ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

เทคนิคจัดการสวนปาล์ม (ตอน 1 ) : 2 เทคนิค จัดการสวนปาล์ม ช่วงก่อนให้ผลผลิต

การจัดการสวนปาล์มน้ำมันในช่วง 3 ปีแรก นับว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากช่วงดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมในการให้ผลผลิตของปาล์ม หากมีการจัดการที่ถูกต้องก็จะทำให้ต้นปาล์มสมบูรณ์และให้ผลผลิตเต็มศักยภาพของพันธุ์ปาล์ม

การจัดการสวนในช่วงนี้เป็นการดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ

🌿 วัตถุประสงค์ที่ 1
เพื่อให้มีต้นปาล์มครบทั้งพื้นที่ หากมีต้นปาล์มตายระหว่างการปลูกจะต้องปลูกซ่อมภายใน 6-8 เดือน โดยใช้กล้าปาล์มที่มีอายุ 16-18 เดือน นอกจากนั้นต้นปาล์มทุกต้นที่ปลูกจะต้องให้ผลผลิต (จะต้องมีการสร้างดอกตัวเมีย)

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำเกิดจากในแปลงมีต้นปาล์มที่ไม่ให้ผลผลิต ซึ่งอาจเกิดจากคุณภาพของกล้าปาล์มที่นำมาปลูก หรือเกิดจากกล้าปาล์มที่นำมาปลูกไม่ได้ผ่านกระบวนการคัดกล้าผิดปกติทิ้งทำให้มีปาล์มที่ผิดปกติ ถูกนำมาปลูกด้วย ต้นปาล์มเหล่านี้จะต้องมีการทำลายและปลูกทดแทน 


โดยปกติหลังจากปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ปี กล้าปาล์มจะแทงช่อดอกให้เห็น หากกล้าปาล์มต้นใดไม่มีการแทงช่อดอกภายใน 18 เดือน ก็ควรทำลายและปลูกทดแทนด้วย 

ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ 1 ไร่ มีต้นปาล์มที่ปลูกจำนวน 22 ต้น หากปาล์มทุกต้นให้ผลผลิต150 กก./ต้น/ปี ก็จะทำให้ได้ผลผลิต 150 x 22 = 3,300 กก./ไร่/ปี แต่หากมีต้นกล้าผิดปกติไม่ออกทะลาย 4 ต้น/ไร่ (ปกติต้นกล้าที่ไม่มีการคัดทิ้งจะมีต้นกล้าผิดปกติประมาณ 20%) ทำให้มีประชากรปาล์มที่ให้ผลผลิตเพียง 18 ต้น/ไร่ ดังนั้นจะได้ผลผลิตเพียง 150 x 18 = 2,700 กก./ไร่ ทำให้เกษตรกรสูญเสียผลผลิตไป 600 กก./ไร่/ปี

การสูญเสียดังกล่าวจะเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปีแต่ต้นทุนการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยังคงเท่าเดิม (เกษตรกรยังคงใส่ปุ๋ยให้กับต้นปาล์มที่ไม่ได้รับผลผลิตเพราะคิดว่าสักวันต้นปาล์มอาจจะไห้ผลผลิต)

🌿 วัตถุประสงค์ที่ 2
ให้ปาล์มแต่ละต้นมีความสมบูรณ์อย่างเต็มที่ เพื่อเตรียมพร้อมในการให้ผลผลิตหลังจากปาล์มอายุครบ 3 ปี ต้องดำเนินการดังนี้ 
หักช่อดอกทิ้ง เพราะเป็นช่วงที่ทะลายเล็ก หากปล่อยไว้จนเป็นทะลายจะเปลือกน้ำเปลืองปุ๋ยและเน่าเป็นแหล่งสะสมโรคได้

หักช่อดอกทิ้ง : โดยปกติหลังจากปลูกปาล์ม 12-16 เดือน ปาล์มจะแทงช่อดอกให้เห็น หากปล่อยช่อดอกนี้ไว้ก็จะเจริญเป็นทะลายแต่จะมีขนาดเล็ก เกษตรกรส่วนใหญ่จะปล่อยทิ้งไว้ทำให้ทะลายเน่าและเป็นแหล่งสะสมโรคทะลายเน่าได้ และในการสร้างทะลายดังกล่าวก็ยังนำอาหารมาใช้ทำให้ต้นปาล์มสูญเสียอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุให้การเจริญเติบโตของลำต้นลดลง

ดังนั้นจึงควรมีการหักช่อดอกทิ้ง (ก่อนทิ้งให้สังเกตด้วยว่าเป็นดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมีย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการทำลายต้น และทำการปลูกใหม่ตามการดำเนินการของวัตถุประสงค์ที่ 1)

ห้ามแต่งทางใบจนถึงระยะการเก็บเกี่ยว (30 เดือน) : ในช่วงดังกล่าวปาล์มกำลังเจริญเติบโตจำเป็นต้องมีการสร้างอาหารมาก ดังนั้นต้นปาล์มจึงต้องมีการสังเคราะห์แสงมากการแต่งทางใบออกจะเป็นการลดพื้นที่ในการสังเคราะห์แสง ทำให้ต้นปาล์มมีการสร้างอาหารน้อยลง และการตัดทางใบออกยังทำให้โคนลำต้นมีขนาดเล็กด้วย 
 ช่วงนี้ต้นปาล์มต้องการสร้างอาหารมากจึงมีการสังเคราะห์แสงมาก หากแต่งทางใบออกจะทำให้ต้นปาล์มมีสร้างอาหารได้น้อยลง
ตัวอย่างต้นปาล์มที่ตัดแต่งทางใบออกมากจนเกินไป

ห้ามใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทฮอร์โมน : ในการกำจัดวัชพืชควรจะใช้วิธีดายหญ้าหรือตัดหญ้า ห้ามใช้ยากำจัดวัชพืชประเภทฮอร์โมนหรือดูดซึม เพราะจะเป็นอันตรายต่อต้นปาล์มอาจทำให้ยอดปาล์มแห้งและตายได้ ทำให้ใบปาล์มที่เกิดใหม่มีลักษณะผิดปกติและชะงักการเจริญเติบโต (ถ้ารุนแรงต้นปาล์มอาจตายได้)

การรักษาความชื้น : ทำได้โดยนำเศษพืชมาปกคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้นและเพิ่มธาตุอาหารให้กับปาล์มจากการศึกษาพบว่า การใช้ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันคลุมโคนในอัตรา 30 กิโลกรัม/ต้น คลุมโคนต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งปาล์มอายุ 3 ปี จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในปีที่ 4, 5 และ 6 โดยในปีที่ 4 ปาล์มจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 11% ปีที่ 5 ปาล์มให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 23% และปีที่ 6 ปาล์มให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเปรียบเทียบกับปาล์มน้ำมันที่ไม่มีการคลุมโคน 

การรักษาความชื้นในช่วงปาล์มเล็กสำคัญ ทำได้ทั้งการให้น้ำในช่วงฝนแล้ง และปลูกพืชคลุม หรือใช้ทางใบหรือละทายปาล์มคลุ่มโคนต้น 

ที่มา : คู่มือเกษตรกร การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ โดย ธีระพงศ์ จันทรนิยม
ขอขอบคุณภาพส่วนหนึ่งจาก Facebook : กลุ่มปาล์มน้ำมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม