที่สอง สามและสี่ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้พันธุ์แสดงศักยภาพได้สูงสุดนั่นเอง
ดังนั้นสำหรับปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ (มากกว่า 2,000 มม./ปี และไม่มีช่วงแล้งเลย) จึงไม่จำเป็นต้องมีการให้น้ำ เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอที่ทำให้ปาล์มแสดงศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุดแล้ว
แต่ในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนน้อย
มีช่วงขาดฝนต่อเนื่องกันนาน การให้น้ำจะช่วยให้ปาล์มยังคงรักษาศักยภาพการให้ผลผลิตสูงตามศักยภาพที่แท้จริงของพันธุ์ปาล์มนั่นเอง
อาจกล่าวได้ว่าการให้น้ำในช่วงแล้งไม่ใช่เป็นการเพิ่มผลผลิต
แต่เป็นการเพิ่มปัจจัยเพื่อให้ปาล์มแสดงศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงสุดนั่นเอง
━━━━━━━━━━━━━
สภาวะขาดน้ำมีผลกระทบต่อผลผลิตปาล์มอย่างไร
━━━━━━━━━━━━━
ในการพัฒนาของทะลายจากตาดอกที่อยู่มุมทางใบถึงระยะที่ทะลายสุกเก็บเกี่ยว
จะต้องมีการพัฒนาใบถึง 80 ทางใบ
ซึ่งในช่วงเวลาของการพัฒนาของตาดอกจนเป็นผลสามารถแบ่งได้เป็น 3
ช่วง
ช่วงที่ 1 ช่วงการกำหนดเพศ ช่วงนี้จะอยู่ในระยะที่มีการสร้างทางใบ 22-23 หรือ ประมาณ 57-58 ทางใบ ก่อนมีการเก็บเกี่ยวทะลาย ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมตาดอกจะพัฒนาเป็นดอกตัวผู้
ช่วงที่ 1 ช่วงการกำหนดเพศ ช่วงนี้จะอยู่ในระยะที่มีการสร้างทางใบ 22-23 หรือ ประมาณ 57-58 ทางใบ ก่อนมีการเก็บเกี่ยวทะลาย ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมตาดอกจะพัฒนาเป็นดอกตัวผู้
แต่ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมมีปริมาณฝนดีก็จะทำให้ตาดอกพัฒนาเป็นดอกตัวเมีย
ผลกระทบในช่วงนี้จะแสดงให้เห็นในลักษณะของจำนวนทะลาย
ช่วงที่ 2 ช่วงการผสมเกสร ช่วงนี้จะอยู่ในระยะที่มีการสร้างทางใบ 65 ทางใบ หรือประมาณ 15 ทางใบก่อนมีการเก็บเกี่ยวทะลาย ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำให้การผสมเกสรน้อย ทำให้ติดผลน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนัก 1 ทะลายน้อยไปด้วย
ช่วงที่ 3 ช่วงการเจริญและพัฒนาของผล เป็นช่วงระหว่างการผสมเกสรถึงการเก็บเกี่ยว (มีการสร้างทางใบประมาณ 65-80 ทางใบ) ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำให้การพัฒนาของผลไม่ดี ซึ่งจะทำให้น้ำหนักทะลายน้อยลงเช่นเดียวกับช่วงที่ 2
ช่วงที่ 2 ช่วงการผสมเกสร ช่วงนี้จะอยู่ในระยะที่มีการสร้างทางใบ 65 ทางใบ หรือประมาณ 15 ทางใบก่อนมีการเก็บเกี่ยวทะลาย ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำให้การผสมเกสรน้อย ทำให้ติดผลน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนัก 1 ทะลายน้อยไปด้วย
ช่วงที่ 3 ช่วงการเจริญและพัฒนาของผล เป็นช่วงระหว่างการผสมเกสรถึงการเก็บเกี่ยว (มีการสร้างทางใบประมาณ 65-80 ทางใบ) ในช่วงนี้หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำให้การพัฒนาของผลไม่ดี ซึ่งจะทำให้น้ำหนักทะลายน้อยลงเช่นเดียวกับช่วงที่ 2
━━━━━━━━━━━━
ผลของช่วงแล้งต่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน
━━━━━━━━━━━━
ผลกระทบต่อสัดส่วนเพศสัดส่วนเพศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่กำหนดผลผลิตปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสัดส่วนเพศมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนทะลายปาล์มที่สร้างขึ้น
โดยพบว่าสวนปาล์มหากขาดน้ำ 1 เดือน ไม่ทำให้สัดส่วนเพศลดลง สัดส่วนเพศจะลดลงเมื่อขาดน้ำต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 เดือน โดยมีผลกระทบมากในปาล์มที่มีอายุน้อย
พบว่าการขาดน้ำในปาล์มอายุ 4 ปี จะทำให้สัดส่วนเพศลดลงถึง 57% ในขณะที่ปาล์มอายุ 5 และ 7 ปี จะมีสัดส่วนเพศลดลง 36 และ 30% ตามลำดับ
ผลกระทบต่อการผสมเกสร
ในการผสมเกสรของปาล์มน้ำมันปาล์ม นอกจากความสมบูรณ์ของพืชในขณะนั้นแล้ว สภาพความชื้นในดินและอากาศมีผลต่อประสิทธิภาพในการผสมเกสรอีกด้วย
หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะทำให้อัตราการผสมเกสรน้อยลง มีผลทำให้มีการติดผลน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพทะลายต่ำและเป็นผลทำให้น้ำหนักทะลายลดลง
ทั้งนี้พบว่าในสภาพที่ขาดน้ำเพียง 1 เดือน
จะทำให้น้ำหนักทะลายลดลง 5% แต่ถ้ามีการขาดน้ำมากกว่า 2
เดือน จะทำให้น้ำหนักทะลายลดลงถึง 15-20%
ผลกระทบต่อการเจริญและพัฒนาของผลปาล์ม
สภาวะขาดน้ำในช่วงหน้าแล้งจะมีผลต่อการเจริญและพัฒนาของผลปาล์ม ซึ่งผ่านการผสมมาแล้ว (มีน้ำฝนต่ำกว่า 100 มม./เดือน) ติดต่อกัน 2-4 เดือน จะทำให้ทะลายที่มีการพัฒนาในช่วงดังกล่าวมีน้ำหนักลดลง 7-15% เมื่อเปรียบเทียบกับสภาพสภาพที่ไม่ขาดน้ำในช่วงเวลาดังกล่าว โดยปาล์มที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการลดลงของผลผลิตมากกว่าปาล์มอายุมาก
ความถี่ของการให้น้ำ
ในการให้น้ำเพื่อรักษาผลผลิตควรจะให้น้ำก่อนที่ความชื้นดินที่ระดับความลึก 30 ซม. 70% AWC (AWC : Available Water Capacity) พบว่า หากปล่อยให้ความชื้นต่ำกว่า 70% AWC แล้วจึงมีการให้น้ำจะมีผลทำให้ขนาดทะลายเล็กลง มีการผสมเกสรน้อยลง
ผลกระทบต่อการเจริญและพัฒนาของผลปาล์ม
สภาวะขาดน้ำในช่วงหน้าแล้งจะมีผลต่อการเจริญและพัฒนาของผลปาล์ม ซึ่งผ่านการผสมมาแล้ว (มีน้ำฝนต่ำกว่า 100 มม./เดือน) ติดต่อกัน 2-4 เดือน จะทำให้ทะลายที่มีการพัฒนาในช่วงดังกล่าวมีน้ำหนักลดลง 7-15% เมื่อเปรียบเทียบกับสภาพสภาพที่ไม่ขาดน้ำในช่วงเวลาดังกล่าว โดยปาล์มที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการลดลงของผลผลิตมากกว่าปาล์มอายุมาก
ความถี่ของการให้น้ำ
ในการให้น้ำเพื่อรักษาผลผลิตควรจะให้น้ำก่อนที่ความชื้นดินที่ระดับความลึก 30 ซม. 70% AWC (AWC : Available Water Capacity) พบว่า หากปล่อยให้ความชื้นต่ำกว่า 70% AWC แล้วจึงมีการให้น้ำจะมีผลทำให้ขนาดทะลายเล็กลง มีการผสมเกสรน้อยลง
━━━━━━━━━━━━
ข้อควรคำนึงก่อนติดตั้งระบบน้ำในสวนปาล์มน้ำมัน
━━━━━━━━━━━━
ในการตัดสินใจว่าควรให้น้ำกับปาล์มหรือไม่
จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้1 ปริมาณและการกระจายของฝน เนื่องจากการให้น้ำกับปาล์มจะเป็นการรักษาศักยภาพการให้ผลผลิต (ขึ้นอยู่กับพันธุ์) ไม่ให้ลดลง ปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอและมีการกระจายของน้ำฝนดีแล้ว การให้น้ำจะไม่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจว่าจะติดตั้งระบบน้ำหรือไม่นั้น
จำเป็นต้องศึกษาว่าพื้นที่ดังกล่าวมีช่วงขาดน้ำนานกี่เดือน
หากมีช่วงแล้งยาวการลงทุนติดตั้งระบบน้ำจะคุ้มกับผลผลิตที่เกิดจากการขาดน้ำ ในช่วงเวลาการทดลอง
5 ปี
ยังไม่คุ้มกับการติดตั้งเพื่อรักษาผลผลิต
2 ขนาดของแหล่งน้ำ
ในการให้น้ำกับปาล์มในช่วงแล้งปริมาณน้ำจะต้องเพียงพอที่จะใช้ตลอดช่วงแล้ง การรักษาคุณภาพทะลาย ซึ่งได้แก่อัตราการผสมเกสรและการพัฒนาของทะลาย เพื่อให้ได้น้ำหนักทะลายมากจะต้องควบคุมความชื้นดินที่ระดับความลึก 30 ซม.ให้มีความชื้นที่ 70-80% AWC จำเป็นจะต้องมีความถี่ในการให้น้ำซึ่งจะต้องให้น้ำในปริมาณมาก
3 อายุและคุณภาพปาล์มที่ปลูก การติดตั้งระบบน้ำในสวนปาล์มควรดำเนินการติดตั้งในช่วงที่ปาล์มอายุน้อย เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่ปาล์มเพิ่มผลผลิต และการกระจายของรากยังไม่ลึกถึงดินชั้นล่าง เมื่อกระทบแล้งจะมีผลกระทบโดยตรง ในขณะที่ปาล์มที่มีอายุมากจะมีผลกระทบจากสภาวะแล้งน้อยลง
2 ขนาดของแหล่งน้ำ
ในการให้น้ำกับปาล์มในช่วงแล้งปริมาณน้ำจะต้องเพียงพอที่จะใช้ตลอดช่วงแล้ง การรักษาคุณภาพทะลาย ซึ่งได้แก่อัตราการผสมเกสรและการพัฒนาของทะลาย เพื่อให้ได้น้ำหนักทะลายมากจะต้องควบคุมความชื้นดินที่ระดับความลึก 30 ซม.ให้มีความชื้นที่ 70-80% AWC จำเป็นจะต้องมีความถี่ในการให้น้ำซึ่งจะต้องให้น้ำในปริมาณมาก
3 อายุและคุณภาพปาล์มที่ปลูก การติดตั้งระบบน้ำในสวนปาล์มควรดำเนินการติดตั้งในช่วงที่ปาล์มอายุน้อย เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่ปาล์มเพิ่มผลผลิต และการกระจายของรากยังไม่ลึกถึงดินชั้นล่าง เมื่อกระทบแล้งจะมีผลกระทบโดยตรง ในขณะที่ปาล์มที่มีอายุมากจะมีผลกระทบจากสภาวะแล้งน้อยลง
━━━━━━━━━━━━━━━
โสฬส
เดชมณี ให้น้ำหน้าแล้ง ช่วยให้ต้นปาล์มมีผลผลิตต่อเนื่องทั้งปี
━━━━━━━━━━━━━━━
คุณโสฬส เดชมณี
เป็นเกษตรกรชาวสวนปาล์มใน อ.พุนพิน สุราษฎร์ธานี ให้ความสำคัญกับน้ำเป็นลำดับต้นๆ
ของการจัดการสวนปาล์ม แต่ลงทุนแบบบ้านๆ อาศัยความขยันและเอาใจใส่
แม้จะอยู่ภาคใต้ที่มีฝนเยอะ
แต่ก็มีบางช่วงที่เจอแล้งยาวนานหลายเดือน ถ้าปล่อยตามธรรมชาติ
ต้นปาล์มจะได้รับผลกระทบ
“ถ้ามีน้ำช่วยในช่วงหน้าแล้ง
จะช่วยให้อัตราการแตกทางใบเดินไปได้แบบปกติ เพราะเมื่อแตกทางใบมา 1 ทางก็จะมีตาดอก
ติดมา และในช่วงที่ตาดอกกำหนดเพศถ้าทุกอย่างสมบูรณ์ มันจะกำหนดเป็นเพศเมีย
แม้ดอกที่กำหนดเพศแล้ว หากขาดน้ำก็จะฝ่อไม่ติดทะลายติดผล เกิดปัญหากับผลผลิต แต่ทั้งแสงแดด ธาตุอาหาร และน้ำ มันต้องไปพร้อมๆ กัน
ถ้าขาดอย่างหนึ่งอย่างใดจะมีปัญหาต่อพัฒนาการของต้นปาล์ม”
เขายังบอกอีกว่า
ช่วงหน้าแล้งนี่แหละเป็นช่วงที่จะทำให้ต้นปาล์มเติบโตได้เต็มที่ ถ้าให้น้ำอย่างเพียงพอ
“ในฤดูแล้งจุดเด่นคือมีแสงเยอะ
จะช่วยการเจริญเติบโต ช่วยปรุงอาหารได้เต็มที่
ถ้าเราให้น้ำให้ปุ๋ยช่วงนี้ได้จะดีมากเลย และน่าจะดีกว่าฤดูอื่น แต่อย่างฤดูฝนฟ้าปิด มีแสงน้อย
ยิ่งภาคใต้ปลายปีเป็นช่วงมรสุมฟ้าปิดสามเดือน ตั้งแต่ กลางเดือน พ.ย. ถึง ม.ค.
มีน้ำแต่ต้นปาล์มปรุงอาหารได้น้อย ปาล์มช่วงนี้ผมสังเกตว่ามันสุกช้ามาก”
ระบบน้ำแบบง่ายๆ อาศัยแค่เครื่องสูบน้ำหัวหญานาค ลากสายเข้าสวนปล่อยให้น้ำไหล ขยับเปลี่ยนจนไปเรื่อยๆ จนทั่วสวน |
สวนยางพื้นราบ เวลาให้น้ำจะให้จนชุ่มโชก และให้ทุก 20 วัน ในหน้าแล้ง
ถือเป็นความโชคดี
เมื่อสวนของคุณโสฬสมีแหล่งน้ำสาธารณะอยู่ใกล้ๆ สวน ใช้น้ำได้อย่างไม่จำกัด จึงให้น้ำได้เต็มที่เหมือนกับหน้าฝน และลงทุนแบบชาวบ้านมาก
เพียงแค่มีเครื่องสูบน้ำ แล้วต่อท่อและสายยาง สูบจากคลองปล่อยให้มันไหลท่วมสวน
เพียงแค่ขยันลากสายไปตามจุดต่างๆ ให้ครอบคลุมทั่วสวนแค่นั่นเอง บางต้นที่เป็นเนินโคนต้นปาล์มน้ำอาจจะท่วมไม่ถึง แต่ในบริเวณทรงพุ่มน้ำจะถึงทุกต้น
“ผมจะไม่รอให้แล้งมาเยือนจนดินแห้งและต้นปาล์มกระทบ
แต่ดูจากสภาพอากาศถ้าไม่มีฝนติดต่อกันสักพักก็วางแผนให้น้ำแล้ว
ปีนี้ผมเริ่มให้ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม (2560) ถ้าให้น้ำไปในช่วงนี้ก็ไม่ต้องให้น้ำเยอะ
ถ้าปล่อยแล้งจนดินแห้งกว่าน้ำจะซึมลงดินกว่าดินจะชุ่มใช้เวลานานมาก”
เกษตรกรหัวก้าวหน้าแห่ง
อ.พุนพิน เริ่มให้น้ำสวนปาล์มตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่เจอแล้งรุนแรง โดยจะให้ทุก
20 วัน แต่ในโซนที่อยู่บนเนินโขดหิน ต้นปาล์มจะกระทบมากกว่าพื้นราบ
จึงให้มากเป็นพิเศษ 4-5 วัน/ครั้ง และได้ให้ต่อเนื่องมาโดยตลอด 2 ปี
ผลจากการให้น้ำต่อเนื่องเริ่มแสดงให้เห็นในปีนี้
โดยเฉพาะต้นปาล์มที่อยู่บนเนิน ที่ให้น้ำมากเป็นพิเศษ ตลอด 2 ปี แม้จะเป็นหน้าแล้งแต่มีทะลายออกเต็มคอ ผิดกับต้นปาล์มในพื้นราบที่ยังมีดอกตัวผู้ให้เห็นอยู่บ้าง
โซนต้นปาล์มที่ปลูกบนเนินหิน ถึงช่วงหน้าแล้งต้องให้น้ำ 4-5 วัน/ครั้ง
“เราต้องเข้าใจพัฒนาการในแต่ละช่วงของต้นปาล์ม
ไม่ใช่ปีนี้ทะลายขาดคอมีแต่ดอกตัวผู้ ถ้าให้น้ำแล้วปีหน้าจะออกทะลายดก
แต่เรื่องจริงถ้าให้น้ำวันนี้มันจะไปเห็นผลอีกทีประมาณ 2-3 ปีข้างหน้า เราจึงอย่าไปเสียกำลังใจ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
แล้วผลผลิตมันจะต่อเนื่องไม่ขาดช่วง”
คุณโสฬส ยังบอกอีกว่า
ต้องยอมรับว่าราคาปาล์มของไทยถูกกำหนดด้วยสภาพอากาศและฤดูกาล
เป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ ถ้าเราปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติมันก็จะขาดๆ เกินๆ
อยู่แบบนี้ เวลาออกก็ออกพร้อมกัน ขาดก็ขาดพร้อมกัน เป็นผลต่อราคาผลผลิต
“แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาให้น้ำช่วยมันในหน้าแล้ง
และทำต่อเนื่อง ช่วงที่สวนปาล์มอื่นขาดแต่เรายังมีผลผลิตต่อเนื่อง ขายในช่วงราคาสูง
และผลผลิตต่อปีสูงขึ้น พอผลผลิตสูงต้นทุนเราจะลดลง”
━━━━━━━━━━━━━
สวนปาล์มน้ำมันทันยุค 4.0 ควบคุมระบบน้ำด้วยสมาร์ทโฟน
━━━━━━━━━━━━━
คุณณัฐดนัย สุขรัตน์ ติดตั้งระบบน้ำสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟน |
ต้องบอกเลยว่าสวนปาล์มระบบน้ำของสวน คุณณัฐดนัย สุขรัตน์ สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 หรือ เกษตร 4.0 อย่างมาก เพราะระบบน้ำของเขาสามารถสั่งงานได้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟน
เขาเล่าให้ฟังว่า
มีสวนปาล์มอยู่ 2 แปลง ใน อ.สวี จ.ชุมพร 24 ไร่
และ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 20 ไร่ ระยะห่างกันเกือบร้อยกิโล ทั้งสองแปลงได้วางระบบน้ำมินิสปริงค์เกลอร์ไว้ทั้งหมด
ถึงเวลาช่วงหน้าแล้งที่กินระยะเวลา 3-4 เดือน เป็นช่วงทำงานหนักมาก เพราะต้องคอยให้น้ำทั้งสองสวนสลับกัน ช่วงที่ให้น้ำสวนหนึ่งอีกสวนหนึ่งก็ต้องหยุดไป
เลยให้น้ำได้ไม่ต่อเนื่อง ขณะที่ต้นปาล์มต้องการน้ำทุกวัน
จึงปรึกษากับวิศวกรไฟฟ้าว่าจะทำอย่างไรที่จะให้น้ำพร้อมกันได้
ก่อนจะนำอุปกรณ์โฮมออโตเมชั่น (Home Automation)
มาดัดแปลงใช้กับระบบควบคุมการทำงานของตู้คอนโทรลระบบน้ำ
สามารถสั่งงานได้ด้วยสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก
ขอเพียงแค่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต โดยทดลองใช้กับสวนปาล์ม อ.ท่าชนะ
“ผมสามารถตั้งค่าการทำงาน
และควบคุมการทำงานของระบบน้ำที่แปลง อ.ท่าชนะ โดยไม่ต้องเข้าสวนเลย สั่งเปิด-ปิดผ่านมือถือ ข้อดีของมันไม่ใช่แค่ตั้งการทำงานอัตโนมัติ
แต่ยังสั่งเปิด-ปิดได้ด้วย สมมุติเราวางโปรแกรมให้น้ำไว้ ถ้าเกิดฝนตก
ระบบมันก็ยังจะทำงานต่อไป แต่ระบบนี้เมื่อทราบว่าฝนตกผมสามารถสั่งปิดได้เลยโดยไม่ต้องไปสวน อีกทั้งช่วยประหยัดไฟและน้ำได้ด้วยและทำให้การทำงานง่ายขึ้นเยอะ ลงทุนอุปกรณ์เพิ่มแค่ 6,000 กว่าบาทเท่านั้น (หรือน้อยกว่านั้นแล้วแต่ความต้องการ)”
ตู้คอนโทรลระบบน้ำ และภาพแอพลิเคชั่นสั่งงานบนสมาร์ทโฟน |
คุณณัฐดนัย
ให้ความสำคัญกับการใช้น้ำในสวนปาล์มมาก จึงเริ่มวางระบบน้ำตั้งแต่เริ่มปลูก
โดยสวนปาล์ม 20 ไร่ ประกอบด้วยระบบหลักๆ
1 ระบบสูบน้ำเข้าสระ
2 ระบบสูบน้ำเข้าสวน
3 ระบบ CCTV ใช้ตรวจสอบการทำงาน
4 ระบบวาล์วไฟฟ้า ใช้เปิดปิดประตูน้ำ
5 ระบบตรวจสอบกระแสน้ำ ตรวจเช็คกระแสไฟ แรงดันไฟ
2 ระบบสูบน้ำเข้าสวน
3 ระบบ CCTV ใช้ตรวจสอบการทำงาน
4 ระบบวาล์วไฟฟ้า ใช้เปิดปิดประตูน้ำ
5 ระบบตรวจสอบกระแสน้ำ ตรวจเช็คกระแสไฟ แรงดันไฟ
ทั้งหมดเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์โฮมออโตเมชั่น เพื่อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน
“น้ำ สำคัญกับพืชทุกอย่างบนโลกนี้ มันเป็นตัวเคลื่อนย้ายสารอาหารผ่านไปยังท่อน้ำเลี้ยง น้ำสำคัญพอๆ กับแสง ถามว่าที่ภาคใต้ทำไมต้องติดระบบน้ำ
เพราะภาคใต้จะมีช่วงแล้งจัดหลายเดือน ช่วงนี้ต้องให้น้ำ
ยิ่งอนาคตมีแนวโน้มแล้งรุนแรงมากยิ่งขึ้น และในงานวิจัยถ้ามีการให้น้ำเต็มที่ผลผลิตจะสูงขึ้นกว่าสวนปาล์มที่ไม่ให้น้ำ 50%”
ระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์ ในสวนปาล์มของณัฐดนัย |
เขาเปรียบเทียบว่าแค่ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาไร่ละ
1.5 ตัน/ไร่/ปี ถ้าปาล์มราคา กก.ละ 5 บาท จะได้เงิน 7,500 บาท/ไร่/ปี แล้ว สวนปาล์ม 20
ไร่ จะมีรายได้เพิ่ม 150,000 บาท/ปี และมีโอกาสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความสมบูรณ์ของต้นปาล์ม
คุณณัฐดนัยยกตัวอย่างผลผลิตปาล์มในแปลง
20 ไร่ เป็นปาล์มพันธุ์เดลี่คอมแพ็ค จาการเก็บสถิติปีล่าสุด (1 ม.ค. 2559 – 31 ธ.ค.
2559) ช่วงอายุ 3.6 - 4.5 ปี ได้ผลผลิตสูงถึง 4.31 ตัน/ไร่/ปี หรือผลผลิตรวมทั้งปี
86.2 ตัน ขณะที่ต้นทุนเบื้องต้น (ค่าปุ๋ย ค่าตัด ค่าบรรทุก) 1.91 บาท/กก. เท่านั้น ซึ่งระบบน้ำคือส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น
ถ้า “ดิน” คือ รากฐาน ของการสร้างสวนปาล์ม “สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน” คือ ชีวิต และ “ปุ๋ย” คือ ธาตุอาหาร “น้ำ” ก็คือ เส้นเลือดใหญ่ หล่อเลี้ยงทุกส่วนของต้นปาล์มให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลผลิตสูง
ทีนี้ชาวสวนปาล์มก็คงจะได้คำตอบแล้วว่า ควรให้น้ำสวนปาล์มหรือไม่
ถ้า “ดิน” คือ รากฐาน ของการสร้างสวนปาล์ม “สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน” คือ ชีวิต และ “ปุ๋ย” คือ ธาตุอาหาร “น้ำ” ก็คือ เส้นเลือดใหญ่ หล่อเลี้ยงทุกส่วนของต้นปาล์มให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลผลิตสูง
ทีนี้ชาวสวนปาล์มก็คงจะได้คำตอบแล้วว่า ควรให้น้ำสวนปาล์มหรือไม่
ปาล์มพันธุ์เดลี่คอมแพ็ค อายุ 3.9 ปี ให้น้ำในหน้าแล้ง ผลผลิตเต็มคอ
ขอขอบคุณ
คุณโสฬส เดชมณี โทรศัพท์
08-1370-0105
คุณณัฐดนัย สุขรัตน์ 08-9109-3993
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น