จากกระแสข่าวควบคุมพื้นที่ปลูกยาง ให้โค่นยางในพื้นที่ไม่เหมาะสมทิ้ง
สร้างความเข้าใจผิดให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จึงประกาศย้ำชัดเจนว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไม่มีคำสั่งให้เกษตรกรผู้ปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสมดำเนินการโค่นยางทิ้งอย่างแน่นอน
แต่ย้ำให้เดินหน้าส่งเสริม
สร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรในการปลูกยางและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ
ให้เหมาะสมตามแผนที่เกษตร (Agri-map)
หวังให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าต่อเกษตรกร
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งเสริมปลูกยางพารา กยท.กำหนดการปฏิบัติตามระเบียบอย่างชัดเจนให้กับเกษตรกรที่จะมาขอโค่นยางเก่าแล้วยื่นขอทำการเกษตรต่อไป
ซึ่งอาจปลูกยางหรือพืชเศรษฐกิจอื่นใดก็ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยมีพนักงานของ
กยท. ทำหน้าที่ให้ข้อมูล และสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกแทนทุกราย
ดังนั้น นโยบายในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by
Agri-Map) ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นนโยบายสำคัญที่จะขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-map) และเพื่อพัฒนาระบบการเกษตรของประเทศให้มีความยั่งยืน
ทั้งนี้ หากพื้นที่ดังกล่าวตามแผนที่เกษตร ระบุว่าไม่เหมาะสมกับการปลูกยาง พนักงาน กยท.จะติดตามให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรอย่างใกล้ชิด
ในการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจแทนยางพารา
ขณะเดียวกัน
กยท.มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวสวนยางที่มีต้นยางทรุดโทรมเสียหาย ต้นยางให้ผลน้อย
และตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกยาง
ได้มายื่นขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกแทน
โดยปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ สำหรับเกษตรกรที่อยู่ระหว่างรับการปลูกแทน
และดำเนินการปลูกแทนด้วยยาง แต่กลับพบว่า พื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา
จะใช้วิธีการพูดคุยสร้างความเข้าใจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปลูกแทน
ไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ
เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างคุ้มค่า
“กระทรวงเกษตรฯ
ไม่ได้มีหนังสือสั่งการ หรือนโยบายให้ กยท.
ดำเนินการบังคับเกษตรกรชาวสวนยางที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมโค่นต้นยางทิ้งแต่อย่างใด ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 9 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน) แต่กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายให้ กยท.
ส่งเสริมให้ความรู้ทางวิชาการ ประชาสัมพันธ์
และให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่ปลูกยางพาราในเขตพื้นที่ไม่เหมาะสม
ปลูกทดแทนยางพาราด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
โดยใช้ข้อมูลจากแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) และโดยข้อเท็จจริง การขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน
เกษตรกรยังคงเลือกปลูกยางพารา หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่
กยท. กำหนด ได้โดยความสมัครใจ” ผู้ว่าการ กยท. กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น