การยางแห่งประเทศไทย
เดินหน้าตามนโยบายรัฐบาล โครงการควบคุมปริมาณการผลิต
ส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนยางโค่นยางเก่า ต้นยางทรุดโทรมเสียหาย
หรือต้นยางที่ให้ผลผลิตน้อย ปลูกแทนด้วยพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ
โดยปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ ตั้งเป้าส่งเสริมปลูกแทนด้วยยางพารา 3 แสนไร่/ปี และพืชชนิดอื่นอีก 1 แสนไร่/ปี
ดร. ธีธัช
สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
ได้ดำเนินการตามภารกิจการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน
ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ด้วยการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี หรือไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
กอปรกับทางรัฐบาลได้มีนโยบายโครงการควบคุมปริมาณการผลิต เพื่อลดพื้นที่การปลูกยาง
สร้างสมดุลและปริมาณยางพาราภายในประเทศ
เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ
กยท. จึงเดินหน้าส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ปลูกยางแต่ได้รับผลผลิตน้อย
ติดต่อรับสิทธิ์ขอทุนในการปลูกแทนได้ และที่สำคัญ กยท.
จะเร่งให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่
โดยเกษตรกรสามารถเลือกปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี
หรือไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง
ซึ่งจะมีพนักงานของ กยท. ให้ข้อมูลแก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างใกล้ชิด
หรือเกษตรกรชาวสวนยางสามารถขอรับคำปรึกษาและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กยท.
ทุกสาขาทั่วประเทศ
ด้าน นายกฤษดา สังข์สิงห์
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
การส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกแทนของ กยท.
เกษตรกรสามารถขอรับทุนได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมของพื้นที่ที่เกษตรกรมีอยู่ เช่น
ต้นยางพาราที่ปลูกมีความทรุดโทรมเสียหาย หรือให้ผลผลิตน้อย
แม้สวนยางจะได้รับการดูแลอย่างดีแล้ว แต่ยังคงให้ผลผลิตน้อยอยู่
และต้นยางมีอายุเกิน 15 ปี เปิดกรีดแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี
หรือเกษตรกรที่เป็นผู้รับการปลูกแทนอยู่แล้วต้องการเปลี่ยนมาปลูกไม้ยืนต้นหรือพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอื่นๆ
ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนแทนยางพารา สามารถติดต่อขอรับสิทธิ์หรือขอคำปรึกษาได้ที่
กยท. จังหวัดหรือสาขาที่อยู่ในพื้นที่ของเกษตรกรเพื่อขอรับการส่งเสริมปลูกแทนได้
ในอัตราไร่ละไม่เกิน 16,000 บาท ต่อไร่
_______________advertivsing____________________
_______________advertivsing____________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น