สร้างรายได้หลายทาง ชาวนาทวี ปลูกกล้วยหอมทองส่งญี่ปุ่น ทดแทน ยาง ปาล์ม
ถ้าเรานำไข่หลายฟองใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว
ถ้าตกหล่นเมื่อใด ไข่แตกไม่เหลือแน่นอน แต่ถ้าเรานำไข่ไปกระจายไว้ในตะกร้าหลายใบ
แม้ตะกร้าใบหนึ่งใบใดตก ก็ยังเหลือไข่อยู่ในตะกร้าอื่นๆ
นี่คือหลักของการกระจายความเสี่ยงที่ไม่ใช่แค่เรื่องบอกเล่าสู่กันฟัง หากแต่มันเป็นกลยุทธ์ที่นำไปใช้ได้จริง
นี่คือหลักของการกระจายความเสี่ยงที่ไม่ใช่แค่เรื่องบอกเล่าสู่กันฟัง หากแต่มันเป็นกลยุทธ์ที่นำไปใช้ได้จริง
ดังตัวอย่างของพืชหลักพืชทองของภาคใต้อย่าง ยางพาราและปาล์มน้ำมัน นาทีนี้ราคาไม่น่ารักนัก หนักไปทางน่าชัง
เพราะมันตกต่ำ โดยเพราะยางพารา ส่วนปาล์มราคาลูกผีลูกคน
เป็นอย่างนี้มานาน
นานจนทำให้เกษตรกรกลุ่มหนึ่งในอ.นาทวี จ.สงขลา
เรียนรู้ที่จะกระจายความเสี่ยงจากยางและปาล์ม แล้วหันมาปลูกผลไม้เพื่อสุขภาพอย่าง
กล้วยหอมทองอินทรีย์ โดยมีตลาดส่งออกรองรับผลผลิตสร้างรายได้หลายทางในยามวิกฤติ
นางปวีรัตน์ พรหมเลิศ เลขานุการกลุ่มปลูกกล้วยหอมทองนาทวี เปิดเผยว่าตามที่ จ.สงขลาได้สนับสนุนและขยายผลต่อยอดการปลูกกล้วยหอมทอง มายังพื้นที่ อ.นาทวี สร้างความสนใจแก่เกษตรกร โดยสมาชิกในกลุ่มได้โค่นสวนยางพาราบางส่วนเพื่อทดลองปลูกกล้วยหอมทอง ผสมผสานกับผักสวนครัว จนสามารถสร้างรายได้ระหว่างรอการเจริญเติบโตของกล้วยหอมทอง อาทิ ปลูกพริก มะเขือ สับปะรด และปลูกตะไคร้ ระหว่างต้นกล้วย เพื่อเป็นการไล่แมลงที่จะมาชอนไชอีกด้วย
กล้วยหอมทองที่ อ.นาทวี
มีทั้งแปลงที่พึ่งปลูก ปลูกได้ 1-2 เดือน 3-5 เดือน และจะครบกำลังเก็บผลผลิตล็อตแรกในกลางเดือนตุลาคมนี้
ในราคาประกันขั้นต้นที่ กิโลกรัมละ 10 บาท
แต่ในขณะนี้ทางญี่ปุ่นให้ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 15-17 บาท และรับซื้อไม่อั้น นางปวีรัตน์ กล่าว
ส่วนภาพรวมผลผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกรทุกแปลงที่เข้าร่วมโครงการ
ถือว่าได้ผลผลิตแบบพึงพอใจ
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก ทำให้เกษตรกรมีกำลังใจ
และมีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงราคายางพาราตกต่ำ
ข้อมูลจาก : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น