ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ยางไทยติดปีก 8 ผู้ผลิตล้อยาง “จีน” ขาดแคลนวัตถุดิบ เจรจาซื้อตรงจากเกษตรกรไทย

ข่าวที่ว่ายางพาราเริ่มขาดตลาดมีความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) เปิดเผยหลังจากการที่ได้มีผู้แทนจากประเทศจีนเข้าพบที่ จ.ระยองเพื่อเจรจาซื้อยางจากประเทศไทย

โดยคณะแรกที่เข้าพบนำโดย Mr.Wong Ferg จาก QINGDAO XINMAOYUAN RUBBER CO.,LTD  ได้พาบริษัทที่ต้องการซื้อยางรวม 8 บริษัทจากเมืองเซียงไฮ้ และคณะที่สอง นำโดย Mr.Zhu Yong Ping ประธาน บริษัท QUANGDONG JIHUAINVESTMENT DEVELOPING CO.,LTD และคณะจากกรุงปักกิ่ง ตัวแทนรัฐวิสาหกิจผลิตล้อยาง ล้อเครื่องบินให้ทหาร

ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากในปีนี้ทางจีนได้ประสบกับปัญหาการขาดแคลนยาง จึงได้ทำสัญญาซื้อขายยางไว้ล่วงหน้า แต่ปรากฏว่าคู่ค้าไม่สามารถส่งยางได้ตามสัญญา เป็นปัญหาต่อการผลิตของบริษัทต่างๆ ในเครือส่งผลให้เกิดผลพวงปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงาน



ดังนั้นผู้แทนบริษัทจากประเทศจีนจึงต้องการติดต่อสถาบันเกษตรกรจากประเทศไทยที่สามารถรวบรวมผู้ผลิต(ต้นน้ำ) ส่งวัตถุดิบโดยตรงไปยังบริษัทในประเทศจีนโดยไม่ผิดสัญญา ซึ่งทางจีนพร้อมที่จะให้การสนับสนุนดังนี้

1.ให้สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย(สยยท.) รวบรวมกลุ่มเกษตรกรผลิตยางแท่ง STR 20 และยางแผ่น RSS 3 และยางคอมปาวด์ ฯลฯ เพื่อจัดส่งให้เขาตามสัญญาที่จะตกลงกัน

2.ฝ่ายจีนโดย Miss Xiaoxia Dong จะเป็นผู้รวบรวมบริษัทต่างๆ ในประเทศจีนที่ต้องการยางเพื่อเซ็นสัญญาซื้อขายโดยตรงกับ สยยท.

3.ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันกำหนดตราสินค้า เพื่อให้ยอมรับซึ่งกันและกัน

4.เมื่อทั้งสองฝ่ายได้จำนวนยางที่แน่นอนสม่ำเสมอทั้งจำนวนและคุณภาพพร้อมที่จะเซ็น MOU ในขั้นต้นเพื่อสร้างความมั่นใจทั้งสอนฝ่าย

5.ฝ่ายประเทศจีน พร้อมที่จะให้ค่าบริหารจัดการ (นอกเหนือจากราคายางเพื่อให้กรรมการ สยยท.จะต้องเป็นผู้ตรวจสอบให้ได้มาตรฐานสากลจึงจะประทับตรายืนยันคุณภาพ

ประธานสภาเครือข่ายยางฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันทาง สยยท. มีความมั่นใจต่อเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่เป็นสมาชิก สยยท.ทุกคนในฐานะที่เป็นผู้ผลิตยาง ซึ่งวัตถุดิบอยู่ในมือถึงปีละ 4.5 ล้านตัน/ปี ถ้ารวมกับเพียง 20% ทั่วประเทศก็จะสร้างฐานอำนาจในการต่อรองราคาได้ ซึ่งมีความมั่นใจว่าเกษตรกรต้องลุกขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองและพร้อมที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยมาตรา 43 (3)

ทั้งนี้สมาชิก สยยท. พร้อมที่จะลุกขึ้นมาจับมือกันแปรรูปยางจากแผ่นดิบและยางก้อนถ้วยเพี่อเป็นการเพิ่มมูลค่าซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.กยท. มาตรา49(3) และพร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นเสือตัวทื่ 6 เนื่องจากวัตถุดิบอยู่ในมือเกษตร มีศักยภาพสามารถพัฒนาแปรรูปยางขั้นต้นเพื่อการส่งออกแทนการขายวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่ายางจากเดิมที่ขายยางในรูปแบบเดิมที่เป็น น้ำยางข้น, ยางแผ่น และยางก้อนถ้วย แต่จะพัฒนาแปรรูปเป็นยาง RSS 3 หรือ STR 20 ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.กยท.มาตรา 49 (3)


ทางสภาเครือข่ายยางฯได้รับการติดต่อประสานงานจากพ่อค้าชาวจีนที่จะมาซื้อยางจากเมืองชิงเต่าว่าประมาณต้นเดือนธันวาคมนี้จะเดินทางมาพบปะพูดคุยกับคณะกรรมการ สยยท. เพื่อร่วมกันวางแผนซื้อยางกับเกษตรกรโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง นับเป็นนิมิตหมายใหม่ที่ดีของเกษตรกรที่จะพัฒนาการขายยางไปอีกขั้น จะช่วยให้เกษตรกรชาวยางของไทยขายยางได้ราคาดีขึ้น


นอกจากจะสามารถยกระดับการซื้อขายยางในรูปแบบใหม่แล้วยังช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้ที่มั่นคงเกิดความยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม