ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้
แกนนำชาวสวนยาง เขย่าขวัญ คนในอาชีพนี้แล้วว่า ถ้าขายยางล็อตนี้ออกไป จะทำให้ราคายางในประเทศร่วงเหมือนนกถูกเด็ดปีก
ขณะที่หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพใหญ่
อย่าง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ให้ข่าวปลอบขวัญชาวสวนยางมาตลอดเช่นกันว่า
จะขายยางล็อตนี้โดยยึดตามกลไกตลาด เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อราคายางในตลาดน้อยที่สุด ไม่ทำร้ายราคายางอย่างแน่นอน
แต่มาวันนี้ผ่านไป 3 เดือน
ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค. 2560 กยท.เปิดประมูลยางด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ถึง 4 ครั้ง และกำลังจะเปิดประมูลครั้งที่
5 ซึ่งเป็นล็อตสุดท้าย 107,000 ตัน ทุกครั้งที่เปิดประมูลทำราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงต้นปีราคายางแผ่นรมควันกำลังไต่ทะยานใกล้แตะ
100 บาท/กก.
ตกลงมาเหลือ 68.5 บาท/กก. ช่วงปลายเดือน มี.ค.
ทั้งๆ
ที่ช่วงเวลานี้ปริมาณการผลิตยางลดลง จากพื้นที่สวนยางภาคใต้ถูกน้ำท่วม และเป็นช่วงปิดกรีดของเกษตรกร ถ้าเป็นไปตามกลไก ราคายางน่าจะสูงขึ้น แต่ราคากลับตรงกันข้าม จึงเป็นการตอกย้ำว่า ราคายางที่ร่วงหายไปไม่ต่ำกว่า 20 บาท/กก. เป็นสารพิษตกค้างจากการระบายสต็อกยาง ของ กยท.
เมื่อเป็นเช่นนี้
จึงเกิดคำถามต่อการวางแผนและการทำงานของ กยท. มากมาย
ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มี.ค.
เกิดการรวมตัวของเครือข่ายชาวสวนยาง ที่เรียกตัวเองว่า กลุ่ม 9 องค์กรยางภาคใต้ กว่า 100 คน บริเวณ ตลาดกลางยางพาราจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศีธรรมราช นำโดยนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย
เรียกร้องหาความรับผิดชอบ พร้อมกับขับไล่ทีมผู้บริหาร กยท.
โดยฉายภาพให้เห็น การประมูลขายยางในสต็อก
3.1 แสนตัน
ที่ส่อทุจริตและเอื้อพ่อค้า เพื่อทุบราคาและทำลายกลไกการตลาด เป็นผลให้ราคายางถูกบิดเบือน
เพราะ กยท. นำยางมาประมูลต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่ฟังเสียงเกษตรกร ทำให้เกิดความเสียหายและกระทบกับเกษตรกร
กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน รวมถึงพ่อค้ารายย่อย
พร้อมกับกล่าวหนักๆ ว่า หน่วยงาน
กยท.แทนที่จะได้เป็นที่พึ่งพาของชาวสวนยางกลับไปเข้าข้างพ่อค้า
เกษตรกรคัดค้านไม่เคยฟังแต่พอพ่อค้าสั่งกลับทำตามทันที
ก่อนจะแถลงการณ์เพื่อเรียกรัฐบาล 5 ข้อ ดังนี้
1.ให้ผู้ว่าการยางและบอร์ดบริหารทั้งคณะลาออกและหยุดทันที เพราะชาวสวนยางไม่ไว้วางใจ
1.ให้ผู้ว่าการยางและบอร์ดบริหารทั้งคณะลาออกและหยุดทันที เพราะชาวสวนยางไม่ไว้วางใจ
2.หยุดการประมูลยางที่เหลือ
โดยเอาไปใช้ในหน่วยงานโครงการของภาครัฐตามวัตถุประสงค์เดิม
3.เช็คสต๊อกยางที่เหลือโดยให้ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบ
4.ตรวจสอบการไปดูงานต่างประเทศ
ของคณะกรรมการบริหาร กยท.ซึ่งขัดกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี
5.เร่งรัดโครงการการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐทั้ง
8 กระทรวงตามโครงการใช้ยางในประเทศหนึ่งแสนตัน
ถ้อยแถลงการณ์ของกลุ่ม 9 องค์กรยางภาคใต้ ตั้งคำถาม ขอความรับผิดชอบ ตรวจสอบการทำงาน พร้อมขับไล่ผู้บริหาร กยท. ไปพร้อมกัน
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ดร.ธีธัช
สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. ได้ออกมาแถลงข่าวหลังจาก
มีการเรียกร้องและตั้งคำถามต่อหน่วยงานนี้ว่า ปัจจุบัน กยท.ดำเนินการระบายยางไปแล้วกว่า
150,000 ตัน ที่ผ่านมาประมาณ 5 ปี รัฐบาลต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าโกดังปีละ
160 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่ารวม ประมาณเกือบ 1,000 ล้านบาท
นโยบายรัฐบาลจึงมอบให้ กยท.
เร่งบริหารจัดการสต็อกยางให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ราคายางเป็นไปตามกลไกการตลาด
พร้อมกับชี้แจงถึงสาเหตุการเปิดประมูลในแต่ละครั้ง
คำนึงถึงความเหมาะสมเป็นหลัก เช่น ช่วงมกราคม 2560 ที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นช่วงที่ภาคใต้น้ำท่วม ทำให้ปริมาณผลผลิตยางลดลง
อีกช่วงคือ
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เป็นฤดูกาลสุดท้ายของการเก็บเกี่ยวผลผลิต แนวโน้มผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง จึงเป็นช่วงที่เหมาะสม ไม่กระทบกับเกษตรกร
“เมื่อเปรียบเทียบราคายางแผ่นดิบในช่วงเดือน
ม.ค. – มี.ค. ของปี 2558 และ 2559 กับ ปี 2560 ซึ่งเป็นช่วงที่
กยท.มีการระบายยางในสต็อก จะเห็นได้ชัดเจนว่า ราคายางของปี 2560
มีราคาสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกัน เป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้การระบายสต็อกยางจะมีผลต่อราคายางบ้าง
แต่ก็ไม่ทำให้ราคายางตกต่ำไปกว่าอดีตที่ผ่านมาและราคายางยังคงรักษาระดับไม่ต่ำกว่า
60-70 บาท/กก”
ผู้ว่า กยท. กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มราคายางพาราเดือนมีนาคม
- เมษายน 2560 มีผลจากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของจีนผู้ซื้อยางรายใหญ่ของโลกที่ขยายตัวในอัตราคงที่
และเป็นช่วง low season ของการนำเข้ายางของจีน สอดรับกับเป็นช่วงฤดูกาลปิดกรีดของประเทศไทย
ประกอบกับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงและอัตราแลกเปลี่ยนที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น
ดังนั้น คาดว่าราคายางในเดือนหน้า จะมีแนวโน้มปรับตัวเล็กน้อย แต่ยังคงรักษาระดับราคายางไว้ที่
60 - 70 บาท/กก.
ซึ่งเป็นราคายางที่สูงกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
ผู้ว่า กยท.ยืนยันชัดเจนว่า การระบายสต็อกยางของรัฐ
ไม่มีผลต่อราคายางปัจจุบันมากนัก
ในทางกลับกันราคากลับสูงกว่าในช่วงเดียวกันของสองปีที่ผ่านมา และที่สำคัญยังเป็นราคาที่เกษตรกรมีกำไร
จากการที่
กยท.เปิดประมูลยางโดยแบ่งเป็นล็อตๆ แต่ละครั้งราคาร่วงไม่ต่ำกว่า 10 บาท/กก.
และผลจากการเปิดประมูลถึง 5 ครั้ง ทำให้ราคาร่วงไปประมาณ 25 บาท/กก.
“เป็นประวัติศาสตร์เพราะไม่เคยปรากฏมาก่อน
ในช่วงปิดกรีดยางราคายางตก ทั้งๆ ที่ปริมาณยางโลกขาดแคลน จึงทำให้สหกรณ์ เกษตรกร แม้แต่พ่อค้ารายย่อยขาดทุนกันระนาว”
นอกจากนั้นยังพบว่า หลังจาก
กยท.ประกาศประมูล 4 ครั้ง และกำลังจะเปิดครั้งที่ 5 เจอปัญหาไม่มีผู้เสนอราคา
เพราะราคากลางสูงเกินไป จึงต้องลดราคากลางลงมาเรื่อยๆ
นายอุทัยยังวิเคราะห์ว่าการประมูลรอบใหม่นี้ ราคากลางจะอยู่ประมาณ
64 บาท แต่จะไม่มีใครประมูลเพราะถ้าจะนำยางประมูลไปทำเป็น STR 20 จะไม่คุ้ม
แต่ถ้าประมูลยางแผ่นเอาไปยางแผ่นรมควันก็เป็นยางเก็บมานาน ถ้าซื้อไปในราคา 64บาท ราคาจะใกล้เคียงกับราคาในตลาดปัจจุบัน
อยู่ที่ 70 บาทเศษ กยท.จะต้องหั่นราคากลางลงเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดการประมูลในที่สุด
จุดนี้นี่เองที่แกนนำเกษตรกรมองกันว่า
การเปิดประมูลยางของ กยท.ในแต่ละครั้งจะทุบราคายางให้ต่ำลงเรื่อยๆ จนต้องเรียกร้อยให้หยุดขายยางล็อตที่เหลือ แล้วนำไปใช้ในประเทศตามที่รัฐบาลเคยให้นโยบายไว้ พร้อมๆ กับขับไล่ผู้บริหาร กยท.
Advertising
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น