ท่ามกลางการเติบโตของอุตสาหกรรมยางแท่ง
คือการล้มหายตายจากของธุรกิจยางแผ่นรมควัน เพราะเกษตรกรหันไปผลิตยางก้อนถ้วยป้อนโรงงานยางแท่ง
แทนน้ำยางสดนั่นเอง
ทั้งๆ ที่ ยางแผ่นรมควัน เป็นวัตถุดิบยางคุณภาพระดับพรีเมียม
มีความต้องการสูงสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เน้นคุณภาพ ที่สำคัญก็คือ
มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ผลิตและส่งออกยางแผ่นรมควันมากที่สุด
ในขณะที่ประเทศคู่แข่งหันไปผลิตยางแท่งเป็นหลัก
หากแต่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็เป็นบทพิสูจน์แล้วว่า
การผลิตยางก้อนถ้วย ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการซื้อขาย พร้อมๆ กับความอ่อนแอของกลุ่มเกษตรกร
จ.ระยอง
ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 744,708 ไร่ มากที่สุดของภาคตะวันออก
เล็งเห็นถึงปัญหานี้ สถาบันเกษตรกรในจังหวัดระยอง
(สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร) จึงรวมตัวกันในนาม
ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดระยอง
จำกัด ผลักดันให้เกิดการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อน
พร้อมๆ กับเพิ่มช่องทางการตลาดมากยิ่งขึ้น ภายใต้ โครงการสร้างโรงรมควันยางพาราเพื่อรักษาเสถียรภาพยางพาราและเพิ่มมูลค่า
ที่ผ่านมา ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดระยอง
จำกัด ได้เริ่มทดสอบการผลิตโดยรวบรวมผลผลิต ยางพาราจากสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสมาชิก
เครือข่ายขบวนการสหกรณ์ผู้ผลิตยางพารา ตลอดจนเกษตรกรทั่วไปทั้งภายในและนอกจังหวัด
เพื่อเพิ่มช่องทางการผลิตและการตลาดโดยดำเนินการจำหน่ายในรูปยางแผ่นดิบ , ยางก้อนถ้วย , ยางSTR 5 L ,ยางSTR 20 , ยางเครป
, ยางสกริมบล็อก และแปรรูปรมควันยางจำหน่ายให้แก่คู่ค้า
นับแต่เริ่มดำเนินการถึงปัจจุบันมียอดจำหน่ายกว่า 1,546.77 ตัน มูลค่ากว่า 111,909,622 บาท
คาดหวังว่าโรงรมควันยางพารา
จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ และสร้างความเป็นธรรมให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางฯ (สยยท.) กล่าวว่า โรงรมควันแห่งนี้จะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยาง
จ. ระยอง อย่างแน่นอน
โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ทำหน้าที่สนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง
และในอนาคตเกษตรกรไม่จำเป็นต้องขายยางผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดระยอง ในอนาคตจะได้มีการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หมอน หนุน
ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ซีล ฯลฯ ที่มีคุณภาพมาตรฐาน
โดยเกษตรกรจะสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยกรมวิชาการเกษตร พร้อมที่จะสนับสนุน GMPให้อีกด้วย
Advertising
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น