ยางก้อนถ้วย เป็นประเภทยาง “เจ้าปัญหา”
เพราะหนึ่ง ระบบซื้อขายเอื้ออำนวยให้ถูกกดราคาได้ง่าย
เนื่องจากไม่มีระบบตรวจวัดมาตรฐาน
สอง เป็นประเภทยางที่มีความชื้นและสิ่งสกปรกสูง
สาม สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม
เรื่องกลิ่นและน้ำเสีย
มีดี อย่างเดียวคือ
ต้นทุนการผลิตต่ำ และทำง่าย จึงเป็นประเภทยางที่เกษตรกรนิยมทำกันมากที่สุด
━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━
HIGHTLIGHT :
🔴 สยยท.เสนอ กยท. นำเงินเซสจาก กองทุนพัฒนายางพารา สนับสนุน กลุ่มเกษตรกรลงทุนและแปรรูปยางเครป คุณภาพเทียบเท่ายางแท่ง STR 20 เพื่อแก้ปัญหาการซื้อขายยางก้อนถ้วย
🔴 นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธาน สยยท. เผมมีตลาดส่งออกยางเครปคุณภาพ ตุรกีและจีนรองรับ หนุนเกษตรกรทำยางเครปบาง 5 มม.
━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━
หน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ส่งเสริมเกษตรกรผลิตยางคุณภาพยังจนปัญญาที่จะทำให้ เกษตรกร ลด ละ เลิก ทำยางก้อนถ้วย แล้วหันมาทำยางคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และ น้ำยางสด
HIGHTLIGHT :
🔴 สยยท.เสนอ กยท. นำเงินเซสจาก กองทุนพัฒนายางพารา สนับสนุน กลุ่มเกษตรกรลงทุนและแปรรูปยางเครป คุณภาพเทียบเท่ายางแท่ง STR 20 เพื่อแก้ปัญหาการซื้อขายยางก้อนถ้วย
🔴 นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธาน สยยท. เผมมีตลาดส่งออกยางเครปคุณภาพ ตุรกีและจีนรองรับ หนุนเกษตรกรทำยางเครปบาง 5 มม.
━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━
หน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ส่งเสริมเกษตรกรผลิตยางคุณภาพยังจนปัญญาที่จะทำให้ เกษตรกร ลด ละ เลิก ทำยางก้อนถ้วย แล้วหันมาทำยางคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และ น้ำยางสด
แนวคิดการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร
สถาบันเกษตรกร ให้รับซื้อยางก้อนถ้วยจากสมาชิกมาแปรรูปเป็นยางเครป จึงเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่
ในอดีตเคยมีโครงการส่งเสริมของ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือ สกย.เดิม
แล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะใช้เงินลงทุนสูง และต้องแข่งขันกับพ่อค้ายาง
รวมถึงถูกบล็อกจากโรงงานยางแท่ง เป็นต้น
หากแต่ปัจจุบันยางเครปกลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น
โดยเฉพาะยางเครปที่ผลิตได้คุณภาพ สามารถนำไปใช้ทดแทนยางแผ่นรมควัน
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เน้นคุณภาพเข้มข้นนัก โดยมีพ่อค้ายางชาวจีนเข้ามารับซื้อถึงในประเทศ
เรื่องนี้ทางสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย
(สยยท.) ได้เตรียมหารือแนวทาง พร้อมกับเตรียมเสนอให้ การยางแห่งประเทศไทย นำเงิน CESS จาก กองทุนพัฒนายางพารา สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรลงทุนธุรกิจยางเครป
วีระศักดิ์
สินธุวงศ์ ประชาสัมพันธ์ สยยท. อธิบายว่า หลายปีก่อนในช่วงที่ราคายางตกต่ำยาวนาน
สกย.พยายามผลักดันให้สหกรณ์ในสังกัดแปรรูปยางก้อนถ้วยเป็นยางเครป โดยกำหนดยุทธศาสตร์
โมเดล 10 โรงงานยางเครปขึ้นทั่วประเทศ
แต่ยุคนั้นไม่สัมฤทธิ์ผลเนื่องจากไม่มีตลาดส่งออกเป็นของตัวเอง
ต้องเลี้ยวหัวกลับมาขายให้กับ 5 เสือผู้ส่งออกยาง ซึ่งต้นทุนทำเครปของสถาบันเกษตรกรอยู่ที่
3 บาท/กก. แต่ 5 เสือรับซื้อ ยางเครปสูงกว่ายางก้อนถ้วยแค่ กก.ละ 2 บาททำให้สถาบันเกษตรกรขาดทุนกิโลละ
1 บาทจึงล้มเลิกไป
ก่อนหน้านั้นผู้ประกอบการรายใหญ่หัวใสแจกเครื่องทำยางเครปให้สถาบันเกษตรกรแล้วรับซื้อก้อนถ้วยมาทำเครป
แต่ต้องล้มเลิกไปเพราะยางเครปคือเนื้อยางแห้งเกือบ 100% ไม่สามารถกดค่า DRC จากเกษตรกรได้ก็ล้มเลิกโครงการดีดีไปอีก
โรงงานผลิตยางเครป ของ สหกรณ์กองทุนสวนยางในโตน จ.พังงา เป็นหนึ่งในตัวอย่างของสถาบันเกษตรกร ที่ลงทุนผลิตยางเครป แก้ปัญหาการซื้อขายยางก้อนถ้วยที่ไม่เป็นธรรม
แต่คราวนี้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ควรเป็น “แม่งาน” ในการผลักดันให้สถาบันเกษตรกรกลายเป็นผู้ประกอบกิจการยาง จากการแปรรูปยางเครปส่งออกต่างประเทศโดยไม่ผ่าน 5 เสือ
ในเรื่องนี้สภาเครือข่ายยาง สยยท.ได้นำเสนอผ่านคณะกรรมการ
สยยท.ที่เข้าไปเป็นคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรระดับประเทศของ กยท. ให้ผลักดันโครงการสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางเครปส่งออกต่างประเทศโดยด่วน
โครงการนี้ กยท. สามารถนำมาตรา 49 (3) จากกองทุนพัฒนายางพารา 35% มาส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรมากู้เงินไปใช้เพื่อการแปรรูปยางเครป
กระจายไปทั่วประเทศ
ทำให้ยางก้อนถ้วยทั้งหมดอยู่ในมือของเกษตรกรไม่ใช่ในมือของพ่อค้าดังเช่นที่เป็นมา
เมื่อไม่มีพ่อค้าคนกลางก็ไม่มีใครกดราคายางก้อนถ้วยได้อีกซึ่งราคายางเครปแพงกว่ายางก้อนถ้วย
10–15 บาท
เกษตรกรในภาคเหนือและอีสานไม่ต้องขายยางก้อนถ้วยอีกต่อไป แต่เปลี่ยนไปทำยางเครป
เงินส่วนต่างมหาศาลเหล่านี้แหละจะตกอยู่ในมือของเกษตรกรโดยตรงไม่หลงอยู่ในกระเป๋าใครอีก เมื่อปริมาณยางกว่า 30% อยู่ในมือของสถาบันเกษตรกร กยท และชาวสวนยางทั้งประเทศก็จะกลายเป็นผู้ควบคุมกลไกลตลาดยางพารา
“โลกกำลังขาดแคลนยางผู้ประกอบการรายใหญ่ในต่างประเทศได้เข้ามาติดต่อขอซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของ
สยยท. ทั้งภาคเหนือและอีสาน ในหลายสถาบัน โดยเฉพาะต้องการยางเครปอัดก้อนจำนวนมากส่งออกจีนโดยไม่ต้องมีใบเซอร์....ทางคณะกรรมการสภาเครือข่ายยางมีตลาดและผู้ต้องการยางเครปอยู่จำนวนมาก
จึงมีความเห็นฟ้องยินดีที่จะให้คำปรึกษาสถาบันเกษตรกรที่ต้องการแปรรูปยางเครปด้วยความเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง”
ด้านนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธาน
สยยท. กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ปัจจุบันเกษตรกรทำยางก้อนถ้วยจำนวนมาก
โดยเฉพาะในภาคเหนือและอีสาน ถูกเอาเปรียบเรื่อง DRCและถูกกดราคาซื้อต่ำ
แนวคิดการส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนยางก้อนถ้วยเป็นยางเครป โดยใช้ พ.ร.บ. กยท.มาตรา
49(3) ซึ่งมาตรานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันแปรรูปยางในการทำยางเครปนั้นเราสามารถดูด้วยตาเปล่า
เพียงถูกตัดเปอร์เซนต์น้ำ 1-4% เหมือนยางแผ่นดิบไม่โดน 50-60% เหมือนยางก้อนถ้วยที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
เพราะโรงงานยาง STR 20 อยากซื้อยางก้อนถ้วยมากกว่ายางเครป เพราะกด%
ยางได้ง่าย
ปัจจุบันเมื่อประเทศจีนมารับซื้อยางเครปไม่อั้นโรงงานในไทยก็จำเป็นต้องรับซื้อ%
ยางก็จะไม่ถูกตัดมากนัก
“ผมขอเรียนเกษตรกรว่าถ้าเราแขวนยางตากไว้
20 วันยางก็จะเท่ายาง
STR 20 และคุณภาพดีกว่าด้วยเพราะความยืดหยุ่นดีกว่ายางที่ผ่านโรงงาน
STR 20 คุณภาพจะเหมือนยางแผ่นรมควัน ถ้าทำได้อย่างที่เรียนมาล้อยางรถยนต์จะมีความต้องการสูงเหมือนยางแผ่นรมควันที่มีราคาสูงกว่า
STR 20”
ล่าสุด นายอุทัยได้แจ้งความคืบหน้าเรื่องการส่งเสริมการทำยางเครป ว่า ทางสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สยยท)ได้หาทางในการสนับสนุนไม่ให้เกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบในการขายยางก้อนถ้วยและรวบรวมกันเป็นกลุ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อรวบรวมยางก้อนถ้วยและใช้เครืองรีด ซึ่งไม่เกิน 5 มม. และอบเพื่อให้ความชื้นออกจากแผ่นยาง ได้เร็วขึ้นเพื่อส่งออกไปต่างประเทศได้
ล่าสุด นายอุทัยได้แจ้งความคืบหน้าเรื่องการส่งเสริมการทำยางเครป ว่า ทางสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สยยท)ได้หาทางในการสนับสนุนไม่ให้เกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบในการขายยางก้อนถ้วยและรวบรวมกันเป็นกลุ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อรวบรวมยางก้อนถ้วยและใช้เครืองรีด ซึ่งไม่เกิน 5 มม. และอบเพื่อให้ความชื้นออกจากแผ่นยาง ได้เร็วขึ้นเพื่อส่งออกไปต่างประเทศได้
สยยท.จะเป็นผู้บริหารจัดการการและจะขออนุญาตส่งออกเองโดยได้หาลูกค้าจากประเทศตรุกีและจีน
ผมในฐานะประธาน สยยท.จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ประสานงานและรวบรวมยางเพื่อการส่งออกสยยท.จึงจะต้องหาผู้ที่จะต้องการส่งออกยางร่วมกัน
จึงขอเรียนเพื่อนสมาชิกได้โปรดแจ้งความประสงค์ที่
08-1330-1945 เพราะเราจะพึ่งตนเองส่งออกเองโดยเกษตรกรเพื่อเกษตรกร สยยท. จะได้เป็นผู้รวบรวมจึงขอให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการด่วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น