“
การยางแห่งประเทศไทยชูตลาดกลางยางพารา เป็นตลาดซื้อขายยางที่มี ระบบมาตรฐาน ทั้งการกำหนดราคารับซื้อยางด้ วยความเป็นธรรม และคุณภาพสินค้าซึ่งผู้ซื้ อยางในตลาดมั่ นใจในการกระบวนการคัดแยกคุ ณภาพยาง พร้อมเตรียมวางแนวทางพั ฒนาตลาดเชื่อมโยงเข้ากับตลาด RRM เพื่อยกระดับตลาดกลางยางพาราสู่ สากล
”
ดร.ธีธัช
สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประทศไทย กล่าวว่า กยท.
มีสำนักงานตลาดกลางยางพารา จำนวน 6 แห่ง ดำเนินการตามยุทธศาสตร์พั ฒนายางพารา
พ.ศ. 2552 -2556 กลยุทธ์พัฒนาระบบตลาดทั้ งในประเทศและต่างประเทศ ให้บริการตลาดซื้ อขายยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควั นในระบบตลาดปัจจุบัน
(Spot Market)
และตลาดข้อตกลงส่งมอบจริง (Forward Market)
ถือเป็นตลาดที่รวมผู้ขายเป็ นจำนวนมากทำการซื้ อขายยางหลายชนิดก็ได้
มีกฎระเบียบชัดเจนสำหรับผู้ซื้อ และผู้ขายต้องปฏิบัติตาม
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประทศไทย
ส่วนตลาดกลางยางพาราระดับภูมิ ภาค
(RRM)
เป็นตลาดที่ลักษณะใกล้เคียงกั บตลาดปลายทาง (Terminal)
ซึ่งสินค้าในตลาด RRM ต้องเป็นสินค้ายางสำเร็จ
มีการอัดเป็นก้อน หรือทำเป็นยางรมควันอัดก้อน พร้อมที่จะส่งสินค้าไปสู่ท่าเรื อเมื่อมีการสั่งซื้อและทำสั ญญาร่วมกัน
ปัจจุบัน กยท.
ได้ดำเนินการเชื่อมโยงตลาดท้ องถิ่น และตลาดกลางยางพารา ซึ่งเป็ นตลาดค้าขายระหว่างเกษตรกร
สถาบันเกษตรกร และกลุ่มผู้ผลิต บริษัทผู้ส่งออกหรือแปรรูปเพื่ อส่งออก สามารถทำการค้ากับบริษั ทผู้ซื้อยางรายใหญ่ในต่ างประเทศโดยตรง
เช่น บริษัทล้อยางรายใหญ่ของโลก จึงเป็นการเชื่อมโยงให้เห็นว่ าผลผลิตยางที่ออกมาจะต้องมี ทางออกสู่ตลาดที่ชัดเจน
ดังนั้น แนวทางพัฒนาตลาดยางกลางยางพารา
โดยการเชื่ อมโยงตลาดกลางยางพาราเข้ากั บตลาด RRM ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศไทยทำร่ วมกันกับอีก
2 ประเทศคือ ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
โดยได้มีการประชุมร่วมกันเพื่ อปรับปรุงแนวทางในการปฏิบัติ โดยตลาด RRMเป็นตลาดรูปแบบ spot trading เป็นตลาดซื้อขายจริงและส่ งมอบจริง ตลาดแรกของโลก
สินค้าที่จะเพิ่มเติ มลงในในระบบซื้อขายตลาด RRM นอกเหนือจากยางแท่ง
และยางแผ่น คือ น้ำยาง เพราะน้ำยางจะสะท้อนให้เห็นถึ งความต้องการใช้จริง
และสะท้อนตัวราคาได้ในอนาคต ซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรอย่างแน่ นอน
advertivsing
ลงโฆษณาโทร 08-6335-2703
ทั้งนี้ ตลาดกลางยางพาราจะต้องดำเนิ นการรับซื้อยางแผ่นรมควันอัดก้ อนหรือยางลูกขุนด้วย
นอกเหนือไปจากการรับซื้อยางแผ่ นดิบและยางแผ่นรมควันอย่างในปั จจุบัน
หรืออาจเป็นการส่ งยางในตลาดกลางไปยังโรงรมใกล้ เคียงเพื่ออัดก้อนเป็นยางลูกขุ นก็จะสามารถเข้าไปเป็นสินค้ าในตลาดปลายทาง(Terminal) อย่างตลาด RRM ได้
นอกเหนือไปจากนี้ กยท.
ยังมีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุ นให้กลุ่มสหกรณ์หรือสถาบั นเกษตรกรที่มีโรงงานรมควันและอั ดก้อนเป็นยางลูกขุนผ่านมาตรฐาน GMP เพื่อให้สามารถนำยางเข้ าไปขายในระบบตลาด RRM ได้
“การที่มี ตลาดกลางยางพาราตั้งอยู่ในพื้ นที่ปลูกยางและมี เกษตรกรประกอบอาชี พทำสวนยางสวนยางจำนวนมาก
จะถือเป็นการช่วยยกระดั บราคายางในตลาดท้องถิ่นให้สูงขึ้ น
เนื่องจากมีตลาดท้องถิ่นหลายๆ แห่ง ที่ใช้ ราคาของตลาดกลางยางพาราเป็ นราคาอ้างอิงในการตั้งราคา
เป็นผลดีต่อเกษตรกรที่ จะสามารถขายผลผลิตยางพาราได้ ในราคาที่เป็นธรรม ไม่ถูกกดราคาจากบริษัทรับซื้ อยางรายย่อยๆ
ในท้องถิ่น และช่วยยกระดับมูลค่าเพิ่มที่ เกษตรกรจะได้รับจากการขายยาง”
“ในขณะที่ผู้ซื้อยางที่เข้ ามาประมูลยางจากตลาดกลางจะได้สิ นค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
เนื่องจากตลาดกลางยางพาราจะคั ดคุณภาพยางโดยแบ่งชั้นคุ ณภาพยางเป็นมาตรฐานที่ชัดเจน”
ดร.ธีธัช กล่าว
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ ภาคเหนือเผชิญกับสภาพปัญหาด้ านราคา
ซึ่งเกษตรกรจะขายยางได้ราคาต่ำ กว่าภาคอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น