การยางแห่งประเทศไทย
เผยการดำเนินงานขับเคลื่อนยางพาราทั้งระบบครบวงจรของประเทศ
โดยมีผลการที่สำคัญในการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนยางยางพาราทั้งระบบ
ประจำเดือน กันยายน 2559
1. กยท.
เปิดรับคู่สัญญา โครงการยางพาราประชารัฐ ส่งเสริมจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน นำร่อง
ให้ความรู้การจัดการสวนยางมาตรฐาน FSC และ PEFC ให้ผู้นำเกษตรกรและพนักงาน กยท. กว่า 200 คน
ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 4 จังหวัด (ระนอง
ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร) หวังเพิ่มมูลค่าไม้ยาง
ขยายตลาดส่งออกสู่ระดับสากล
กยท.เปิดรับคู่สัญญา
การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานFSC และPEFC ในระดับสากล
ภายใต้โครงการยางพาราประชารัฐ ผลักดันการส่งออกไม้ยางพารา เพิ่มมูลค่า
ขยายฐานตลาดการส่งออก เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร
โดยลงพื้นที่นำร่องอบรมการจัดการสวนยางภายใต้มาตรฐาน FSC และ PEFC ณ แก้วสมุยรีสอร์ท อ.เมือง
จ.สุราษฎร์ธานี หวังถ่ายทอดความรู้การจัดการดูแลสวนยางให้แก่ผู้นำเกษตรกรและพนักงาน
กยท.กว่า 200 คน พร้อมย้ำ กยท.
เตรียมผลักดันไม้ยางพาราไทย สู่มาตรฐาน FSC และ PEFC ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ดร.ธีธัช
สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
เผยว่าปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกไม้เพื่อใช้สอย
เพื่อเป็นอาชีพ
ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การส่งเสริมการปลูกยางพาราอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ กยท.
ได้ดำเนินการอบรม ให้ความรู้ในการปลูกยางพาราอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
แต่เพื่อให้ไม้ยางพาราเป็นไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เกษตรกรที่ทำการปลูก และโค่น สามารถขายได้มูลค่าสูงขึ้น
จึงจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการการรับรองโดยมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกในระดับนานาชาติ
โดยมาตรฐานดังกล่าว เรียกว่า FSC
(Forest Stewardship Council) และ PEFC (Programme
for the Endorsement of Forest Certification) และเป็นโครงการนำร่องที่
กยท. จะ ออกใบรับรองไม้ยางพาราร่วมกับ TFCC (Thailand Forest
Certification Council)
ล่าสุด กยท.
ได้ลงพื้นที่จ.สุราษฎร์ธานี
จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการสวนยางที่ดีอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC และ PEFCเพื่อให้ผู้ปลูกยางมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาสวนยางของตนเองให้ได้มาตรฐาน
โดยนำร่องพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 4 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี
และ ชุมพร มีผู้นำเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง และพนักงาน กยท.เข้ารับการอบรมประมาณ 250 คน โดย กยท.ตั้งเป้า 3 เดือน
พื้นที่ปลูกสร้างสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี ต้องได้การรับรองจาก FSC และ PEFC ให้ได้เกือบ 100% ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมดในจังหวัด
ทั้งนี้
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของไม้ยางพารา
และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราของไทย รวมถึงขยายตลาดการส่งออกให้แก่กลุ่มสหกรณ์
สถาบันเกษตรกร และเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ ที่ผ่านมาเกษตรกรเมื่อโค่นสวนยางพารา
1 ไร่ จะขายไม้ยางพาราได้ไร่ละ 70,000 – 80,000 บาท แต่ปัจจุบันขายได้เพียงไร่ละ 20,000 – 30,000 บาท เท่านั้น
เนื่องจากตลาดต่างประเทศที่รับซื้อไม้ยางพารามีมาตรฐานการรับซื้อที่สูงขึ้น
ส่งผลให้ไทยส่งขายไม้ยางได้เพียงบางประเทศเท่านั้น
ซึ่งการรับรองการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC และ PEFC จะเป็นการขยายตลาดการส่งออกไม้ยางพาราไปยังประเทศที่ต้องการการรับรองคุณภาพในระดับสากล
เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อเมริกา และประเทศในแถบยุโรป
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่าการยางฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการยางพาราประชารัฐ กับบริษัท สยามฟอร์เรส แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางในการเพิ่มมูลค่าในการขายไม้ยาง และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางทั้งในและต่างประเทศ พร้อมรับซื้อไม้ยางพาราที่เหลือใช้จากการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เช่น กิ่ง แขนง ราก เศษขี้เลื่อย เป็นต้น เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแท่งเชื้อที่สะอาด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รายได้เพิ่มจากการส่งขายไม้ยางพารา และวัสดุไม้อื่นๆ ทั้งหมดได้อีกทางหนึ่งด้วย
สิ่งสำคัญ กยท. จะเข้ามาสนับสนุนส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร ตั้งแต่การปลูก การกรีด และการโค่นยางพารา โดยให้ทุกกระบวนการอยู่ในขั้นตอนตามมาตรฐาน FSC และ PEFCนอกจากนี้ กยท.จะเร่งจัดอบรมพนักงานของ กยท. หลักสูตร Train the Trainer เพื่อให้พนักงาน กยท.ทั่วประเทศที่ดูแลและส่งเสริมสวนยางสามารถตรวจรับรองในทุกขั้นตอนของการจัดการสวนยางในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ นอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้สู่เกษตรกรชาวสวนยางแล้ว ตัวแทนภาคเอกชนอื่นๆ ที่ดำเนินธุรกิจการแปรรูป หรือการนำไม้ยางพาราไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันดังนั้น “การอบรมโครงการดังกล่าวใน จ.สุราษฎร์ฯ เป็นการนำร่องที่แรก และพร้อมจะขยายไปในทุกพื้นที่ปลูกยางทั่วประเทศ”
2.กยท. เตรียมเดินหน้า พัฒนาคุณภาพยางไทย ผลักดันการแปรรูป พร้อมป้อนเข้าตลาดใหม่สู่อินเดีย
กยท.เผยผลการมาเยือนของนักธุรกิจอินเดีย
ในการเจรจาผู้ซื้อพบผู้ขายทั้งในพื้นที่ภาคใต้ จ.สงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.บึงกาฬ ที่ผ่านมา พร้อมเตรียมให้การยางฯ
เดินหน้าพัฒนาคุณภาพยางพาราไทยให้มีมาตรฐาน เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
กล่าวว่าการเดินทางไปประเทศอินเดีย
ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นับว่าเป็นโอกาสของไทยในการขยายตลาดและความร่วมมือในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ได้เร่งประสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้สินค้าเกษตรอย่างยางพารา
ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศอินเดียในการแปรรูปอุตสาหกรรมยางล้อ
และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เพื่อใช้ภายในประเทศค่อนข้างสูง โดยประเทศอินเดีย
มีปริมาณการใช้ยางในประเทศ 9 แสน – 1.1 ล้านตันต่อปี
ในขณะที่ผลิตยางภายในประเทศได้ปีละ 5 แสนตัน ดังนั้น
ประเทศอินเดียยังมีความต้องการใช้ยางในประเทศประมาณ 4-5 แสนตันต่อปี
จึงเป็นโอกาสของประเทศไทย ในฐานะผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก
จะส่งวัตถุดิบป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศ
การต้อนรับคณะนักธุรกิจยางพาราจากอินเดีย
เพื่อพบปะและเจรจาการค้ากับผู้ประกอบการทั้งภาคเอกชน
และสถาบันเกษตรกรของไทยในพื้นที่ภาคใต้ ที่ จ.สงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่
จ.บึงกาฬ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกยางเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย
และมีศักยภาพในการรวบรวมผลผลิต การแปรรูปยางเพื่อส่งออก
รวมถึงความได้เปรียบในระบบการคมนาคมขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ
โดยได้รับการประสานงานเป็นอย่างดีจาก การยางแห่งประเทศไทย
สมาคมนักธุรกิจไทย-อินเดีย และสถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงนิวเดลี
โดยผลการเจรจาในครั้งนี้ ประเทศไทยได้ทราบถึงปริมาณความต้องการยางพารา
และความต้องการของบริษัทผู้ผลิตยางล้อ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของวัตถุดิบ
ปัญหาเรื่องกลิ่น ทั้งนี้ เตรียมมอบให้ กยท. เร่งให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง
ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพยางไทยทั้งระบบให้ได้มาตรฐานระดับสากล
“การมาเยือนของคณะนักธุรกิจอินเดียในครั้งนี้
มีผู้ซื้อยางหลายบริษัทที่ให้การตอบรับเป็นอย่างดี ผ่านทางการยางแห่งประเทศไทย โดย
กยท.จะเป็นผู้ประสานงานหาตัวอย่างผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง STR 20 จากสหกรณ์ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่มีความพร้อมด้านการแปรรูป
ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นด้านมาตรฐานการรับรองกับผู้ซื้อ
และส่งให้บริษัทในประเทศอินเดียพิจารณาก่อนซื้อขาย นอกจากนี้
ยังมีความต้องการยางไทยจากหลายบริษัทในประเทศจีนที่ติดต่อเข้ามา จึงได้มอบให้ กยท.
พิจารณาการจะเข้าไปรับซื้อยางตลาดในประเทศ เพื่อให้ได้สินค้าตรงตามความต้องการของผู้ซื้อแต่ละรายต่อไป” ดร.ธีธัช กล่าวทิ้งท้าย
3.ประเด็นการระบายสต็อกยางพาราประมาณ3.1 แสนตัน
ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยกล่าวว่า การระบายสต็อกยาง 3.1 แสนตัน
ที่มาจากโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง
และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง จำนวนประมาณ3.1 แสนตัน
กยท.
เน้นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล
โดยจะนำยางในสต็อกดังกล่าวมาใช้ในโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐก่อน
จากนั้น จะนำยางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และนำมาใช้ภายในประเทศให้ได้มากที่สุด
โดยในส่วนที่เหลือ อาจจะต้องระบายขายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา
และต้องคำนึงถึงคุณภาพยางควบคู่ด้วย อย่างไรก็ตาม มาตรการในการขายยางในสต็อกส่วนที่เหลือจากวัตถุประสงค์ข้างต้น
ทาง กยท. ยืนยันจะไม่ขายยางแบบล็อตอย่างแน่นอน โดยจะดำเนินการแบ่งขายเป็นล็อตเล็กๆ
และค่อยๆ ระบายออกไป เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคายางพาราในตลาด และที่สำคัญ
การขายจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวสวนยาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น