หรือแม้กระทั่งประเด็นที่กำลังร้อนและแรงคือเรื่องการใช้กรดซัลฟิวริคในพื้นที่ภาคอีสาน
จนสร้างภาพลบให้กับยางไทย ประเด็นเหล่านี้คงไม่มีน้ำหนักนัก
เพราะเมื่อยางก้อนถ้วยกลายเป็นความเคยชินของเกษตรกรในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ยิ่งห้ามก็ยิ่งเหมือนการพยายามจะเอามือปิดแผ่นฟ้า
เพราะการทำยางก้อนถ้วย สอดคล้องกับการทำงานของเกษตรกร
มีตลาดรองรับในพื้นที่ และมีต้นทุนต่ำ เมื่อเทียบกับการผลิตยางประเภทอื่น
แนวทางแก้ปัญหาการผลิตยางก้อนถ้วยที่ตรงจุดตรงปัญหาที่สุดก็คือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพ
ยาง&ปาล์มออนไลน์ จึงนำบทความวิธีการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพ
โดย สำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคาย การยางแห่งประเทศไทย มาฝาก รายละเอียดมีดังนี้
- ควรเป็นยางก้อนที่สะอาด ไม่มีสิ่งปลอมปน
- ใช้กรดในการจับตัว
- มีรูปทรง สัณฐานใกล้เคียงกับรูปถ้วยรับน้ำยาง
- การเตรียมกรด
- กรดฟอร์มิคเข้มข้น 2 ช้อนแกง(30CC)ผสมน้ำ 3 กระป๋องนม(900CC)จะได้ Conc.3%
- บรรจุในขวดพลาสติกที่ฝาปิดเจาะรู เช่น ขวดน้ำ ขวดน้ำกลั่น
- เมื่อเก็บแล้วให้คว่ำถ้วย
- น้ำเซรุ่มสาดไประหว่างแถวยางหรือเทใน ภาชนะแล้วนำไปเทในที่ที่เหมาะสมในวันที่ 4-5(วันกรีดที่3-4)
- จะกรีดยางเพื่อสะสมก้อนยางและปฏิบัติการผลิตยางก้อนถ้วยเช่นเดียวกับวันที่ 1-2 ก็ได้
- เก็บยางก้อนถ้วยในภาชนะที่สะอาด
- นำยางก้อนถ้วยไปผึ่งบริเวณที่สะอาด
- ยางก้อนถ้วยสด
- มีอายุของยางก้อนถ้วย 1–3 วัน
- ผิวของก้อนยางมีสีขาวจนถึงสีขาวขุ่น มีระดับความชื้นระหว่าง 45–55%
- มีรูปทรงสัณฐานใกล้เคียงรูปถ้วยรับน้ำยาง
- ผิวของยางก้อนถ้วยมีความนุ่ม
- ยางก้อนถ้วยหมาด
- มีอายุของยางก้อนถ้วย 4–7 วัน
- ผิวของก้อนยางมีสีขาวขุ่นถึงสีน้ำตาลอ่อน
- ยางก้อนมีระดับความชื้นระหว่าง 35–45%
- เป็นยางก้อนที่ไม่มีของเหลวไหลออกจากก้อนยาง
- ผิวของยางก้อนถ้วย มีความนุ่มจนถึงกึ่งแข็ง
- ยางก้อนถ้วยแห้ง
- มีอายุของยางก้อนถ้วยมากกว่า 7 วัน
- ผิวของก้อนยางมีสีน้ำตาลเข้ม
- ยางก้อนถ้วยมีระดับความชื้นน้อยกว่า 35%
- ผิวของยางก้อนถ้วยมีความแห้ง แข็ง
ปัญหาที่พบในการผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกร
1.ไม่ใช้กรดในการจับตัวยาง ทำให้ยางเปื่อยยุ่ย ค่าความอ่อนตัว(Po)ต่ำกว่ายางที่จับตัวด้วยกรด ก้อนยางมีกลิ่นเหม็นเน่า
2.มีการใช้สารชนิดอื่นเพื่อจับตัวยางเช่น ปูนขาว CaOH)2, CaO,CaCl2,น้ำจากเปลือกผลไม้บางชนิดเช่นละมุด เป็นต้น
3.ใส่ขี้เปลือกลงในถ้วยยางผสมกับน้ำยางสดในระหว่างขั้นตอนการผลิตยางก้อนถ้วย
1.ไม่ใช้กรดในการจับตัวยาง ทำให้ยางเปื่อยยุ่ย ค่าความอ่อนตัว(Po)ต่ำกว่ายางที่จับตัวด้วยกรด ก้อนยางมีกลิ่นเหม็นเน่า
2.มีการใช้สารชนิดอื่นเพื่อจับตัวยางเช่น ปูนขาว CaOH)2, CaO,CaCl2,น้ำจากเปลือกผลไม้บางชนิดเช่นละมุด เป็นต้น
3.ใส่ขี้เปลือกลงในถ้วยยางผสมกับน้ำยางสดในระหว่างขั้นตอนการผลิตยางก้อนถ้วย
4.มีเศษดิน
ทรายใบไม้ติดกับยางก้อนระหว่างการเก็บที่มักวางบริเวณโคนต้นยางหรือระหว่างการจำหน่าย
5.ใส่น้ำในถุงบรรจุยางก้อนถ้วยก่อนนำไปจำหน่าย
6.โดนลักขโมย
7.ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้งจากการใช้กรด (ยังไม่แน่ชัด)
8.ผูกขาดซื้อจากพ่อค้าเร่ ทำให้ไม่มีโอกาสต่อรองราคา
9.บางจุดไม่มีตลาดรับ ซื้อยางก้อน
10.ได้ราคาที่ไม่เป็นธรรม ในเรื่องการตีเปอร์เซ็นต์ ความชื้นจากพ่อค้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น