ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ตลาดกลางยางพาราหนองคาย ปั้นตลาดประมูลยางก้อนถ้วย ใช้อ้างอิงราคาภาคอีสาน

 ใครทำยางก้อนถ้วยย่อมรู้ดีว่า จุดอ่อนของการขายยางประเภทนี้ คือ ไม่มีมาตรฐาน และราคาอ้างอิงของประเทศ เหมือนกับยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน ซึ่งจะมีตลาดกลางยางพาราสงขลา (หาดใหญ่) เป็นตลาดอ้างอิง

ในเมื่อไม่มีมาตรฐานและราคาอ้างอิง การขายจึงขาดความเป็นธรรม โดยเฉพาะเกษตรกรมักจะถูกกดราคาจากพ่อค้า รวมถึงไม่ได้รับความเป็นธรรมจากโรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาโดยตลอด

ด้วยเหตุนี้ ตลาดกลางยางพาราหนองคาย  การยางแห่งประเทศไทย จึงพยายามสร้างมาตรฐานการผลิตยางของชาวสวนยางอีสานให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยแนะนำให้หันมาให้ความสำคัญกับการทำยางก้อนถ้วยอย่างถูกวิธี โดยเน้นความ สะอาด และปราศจากสิ่งปลอมปน เพื่อลดปัญหาดังกล่าว พร้อมๆ กับจัดตั้งตลาดประมูลยางก้อนถ้วย เพื่อใช้เป็นราคาอ้างอิงของภาคอีสาน และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ ผ่านระบบซื้อขายของตลาดกลาง


คุณอนุสรณ์ แรมลี ผู้อำนวยการตลาดกลางยางพาราหนองคาย ให้ข้อมูลว่า ยางก้อนถ้วยยังไม่มีราคาตลาดอ้างอิง เหมือนยางแผ่น การจัดตั้งตลาดประมูลยางก้อนถ้วยขึ้นมาก็เพื่อสร้างราคาอ้างอิงจากหน่วยงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลาง

ดังนั้นราคาประมูลยางของตลาดกลางหนองคายจึงใช้เป็นราคาอ้างอิงในลานประมูลต่างๆ  โดยที่เกษตรกรไม่จำเป็นต้องนำยางมาขายที่ตลาดกลางยางพาราหนองคาย 

ผู้อำนวยการตลาดกลางฯ หนองคาย บอกว่า จุดอ่อนของยางก้อนถ้วยคือ คุณภาพและมาตรฐาน เนื่องจากเกษตรกรแต่ละรายผลิตคุณภาพไม่นิ่ง ต่างจากยางแผ่นที่กำหนดมาตรฐานแน่นอน เนื่องจากยางก้อนถ้วยเป็นยางสดมีน้ำปะปนอยู่ข้างใน  จึงทำได้เพียงตั้งกฎเกณฑ์กว้างๆ ว่ายางที่จะเข้าประมูลได้ต้องเป็นยางที่กรีด 6-8 มีด และเป็นยางสะอาดไม่มีสิ่งปลอมปน โดยพิจารณาจากสียาง เนื้อยาง และสุ่มตรวจความหนาแน่นของก้อนยาง 

“การตกลงซื้อขายเรายึดความยินยอมของทั้งสองฝ่าย เพราะเราไม่สามารถตรวจวัดได้แม่นยำ 100% แต่เรากำลังหาวิธีตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ที่มีความแม่นยำสูง เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย”


Advertising
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ทั้งนี้ตลาดกลางยางฯ หนองคาย ได้เริ่มเปิดประมูลยางก้อนถ้วยตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 เป็นต้นมา โดยจะเปิดตลาดประมูลทุกๆ 10 วัน ในช่วงเริ่มต้นมียางเข้าประมูลเพียง 12 ตัน เท่านั้น เนื่องจากยังเป็นระบบใหม่เกษตรกรอาจจะไม่มั่นใจ แต่หลังจากนั้นเมื่อระบบมีความชัดเจนปริมาณยางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยประมาณ 50 ตัน โดยเกษตรกรที่นำมาขายเป็นเกษตรกรในพื้นที่ใกล้ตลาดกลางฯ เพราะสามารถขนส่งมายังตลาดได้ง่าย กว่าเกษตรกรที่อยู่ไกลๆ

ข้อดีของการนำยางมาขายยังตลาดประมูลของตลาดกลาง คือ เมื่อเกษตรกรนำยางมาตลาดชั่งน้ำหนักของตัวเองแล้วกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องรอหรือนอนเฝ้าเหมือนลานประมูลยางท้องถิ่น เมื่อราคาประมูลออกในช่วงบ่าย วันถัดมาพ่อค้าจะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกร

ตลาดกลางหนองคายยังเข้าไปให้ความรู้เกษตรกรทำยางก้อนถ้วยอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะแนะนำให้หันมาใช้ “กรดฟอร์มิค” แทน “กรดซัลฟูริค” เพื่อลดผลกระทบกับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหามากในพื้นที่ที่มีการผลิตยางก้อนถ้วยจำนวนมาก โดยเฉพาะเวลาขนส่งยางตามท้องถนนจะเกิดน้ำเสียไหลเรี่ยราดและส่งกลิ่นเหม็น ตรงนี้จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกับเกษตรกร เพราะเป็นปัญหาไม่ใช่แค่คุณภาพยาง แต่ส่งผลกระทบกับชุมชนด้วย




แต่จะว่ากันตามตรง ยางก้อนถ้วยในภาคอีสานจะสะอาดกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับภาคใต้ เกษตรกรจะไม่นำสิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งสกปรก เช่น เปลือกยาง เศษใบยาง ลงไปในถ้วยน้ำยาง ทำให้กระบวนการผลิตยางแท่งทำได้ง่ายขึ้น และเป็นที่ต้องการของโรงงานยางแท่งในภาคใต้

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ
สำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคาย
ปณ.10 ปทจ.โพนพิสัย จ.หนองคาย 43120 โทร. 0-4243-6994-6, 08-6456-3910, 08-6456-3912 





ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม