ใครปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม หรือปลูกยางในพื้นที่แล้งบ้าง...ยกมือขึ้น...!!!
เชื่อว่าชาวสวนยางยกมือกัน “พรึบพรับ”
จนนับมือไม่ถ้วนแน่นอน
แต่อย่างไรก็ตามนาทีนี้ไม่ใช่เรื่องผิดมหันต์แต่อย่างใด
เพราะทุกวันนี้แม้กระทั่งพื้นที่เหมาะสมเอง ต่างก็ประสบภัยแล้งเพราะอากาศแปรปรวนไม่ต่างกัน
หัวใจของเรื่องจึงอยู่ที่ว่า
เมื่อตัดสินใจปลูกยางแล้ว จะสู้และยืนหยัด “ท้ารบกับภัยแล้ง” ได้อย่างไรต่างหาก
 ̄ ̄ ̄ ̄ ̄ ̄ ̄
HIGHTLIGHT
🔵 เทคนิคปลูกสับปะรดในสวนยาง ตั้งแต่แรกปลูกจนถึงยางอายุ 5 ปี เป็นทั้งรายได้เสริม รักษาความชื้น และปุ๋ยอินทรีย์ไปพร้อมกัน
🔵 ระบบน้ำคือ อาวุธ สู้ภัยแล้ง แม้จะมีพืชคลุมดิน และสภาพพื้นที่แล้งต่อเนื่องหลายเดือน น้ำเท่านั้นที่จะต่อกรกับความแห้งแล้งได้ แม้จะต้องลงทุนสูงก็ตาม
🔵 ความพ่ายแพ้ต่อภัยแล้งที่รุนแรงในปี 59 สวนยางแสียหายกว่า 80% แต่เจ้าของสวนกัดฟันสู้ปรับพื้นที่ปลูกสับปะรด และฟื้นฟูต้นยางที่เหลือให้กรับมากรีดได้อีกครั้ง
 ̄ ̄ ̄ ̄ ̄ ̄ ̄
 ̄ ̄ ̄ ̄ ̄ ̄ ̄
HIGHTLIGHT
🔵 เทคนิคปลูกสับปะรดในสวนยาง ตั้งแต่แรกปลูกจนถึงยางอายุ 5 ปี เป็นทั้งรายได้เสริม รักษาความชื้น และปุ๋ยอินทรีย์ไปพร้อมกัน
🔵 ระบบน้ำคือ อาวุธ สู้ภัยแล้ง แม้จะมีพืชคลุมดิน และสภาพพื้นที่แล้งต่อเนื่องหลายเดือน น้ำเท่านั้นที่จะต่อกรกับความแห้งแล้งได้ แม้จะต้องลงทุนสูงก็ตาม
🔵 ความพ่ายแพ้ต่อภัยแล้งที่รุนแรงในปี 59 สวนยางแสียหายกว่า 80% แต่เจ้าของสวนกัดฟันสู้ปรับพื้นที่ปลูกสับปะรด และฟื้นฟูต้นยางที่เหลือให้กรับมากรีดได้อีกครั้ง
 ̄ ̄ ̄ ̄ ̄ ̄ ̄
ยางปาล์มออนไลน์ มีวิธี “ทำสงคราม”
กับความแล้ง จากเกษตรกรชาวสวนยางใน อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ มานำเสนอ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอากาศร้อนและแล้งติดอันดับต้นๆ
ของประเทศ เขาทำอย่างไรมาให้ชมกัน
พงศกร ปัญญาสร้างสรรค์
เจ้าของสวนยาง 250 ไร่ ใน อ.สามร้อยยอด
คนที่กล่าวถึงก็คือ นายพงศกร ปัญญาสร้างสรรค์ แม้จะเป็นชาวสวนยางมือใหม่ แต่เขามีประสบการณ์ปลูกสับปะรด
และขนุน ในพื้นที่นี้มาก่อน ซึ่งต้องสู้รบกับภัยแล้งมาโดยตลอด
“ก่อนจะตัดสินใจปลูกต้องดูภาพรวมของสภาพพื้นที่ว่าดินมีความสมบูรณ์มากหรือน้อย
ถ้าสมบูรณ์น้อยแต่พอจะฟื้นฟูดินได้หรือไม่ หรือดูง่ายๆ จากพืชหลักที่เคยปลูกอยู่ก่อนอย่าง
สับปะรด ถ้าปลูกสับปะรดงาม ก็ปลูกยางได้แน่นอน แต่หากพื้นที่ตรงไหนที่ปลูกสับปะรดได้ผลผลิตน้อยไม่งาม
ก็ไม่ควรปลูกยาง เพราะต่อให้ต้นยางรอด ผลผลิตก็ได้น้อยอยู่ดี” นายพงศกรเล่า
ระบบน้ำ
คือ อาวุธ สู้ภัยแล้งในสวนยาง
นับตั้งแต่ตัดสินใจโค่นสวนขนุน 200 ไร่
และพื้นที่ปลูกสับปะรดบางส่วนเพื่อสร้างสวนยาง อย่างแรกที่เขาทำคือ “ขุดสระ”
กักเก็บน้ำ จำนวน 2 บ่อ ขนาด 1 ไร่(บ่อน้ำซึม) และขนาด 10 ไร่ (บ่อน้ำฝน) ไว้ใช้ในสวนยางช่วงหน้าแล้ง ซึ่งที่นี่แล้งยาวมาก
บ่อน้ำขนาด 10 ไร่ มีน้ำตลอดทั้งปี
สูบน้ำจากบ่อด้านล่างขึ้นมาบนเนินเขาเหนือนี้ จากนั้นก็ปล่อยให้น้ำไหลลงไปรดต้นยางด้านล่าง ช่วยประหยัดน้ำมัน
วิธีการให้น้ำในสวนยาง 250 ไร่
จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเขาจะสูบน้ำจากบ่อ 10 ไร่ ซึ่งอยู่ในจุดต่ำที่สุดของสวน
ขึ้นมาบนเนินเขาเหนือสวนระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นก็ปล่อยให้น้ำไหลลงมาที่ต่ำตามธรรมชาติ
โดยไม่ต้องมีแทงก์เก็บน้ำ น้ำจะไหลลงมาด้านล่างรดต้นยางตามธรรมชาติ
เป็นเทคนิคที่ช่วยประหยัดน้ำมันปั่นเครื่องสูบน้ำได้อีกทางหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งคือ สวนยางที่อยู่ในพื้นที่ราบก็ใช้เครื่องสูบน้ำรดผ่านระบบสปริงเกลอร์ธรรมดา
ส่วนนี้ลงทุนระบบน้ำไปหลักล้านบาท
ช่วงเวลาให้น้ำสวนยางนายพงศกรให้ข้อมูลว่า
จะให้ช่วงระหว่างฝนชุดที่ 1 กับชุดที่ 2 โดยพิจารณาว่าถ้าหมดฝนชุดที่ 1
แล้วความชื้นเริ่มจะน้อยลง แต่ฝนชุดที่ 2 ไม่มาสักที
ก็ให้น้ำเพิ่มกับต้นยางเพื่อรอฝนชุดที่ 2 ทำให้ปริมาณน้ำยางที่กรีดได้ค่อนข้างนิ่ง
แม้จะเผชิญอากาศแล้ง
ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์
ระบบน้ำสปริงเกลอร์แบบยิงไกล 3-5 เมตร เป็นระบบหนึ่งที่พงศกรใช้ให้น้ำในสวนยางอายุ 2-3 ปี
เขายังบอกว่า ระบบน้ำทำให้จัดการสวนยางง่ายขึ้น
โดยเฉพาะการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำได้ด้วยในช่วงแล้งก่อนเปิดกรีด โดยไม่ต้องใช้แรงงานมาก
และยังใช้ยาฆ่าหญ้าในขั้นตอนนี้ได้ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่ารดน้ำครั้งเดียวทำได้ทั้งให้น้ำ
ให้ปุ๋ย และกำจัดวัชพืชในครั้งเดียว
เจ้าของสวนยาง 250 ไร่
อธิบายรายละเอียดเรื่องนี้ว่า ระบบน้ำในสวนยางจะมี 2 ระบบ
คือ หัวสปริงเกลอร์ยิงยาว และสปริงเกลอร์แบบปีกผีเสื้อ ระบบหลังนี่แหละที่เขาใช้ในสวนยางเปิดกรีด
ซึ่งสปริงเกลอร์จะวางไว้ตรงกลางระหว่างแถวยาง รัศมีของน้ำจะไปไม่ถึงโคนต้นยาง
ทำให้สามารถเดินทำงานได้ไม่เฉอะแฉะ และเชื้อราจากน้ำก็ไม่เกิดกับต้นยาง
“การให้ปุ๋ยอย่างช่วงต้นฝนเราต้องการคอนโทรลให้ต้นยางแตกใบ
ไม่ออกดอก ก็ใช้ปุ๋ย 46-0-0 ผสมเข้าไปกับระบบน้ำ
แต่ก่อนหน้านั้นต้องอัดน้ำให้ชุ่มให้รากฝอยเริ่มแตกสมบูรณ์
เพราะธรรมชาติของต้นยางเมื่อแล้งต้นจะคิดว่าอาจจะตายเลยพยายามจะขยายพันธุ์ออกดอกออกลูก
บางทีไม่มีใบ แตกช่อดอกเลย เพราะฉะนั้นก่อนที่ต้นยางจะแตกดอกเราต้องรีบอัดยูเรีย
ต้นยางจะแตกใบ และใบชุดนี้จะไม่เจอฝนกรดให้เสียหาย และสามารถเปิดกรีดได้ก่อน”
น้ำหมักชีวภาพ ผสมให้ต้นยางเวลารดน้ำ
ในทุกครั้งที่มีการให้น้ำต้นยางเขาจะผสมปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรีที่หมักกับ
สารพด.2 ด้วยทุกครั้ง
เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้นยางอีกทาง และยังใช้ยาฆ่าหญ่าในกลุ่มพาราคว็อต
(กรัมม็อกโซน) พร้อมกันได้ ปุ๋ยหมักเป็นตัวเพิ่มประสิทธิภาพให้ยาฆ่าหญ้าทำงานได้ดีขึ้น
“การผสมยาฆ่าหญ้าโดยทั่วไปจะใส่
3-4 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร
แต่ของผมจะใส่แค่ลิตรครึ่ง แต่บวกหอยเชอรีหมักไป 1
แกลลอน ตัวยาฆ่าหญ้าจะทำให้หญ้าน็อค หอยเชอรีหมักจะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาฆ่าหญ้ามากยิ่งขึ้น
เหมือนหญ้าเปิดปากใบที่จะรับปุ๋ยหมัก แต่ดันไปโดนยาฆ่าหญ้า
ซึ่งยาฆ่าหญ้าจะไม่มีปัญหากับรากยาง เพราะพาราควอต พอตกลงดินก็หมดฤทธิ์
เพราะเป็นยาประเภทเผาไหม้ ไม่ใช่ยาดูดซึม”
ปลูกสับปะรดแซมสวนยาง
เพิ่มความชื้น และปุ๋ย ให้ต้นยาง
สับปะรดเป็นพืชแซมที่ดีในสวนยางในช่วงปลูกยางใหม่
ช่วยเสริมรายได้ในช่วงที่ยางไม่ได้ผลผลิตอย่างดี แต่อายุของสับปะรดจะอยู่ได้ประมาณ
3-4 ปี ต้นจะเริ่มหมดอายุ
ขณะเดียวกันต้นยางก็เริ่มโตจนสับปะรดถูกบดบังแสง ช่วงนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่สนใจและปล่อยทิ้ง
เพราะสับปะรดไม่ได้ผลผลิต อาจจะปั่นทิ้งเป็นปุ๋ยในสวนยาง
สภาพต้นยางที่ปลูกสับปะรดคลุมดินรักษาความชื้น
เมื่อยางอายุประมาณ 3-4 ปี สับปะรดจะหมดอายุ ต้องรื้อแล้วปลูกอีกรุ่น
เพื่อเป็นพืชคลุมดิน ส่วนซากที่เหลือก็กองทิ้งให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยพืชสดแก่ต้น
แต่เทคนิคของนายพงศกร
ไม่ทำอย่างนั้น เขาเลือกที่จะรื้อและปลูกใหม่อีกรุ่น แต่ปลูกให้ห่างขึ้น จาก 5 แถว เหลือเพียง 3 แถว เพื่อคลุมความชื้นหน้าดินในสวนยาง ส่วนซากสับปะรดที่เหลือก็ปล่อยให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยบริเวณรอบๆ
ต้น แต่ต้องไม่ทับถมกันแน่นจนเกิดกรดแก๊ส ต้นสับปะรดก็จะค่อยๆ ย่อยสลายไปเอง
ในขณะเดียวกันยังสามารถเก็บความชื้นให้กับหน้าดินได้ และไม่มีวัชพืชขึ้น
“ตรงนี้เราไม่ได้หวังเอาผลผลิตจากสับปะรดแล้ว
แต่ต้องการรักษาความชื้น บำรุงดินและเพิ่มอาหารให้ต้นยาง
ซากสับปะรดเราก็เร่งการย่อยโดยใช้ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์รด
ในขณะเดียวกันก็ไม่มีวัชพืชเกิด ดินดีขึ้น ดินนุ่มขึ้น มีที่อยู่อาศัยของรากฝอย ”
ประเด็นหลักของเขาก็คือทำอย่างไรก็แล้วแต่
ให้มีพืชคลุมดินให้เยอะที่สุดเพื่อสู้กับภัยแล้งให้ได้ ความชื้นน้อย
พอฝนตกหรือรดน้ำก็จะเก็บความชื้นไว้ได้นาน
“ถ้าเราปล่อยโล่งๆ
รดวันนี้พรุ่งนี้ก็แห้ง ไม่มีประโยชน์ กลับกับทางภาคใต้ต้องปล่อยให้โล่งเตียน
เพื่อไม่ให้มีความชื้นจนเกินไป เพราะมีความชื้นตลอด
แต่ของเราต้องช่วยสะสมความชื้น”
เศษซากต้นสับปะรดที่รื้อทิ้งปล่อยเป็นปุ๋ยพืชสด
สภาพความสมบูรณ์ของดินในสวนยาง
สรุปเทคนิคการสร้างสวนยางในพื้นที่แล้ง
1. ก่อนปลูกตัดสินใจปลูกต้องพิจารณาความสมบูรณ์ของพื้นที่ว่ามากหรือน้อย
และพอฟื้นฟูดินได้หรือไม่ โดยดูจากพืชหลักที่เคยปลูกเช่น สับปะรด เป็นต้น
2. ต้องมีแหล่งน้ำ ในช่วงหน้าแล้ง
ไม่ได้หวังว่าจะรดให้ชุ่มเหมือนฝนตก อาศัยแค่ประคองในช่วงที่แล้งจัดๆ
หรือในช่วงที่เราต้องการความชื้นเพื่อให้ปุ๋ย เพื่อให้ต้นยางดูดปุ๋ยไปเลี้ยงต้นได้
หรือในช่วงเปิดกรีดแล้วเกิดแล้ว ปริมาณน้ำยางเริ่มลด ถ้าเราปล่อยไว้เดี๋ยวใบร่วง
เราก็ต้องมีน้ำให้ช่วงนี้เพื่อรอฝนชุดใหม่ ปริมาณผลผลิตจะคงที่
น้ำยังช่วยให้ต้นยางแตกใบอ่อนก่อน
สามารถเปิดกรีดได้ก่อน และยืดเวลาการกรีดจาก 8 เดือน เป็น 10 เดือน/ปีได้
3. หาเทคนิควิธีรักษาความชื้นในสวนยางให้นานที่สุด
ทีเด็ดก็คือสับปะรด
สุดท้ายสวนยางยืนต้นตายอย่างสิ้นเชิง เหลือบางส่วนเท่านั้นที่ตายยอด ทำให้หลงเหลือให้ฟื้นฟูได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบันเริ่มกลับมาให้ผลผลิตแล้ว
ส่วนพื้นที่ที่สวนยางเสียหายได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกสับปะรดสี
ในที่สุดการสู้รบกับภัยแล้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้เขาจะเป็น "ผู้ชนะศึก" มาโดยตลอด หากแต่เขาต้อง "แพ้สงคราม" ในท้ายที่สุด
คลิกชมวิดีโอจุดเริ่มต้นและความเสียหายจากภัยแล้งของเขาได้ที่นี้
ขอขอบคุณ
พงศกร ปัญญาสร้างสรรค์
อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
โทรศัพท์ 08-6168-3939#ยางพารา #สวนยาง
สนใจลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น