ม.อ.โพล
เผยผลสำรวจผลกระทบจากวิกฤตราคายางในภาคใต้ เดือนกันยายน 2559
พบได้รับผลกระทบระดับ “มาก” ร้อยละ 40 เช่นเดียวกับหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น
2 เท่า และฉุดความสุขของชาวสวนยางจังหวัดสงขลา
ให้ลดลงจากก่อนวิกฤติราคายาง ถึงร้อยละ 32 ขณะที่ชาวสวนยางตรังยังมีความสุขมากที่สุด
เพราะรับผลกระทบน้อยที่สุด
คณะทํางานการสํารวจความคิดเห็น
ม.อ.โพล ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เปิดเผยถึงผลการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนชาวสวนยางภาคใต้
จากผลกระทบวิกฤตราคายาง การปรับตัวและความต้องการเร่งด่วนของชาวสวนยางภาคใต้
โดยสอบถามชาวสวนยางในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ช่วงเดือนกันยายน 2559 เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผนการพัฒนา
บริหารจัดการ และแก้ปัญหาให้กับประชาชนชาวสวนยางภาคใต้
พบว่า วิกฤติดังกล่าวมีผลกระทบต่อครอบครัวชาวสวนยางในระดับมาก ร้อยละ 40.8 ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอ กระทบการศึกษาบุตร และมีหนี้สินเพิ่มขึ้น โดยจังหวัดยะลามีผลกระทบต่อครอบครัวมากที่สุด ส่วนจังหวัดตรังมีผลกระทบน้อยที่สุด และเกิดผลกระทบต่อชุมชนสังคม โดยมีโจรชุกชุม การลักเล็กขโมยน้อยเพิ่มขึ้น พึ่งพาช่วยเหลือกันน้อยลง และมีการย้ายถิ่นเข้าเมืองเพิ่มขึ้น
ด้านหนี้สิน
มีจํานวนครัวเรือนชาวสวนยางที่มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น 2 เท่า จากก่อนเกิดวิกฤต
โดยจังหวัดที่มีร้อยละของจำนวนครัวเรือนที่มีภาระหนี้สินมากที่สุดทั้งก่อนและขณะวิกฤติราคายาง
คือจังหวัดยะลา ส่วนจังหวัดที่อัตราการเพิ่มของหนี้สินสูงที่สุด คือ จังหวัดภูเก็ต
ส่วนชุมพรมีหนี้สินน้อยที่สุด วิกฤตดังกล่าว
ทำให้ชาวสวนยางภาคใต้บางส่วนต้องปรับตัว โดยประหยัดค่าใช้จ่าย ร้อยละ 67 เปลี่ยนไปประกอบอาชีพที่ไม่ใช่อาชีพการเกษตร ร้อยละ 3.0
ชาวสวนยางภาคใต้
มีความสุขลดลงจากก่อนวิกฤติราคายาง ประมาณร้อยละ 20 จังหวัดที่ประชาชนมีความสุขในเปอร์เซ็นต์ที่มากที่สุดภายใต้วิกฤติราคายางในปัจจุบันคือ
จังหวัดตรัง ส่วนความสุขน้อยที่สุด คือ จังหวัดภูเก็ต และสงขลา
โดยชาวสวนยางจังหวัดสงขลามีความสุขลดลงจากก่อนวิกฤติราคายางมากที่สุดถึงร้อยละ 32
Advertivsing
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น