HIGHTLIGHT : 🔵 ผลการประชุม กนย. ครั้งล่าสุด ต่ออายุ 4 โครงการ เพื่อสนับสนุนชาวสวนยาง
สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยางไทย ซึ่งชาวสวนยางบอกว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด
เพราะโครงการเหล่านี้ไม่ครอบคลุมชาวสวนยางส่วนใหญ่ และที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ปัญหาราคายางตกต่ำได้
🔵 นายธีระชัย
แสนแก้ว กล่าวในที่ประชุม กนย. เกษตรกรอีสานรับได้กับราคายางปัจจุบัน ราคายาง 30 กว่าบาทก็พอใจแล้ว ขณะที่พื้นที่ปลูกยางส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าภูมิภาคอื่น
จึงได้รับผลกระทบกับราคายางมากที่สุด
ในการประชุ มคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)
ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2560 ที่ทำเนียบรัฐบาล วันนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ในฐานะ ประธาน กนย. นั่งหัวโต๊ะ นายกฯ เน้นย้ำนโยบายการลดพื้นที่ ปลูกยางและเพิ่มสัดส่วนการใช้ ยางในประเทศให้มากขึ้น
พร้อมกับระบุว่าราคายางพาราในขณะนี้ อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้
ขอให้ใช้เวลานี้ให้เกิดประโยชน์ ในการปรับโครงสร้างทางการเกษตร
โดยเฉพาะเรื่องของยางพาราให้เข้ ารูปเข้ารอย
ภายหลังการประชุม ดร.ธีธัช
สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะเลขาธิการ กนย. แถลงผลการประชุมว่า
กนย. เห็นชอบให้ขยายเวลา 4 โครงการ เพื่อสนับสนุนชาวสวนยาง
สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยางไทย ได้แก่
1.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็ นเงินทุนหมุนเวียนให้สถาบั นเกษตรกรเพื่ อรวบรวมยางพารา
ภายใต้ แนวทางยางพาราทั้งระบบ วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท โครงการนี้ได้สิ้นสุ ดไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่เกษตรกรและสถาบั นเกษตรกรบางส่วนยังไม่สามารถคื นเงินให้กับธนาคารเพื่ อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้ องขยายระยะเวลาออกไปจนถึง 31 มีนาคม 2563
จะได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ได้ อย่างถูกต้อง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. โครงการสร้างความเข้มแข็งให้ เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งมีการช่วยเหลือไปแล้วแบ่ งเป็น
เจ้าของสวนยาง จำนวน 711,839 ครัวเรือน และ คนกรีดยาง
จำนวน 675,790 ครัวเรือน ยังมีเกษตรกรที่เข้าข่ายได้รั บสิทธิ์ยังตกค้างอยู่อีกประมาณ 11,460 ครัวเรือน
ที่ประชุมจึงอนุมัติให้มี การขยายระยะเวลาโครงการเวลาออกไ ปอีก 90 วัน นับถัดจากวันที่ ครม. มีมติเห็นชอบ
3. โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบั นเกษตร
เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และ โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรั กษาเสถียรภาพราคายาง ที่ประชุมมีมติอนุมัติ ขยายระยะเวลาไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 เพื่อให้กระบวนการดำเนินงานทั้ งหมดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้
โครงการทั้งหมดจะถูกนำเข้าในที่ ประชุม ครม. เพื่อผ่านความเห็นชอบอีกครั้ง
4. โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็ นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ ประกอบกิจการยาง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในโครงการนี้ เป็นกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปน้ำ ยางข้น
เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ ยางเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคั ญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
โดยในปี 2558 ประเทศไทยผลิตยางพาราได้ประมาณ 4.47 ล้านตัน มูลค่าส่งออกรวมประมาณ 4 แสนล้านบาทเศษ เป็นรายได้ที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวม (GDP) ของประเทศไทย ซึ่งสถานการณ์การผลิตและการใช้ ยางพาราของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้ นอย่างต่อเนื่อง
แต่ในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกเผชิ ญปัญหานั้น พบว่าปริมาณการผลิต
และปริมาณการใช้ยางพาราไม่สมดุ ลกัน เกิดความผันผวนของราคายางตั้ งแต่ปลายปี 2554 จนถึงปัจจุบัน
ภายหลังการประชุม
กนย. เสร็จสิ้นเกิดเสียงวิจารณ์ถึงผลการประชุม โดยเฉพาะราคายางที่มีการอ้างว่าเกษตรกรรับได้กับราคายางปัจจุบัน
ซึ่งไม่ตรงกับสถานการณ์จริง ที่เกษตรกรยังวิตกกับราคายางตกต่ำ โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าภูมิภาคอื่น
รวมถึงการขยายโครงการช่วยเหลือชาวสวนยาง
สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ ทั้ง 4 โครงการ ที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ปัญหาได้
เพราะไม่ครอบคลุมเกษตรกรส่วนใหญ่
อีกทั้งยังมีการนำคลิปเสียงที่บันทึกจากที่ประชุม
กนย. ซึ่งเป็นเสียงของ นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. มาเผยแพร่ในกลุ่มไลน์
เนื้อหาของคลิป นายธีระชัยบอกว่าราคายางปัจจุบันนับว่าสูงกว่าเมื่อปีที่แล้ว
โดยอ้างอิงราคายางก้อนถ้วยจากภาคอีสาน ปัจจุบันราคา 55 บาท
พร้อมยืนยันว่าเกษตรกรในภาคอีสานขายยางได้ราคา 30 บาทขึ้นไป ถือว่าอยู่ได้ พร้อมยืนยันจะไม่มีม็อบเรียกร้องราคายางแน่นอน
แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มองว่าคำกล่าวของนายธีระชัยขัดแย้งกับข้อเท็จจริงอย่างร้ายแรง เพราะราคายางก้อนถ้วย 50 กว่าบาท เป็นราคายางที่มี DRC 100% แต่ยางที่เกษตรกรขายเป็นยางก้อนถ้วยที่มีน้ำอยู่ประมาณ
40-50% ราคาจริงๆ จึงอยู่ที่ 20 กว่าบาทเท่านั้น ไม่ถึง 30 บาท/กก.
การสะท้อนของนายธีระชัย ที่เป็นตัวแทนเกษตรกรเท่ากับเป็นการพูดแทนชาวสวนยางทั้งประเทศว่าพอใจและอยู่ได้อย่างสบายกับราคายางปัจจุบัน และยังเชื่อว่าการที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าราคายางปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ที่เกษตรกรรับได้ ก็น่าจะมาจากข้อมูลจากปากของนายธีระชัยนั่นเอง
การสะท้อนของนายธีระชัย ที่เป็นตัวแทนเกษตรกรเท่ากับเป็นการพูดแทนชาวสวนยางทั้งประเทศว่าพอใจและอยู่ได้อย่างสบายกับราคายางปัจจุบัน และยังเชื่อว่าการที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าราคายางปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ที่เกษตรกรรับได้ ก็น่าจะมาจากข้อมูลจากปากของนายธีระชัยนั่นเอง
ขณะที่แกนนำชาวสวนยางสายภาคใต้ที่อยู่ในบอร์ด
กนย. กลับไม่มีการสะท้อนสถานการณ์ราคายางเท่าที่ควร จนถูกมองว่าอำนาจของชาวสวนยางที่เคยอยู่ในสายภาคใต้
เนื่องจากมีพื้นที่และเกษตรกรปลูกยางมากที่สุด
ได้ถูกยึดอยู่ในสายภาคอีสานอย่างเบ็ดเสร็จ
อีกทั้งนายธีระชัย ที่เป็นประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ยังถูกมองว่าไม่ใช่ตัวแทนชาวสวนยางเลือดแท้ แต่มาจากสายการเมือง
อีกทั้งนายธีระชัย ที่เป็นประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ยังถูกมองว่าไม่ใช่ตัวแทนชาวสวนยางเลือดแท้ แต่มาจากสายการเมือง
ขณะที่ประเด็นใหญ่ก็คือ
คำพูดของนายธีระชัยที่ว่า “ราคายาง 30 กว่าบาท เกษตรกรเขาอยู่ได้แล้ว” ถามว่ามาจากไหน
มาจากมติของเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่เขาเป็นประธาน มาจากการสอบถามเกษตรกรในภาคอีสาน
หรือมาจากความคิดเห็นส่วนตัว
ตอบได้เลยว่าไม่ได้มาจาก
เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และก็เชื่อว่าชาวสวนยางภาคอีสานไม่ปลื้มกับราคายาง 30 บาท อย่างแน่นอน
advertivsing
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น