มุกอันดาการยาง
จ.สุราษฎร์ธานี หันแปรรูปยางเครป 18 ตัน/วัน ทำกำไรเพิ่มอย่างน้อย 2 บาท/กก. แนะแนวทางการผลิต
ถ้าซื้อวัตถุดิบเป็น เครื่องรีดมีประสิทธิภาพ และเลือกขายทำกำไรถูกช่วงถูกเวลา
ไม่ขาดทุนแน่นอน
นอกจาก
“ยางเครป” จะเป็น “ประตูนิรภัย”
ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางในการแปรรูปยางเบื้องต้น เพื่อเพิ่มมูลค่าในช่วงราคายางตกต่ำแล้ว
แต่ยังเป็น “เขี้ยวเล็บ” สำคัญให้กับผู้ทำธุรกิจรับซื้อยางก้อนถ้วยอีกด้วย
ทีมงานยางปาล์มออนไลน์
ได้ฟังเรื่องราวอีกมุมหนึ่งจากลานรับซื้อยางก้อนถ้วยในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่เจ้าของออกปากว่า วันนี้ถ้าไม่ทำยางเครป ลานรับซื้อรายย่อยไม่ได้ไปต่อ..แน่นอน!!
คุณลัดชฎาวัลย์
ทวีแก้ว
เจ้าของลานรับซื้อยางพารา มุกอันดาการยาง ให้ข้อมูลว่า ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีเกษตรกรทำยางก้อนถ้วยอยู่มาก เพราะอยู่ในเขตฝนตกชุกจึงเป็นอุปสรรคในการทำยางแผ่น จึงมีลานรับซื้อขี้ยางหลายเจ้าทั้งรายใหญ่ - รายเล็กเกิดขึ้น
“
การทำยางเครปทำให้ลานรับซื้อขายยางเข้าโรงงานได้ราคาสูงขึ้น จึงซื้อขี้ยางจากเกษตรกรได้ราคาสูงในช่วงที่ต้องการยางมากๆ
ชาวสวนก็จะส่งขายที่นั่นหมด เราเป็นผู้รับซื้อรายย่อยถ้าไม่ปรับตัวตาม ไม่ลงทุน จะไม่มีขี้ยางมาเข้าในระบบเลย เราก็เลยต้องลงทุนซื้อเครื่องรีดยางเครปเพื่อให้ซื้อยางจากชาวสวนได้
”
เธอพูดถึงต้นเหตุของการลงทุนธุรกิจยางเครป
ลานรับซื้อแห่งนี้รับยางก้อนถ้วยจาก 2 ช่องทาง คือ รับซื้อจากชาวสวนในพื้นที่จะตีเปอร์เซ็นต์ยางไม่เกิน 55% เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นยางสดมีน้ำปนอยู่มาก แต่ถ้าเป็นพ่อค้าที่มีการพักยางไว้ก่อนจะต้องดูสภาพยางว่าทับไว้กี่คืน ดูการสูญเสียน้ำว่าออกไปเท่าไหร่แล้วจึงตีราคา แต่โดยปกติแล้วจะตีไม่เกิน 65%
เทคนิคการทำธุรกิจยางเครปให้มีกำไร ของอันดามันการยาง
👉 การลงทุนทำยางเครปแม้จะไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ง่าย เริ่มจากการซื้อเศษยางให้เป็นก่อน กล่าวคือ การตีเปอร์เซ็นต์ยางให้แม่นยำมากที่สุด
👉 ยางก้อนถ้วยที่รับซื้อหลังจากรีดแล้วน้ำหนักหายไปไม่เกิน 15% ถ้ามองแล้วว่าหายมากกว่านี้ต้องลดราคาซื้อลง
เพื่อไม่ให้ขาดทุน
👉 หลังจากเครปแล้วนำมากองทิ้งไว้ 3-7 วันเพื่อให้เนื้อยางแห้งจนสีออกเหลืองน้ำตาล ถึงแม้น้ำหนักจะลดลง แต่ได้ DRC สูงขึ้น
👉 ระหว่างการกองยางเครปทิ้งไว้หากไม่มีโรงเรือนไม่มีหลังคาบังแดด
ต้องสเปรย์น้ำเอาไว้เพื่อไม่ให้แผ่นยางเครปติดกัน เนื่องจากความร้อนและแสงแดดจะทำให้ยางติดกันทั้งกองจนแยกไปขายไม่ได้ ซึ่งการสเปรย์น้ำนี้ไม่ใช่การเพิ่มน้ำหนักให้แผ่นยางเครปแต่อย่างใด
👉 ระหว่างกองยางเครปทิ้งไว้นี้ราคายางอาจมีการขึ้น-ลง ดังนั้นโรงเครปติดตามความเคลื่อนไหวขึ้นลงของตลาด เช่น
หากคาดการณ์ว่าอาทิตย์หน้าราคายางจะขึ้นเราสามารถกองยางเก็บไว้ได้หาเรายังมีทุนหมุนเวียนพอ แต่ถ้าทุนน้อยให้ขายเป็นเครปสดก็จะยังได้กำไร
หากคาดการณ์ไว้ว่าราคายางจะลงอย่างต่อเนื่องโรงเครปสามารถนำยางไปขายตลาดล่วงหน้าไว้ก่อนโดยที่ยังไม่ต้องขนยางไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครดิตของโรงเครปนั้นๆ ด้วยว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และเครดิตการขายล่วงหน้าของแต่ละโรงเครปอาจมีไม่เท่ากัน
👉 ในส่วนของตัวเครื่องจักรต้องแข็งแรงทนทาน มีการรับประกันตัวเครื่อง และมีบริการหลังการขายที่ดี สามารถเข้ามาดูแลได้เมื่อเกิดปัญหา
การทำเครปจากขี้ยางจะมีต้นทุนประมาณ 1 บาท/กก. แบ่งเป็น
👉 ค่าแรงงาน คิดราคา 400 บาท/ตัน
👉 น้ำกรด สำหรับผสมน้ำเพื่อให้ยางติดกันเป็นแผ่นดีขณะรีด
ภาษาใต้เรียกว่า “น้ำส้มฆ่ายาง” หรืออาจใช้กรดซัลฟูริกแต่ต้นทุนจะสูงขึ้น (ยางสดเมื่อรีดเครปจะติดกันง่าย แต่ถ้าเป็นยางแห้งเมื่อรีดจะไม่เกาะกันเป็นแผ่น ถ้ามีน้ำกรดมาช่วยก็จะเกาะเป็นแผ่นได้ดีขึ้น)
👉 น้ำประปา สำหรับล้างทำความสะอาดในระหว่างการรีด
👉 ค่าไฟ หากเครื่องรีดเป็นระบบมอเตอร์จะมีค่าไฟฟ้าเข้ามา แต่ถ้าเป็นระบบเครื่องยนต์จะมีค่าน้ำมันเข้ามา
สำหรับมุกอันดาการยาง ใช้เครื่องรีดยางเครประบบเครื่องยนต์ ยี่ห้อ TSP กำลัง 40 แรงม้า ลูกกลิ้งขนาด 14 นิ้ว จาก บริษัท ไทยซัพพอร์ท เครื่องจักรกล จำกัด จำนวน 3 เครื่อง รีด 18 ตัน/วัน หรือ 6 ตัน/เครื่อง/วัน ส่งขายโรงงานยางแท่ง
บริษัท วงษ์บัณฑิต
จุดเด่นของเครื่องรีดยางเครปที่ลานรับซื้อนิยมใช้ คือ
👍 ต้องทนทาน
👍 กำลังแรงสูง
บดรีดยางก้อนถ้วยได้ดี
👍 เครื่องไม่เร็วหรือช้าเกินไป
ถ้าช้าเกินไปก็จะเครปได้ปริมาณน้อยต่อวัน
แต่ถ้าเครื่องเร็วเกินไปยางเครปอาจไม่สะอาด เนื้อหยาบ
และรีดน้ำออกได้ไม่มากเท่าที่ควร ซึ่ง
เครื่องรีดยางเครป TSP ที่เลือกใช้ “ตอบโจทย์”
การผลิตยางเครปของ มุกอันดาการยาง ได้เป็นอย่างดี
ต้องยอมรับว่าหลายปีมานี้ธุรกิจยางเครปกลายเป็น
“พระเอก” ของธุรกิจยางพาราไปเสียแล้ว จากเมื่อก่อนการทำก้อนถ้วยเพื่อแปรรูปเป็นยางเครปเป็นทางเลือกสุดท้ายของเกษตรกร แต่เมื่อมีข้อจำกัดหลายอย่างไม่เอื้ออำนวยให้ทำยางแผ่นชาวสวนจึงจะหันมาทำยางก้อนถ้วย เช่น
👉 ยางเปิดกรีดใหม่
ไม่เกิน 8 มีด น้ำยางมี DRC น้อย
👉 สภาพอากาศในพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย
เช่น ฝนตกมากเกินไป
👉 การทำยางแผ่นใช้เวลามาก
ลงทุนสูง
👉 ปัญหาขาดแคลนแรงงานทำให้ชาวสวนยางหันมาทำยางก้อนถ้วยมากขึ้น
ดังนั้นเมื่อรูปแบบการแปรรูปยางพาราเปลี่ยนไป ทั้งตัวเกษตรกรเอง ลานรับซื้อขี้ยาง หรือแม้แต่โรงงานต้องมีการปรับตัวให้สามารถยืนอยู่ในธุรกิจนี้ได้ การบริหารจัดการ องค์ความรู้ การมีบุคลากรและเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้วงการยางพาราไทยก้าวเดินได้อย่างมั่นคง
ขอขอบคุณ
คุณลัดชฎาวัลย์
ทวีแก้ว (มุกอันดาการยาง)
25
ม.3 ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฎรธานี 84210
โทรศัพท์
09-0175-4476
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น