HIGHTLIGHT :
⚫ กยท.
เปิดประมูลปุ๋ยเคมี และอินทรีย์ 64,724.20 ตัน สำหรับพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก ผลการประมูลสังคมตั้งเครื่องหมายคำถามหลายด้าน
โดยเฉพาะราคาประมูลสูงกว่าท้องตลาด และขั้นตอนไม่โปร่งใสเอื้อผู้ประมูล
⚫ บอร์ด
กยท.สายภาคตะวันออกชี้แจง ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลาง
ทุกขั้นตอนอยู่ในกรอบและระเบียบของกฎหมาย และเร่งให้ทันต่อฤดูใส่ปุ๋ยของเกษตรกร
การยางแห่งประเทศไทย
(กยท.) เปิดประมูลปุ๋ยตามโครงการดำเนินการจัดหาปุ๋ยบำรุงให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
เพื่อดำเนินการจัดหาปุ๋ยให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ในไตรมาสที่ 3 (1 เมษายน-30 มิถุนายน) โดยให้ Business Unit (BU) ที่จัดตั้งขึ้นโดย
กยท. เป็นผู้ดำเนินการจัดหาปุ๋ย 2 ประเภท คือ 1.ปุ๋ยเคมี จำนวน 34,724.20 ตัน 2.ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 30,000 ตัน
ด้วยวิธีการประมูลทางอีเล็กทรอนิกส์
1.ได้ปุ๋ยราคาแพง
2.กยท.สูญเสียรายได้จากค่าดำเนินการ
3.สังคมเกิดความสงสัยว่าจะมีการจัดฮั้วการประมูล
และมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนโดยทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่???
นายศิวะ บอกว่าในกระบวนการเปิดประมูลซื้อปุ๋ยของ
กยท.ในล็อตนี้ มีสิ่งผิดปกติและคำถามของสังคมเกิดขึ้นในหลายประเด็น ได้แก่
1.ประกาศช้า
(ประกาศวันที่ 30 มีนาคม 2560 )
2.ขายซองเร็ว
(ขายซองประมูลราคาวันที่ 30 มีนาคม-3 เมษายน
2560) ยื่นซองเร็ว (ยื่นเสนอราคาประมูลในวันที่ 7 เมษายน 2560) ระยะเวลาสั้นๆ
และมีการถ่วงหรือประวิงเวลาดำเนินการโดยอ้างแก้ไขคุณสมบัติผู้ร่วมประมูล (วันที่ 31
มีนาคม 2560) จงใจให้คร่อมวันเสาร์ อาทิตย์
3.มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยมาก
และได้ชนะประมูลกันถ้วนหน้า
4.ตั้งราคากลางไว้สูงมาก
และราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเพียงเล็กน้อย
5.แนวทางนโยบาย
และวิธีปฏิบัติที่กำหนดโดยบอร์ด กยท.และ กยท.ไม่มีความชัดเจนแน่นอน กลับไปกลับมา
จนดูเหมือนว่าคล้ายจะจงใจไม่รักษาประโยชน์ให้แก่ชาวสวนยางเท่าที่ควร
ที่สำคัญกว่านั้นราคาดูจะสูงกว่าปกติของการประมูลทั่วไปอย่างที่ควรจะเป็น
Advertising
นายศิวะ แสดงความคิดเห็นว่า ข้อมูลรายละเอียดตรงนี้ กยท.ควรจะต้องเปิดเผยให้ได้รับทราบว่า มีรายการใดที่มีผู้ประมูลเพียง 1 ราย 2 ราย หรือ 3 ราย ก่อนที่จะโดนกล่าวหาว่าจัดฮั้วการประมูล??? แต่ละรายการ มีผู้ซื้อซองประมูลกี่ราย และเข้ายื่นราคาประมูลจริงกี่ราย มีความแตกต่างในการเสนอราคาอย่างไร
ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญที่ กยท.จะต้องตอบคำถามต่อสังคม และชี้แจงต่อชาวสวนยางทั้งประเทศ
ขณะเดียวกันทีมงานยางปาล์มออนไลน์
ได้พูดคุยกับ นายสังข์เวิน ทวดห้อย กรรมการการยางแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับข้อเท็จจริงการประมูลปุ๋ยจากโครงการดังกล่าว
โดยนายสังเวินชี้แจ้งเป็นประเด็น ไว้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 เรื่องการประกาศขายซองประกวดราคาปุ๋ยที่ถูกตั้งคำถามว่าเวลากระชั้นชิดเกินไปนั้น ภาพความเป็นจริงเราอยากจะให้เร็วกว่านี้ เนื่องจากเกษตรกรต้องการใช้ปุ๋ยแล้ว เพราะภาคใต้ตอนบนช่วงนี้ฝนเริ่มตกแล้วต้องการใช้ปุ๋ย ส่วนภาคตะวันออกเดือนเมษายนปีที่แล้วปุ๋ยถึงกลุ่มเกษตรกรแล้ว พฤษภาคมก็จะเริ่มจ่ายปุ๋ยให้เกษตรกร แต่ปีนี้ล่าช้า ในที่ประชุมจึงหารือกันว่าถ้ากระบวนการใช้เวลานาน บางทีถึงเดือนมิถุนายนเกษตรกรก็ยังไม่ได้ปุ๋ย ดังนั้นถ้าช้าจะไม่ทันกับช่วงฤดูใส่ปุ๋ยของเกษตรกรจะเกิดความเสียหาย
ประเด็นที่ 1 เรื่องการประกาศขายซองประกวดราคาปุ๋ยที่ถูกตั้งคำถามว่าเวลากระชั้นชิดเกินไปนั้น ภาพความเป็นจริงเราอยากจะให้เร็วกว่านี้ เนื่องจากเกษตรกรต้องการใช้ปุ๋ยแล้ว เพราะภาคใต้ตอนบนช่วงนี้ฝนเริ่มตกแล้วต้องการใช้ปุ๋ย ส่วนภาคตะวันออกเดือนเมษายนปีที่แล้วปุ๋ยถึงกลุ่มเกษตรกรแล้ว พฤษภาคมก็จะเริ่มจ่ายปุ๋ยให้เกษตรกร แต่ปีนี้ล่าช้า ในที่ประชุมจึงหารือกันว่าถ้ากระบวนการใช้เวลานาน บางทีถึงเดือนมิถุนายนเกษตรกรก็ยังไม่ได้ปุ๋ย ดังนั้นถ้าช้าจะไม่ทันกับช่วงฤดูใส่ปุ๋ยของเกษตรกรจะเกิดความเสียหาย
เราจึงปรึกษาทางฝ่ายกฎหมายว่าระเบียบได้หรือไม่ ถ้าจะเปิดซองระหว่าง 30 มี.ค.-5 เม.ย. ทางผู้ออกระเบียบบอกว่าได้ เราจึงประกาศทางเว็บไซต์ ซึ่งทางเอกชนเขาจะรู้และติดตามความเคลื่อนไหวอยู่แล้ว ขั้นตอนที่ทำเราทำจึงอยู่ในกรอบของระเบียบ
อย่างที่เราทำการประมูลไปเมื่อ 19 เมษายนนั้น วันที่ 28 ถึงทำสัญญา กว่าจะส่งมอบปุ๋ยครบใช้เวลาอีกเป็นสิบวัน แล้วต้องนำปุ๋ยไปวิเคราะห์ใช้เวลาอีก 7 วัน แต่ที่ผ่านมาไม่เคยได้ผลวิเคราะห์ทันสักที แต่จะใช้เวลา 15-20 วัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงประกาศเร็ว
ประเด็นที่ 2 ที่มีการให้ข่าวว่า ราคาปุ๋ยที่เอกชนประมูลแพงกว่าราคาในท้องตลาด ต้องบอกว่าผู้ที่กำหนดราคากลางนั้นไม่ใช่คณะกรรมการชุดนี้ แต่เป็นฝ่ายส่งเสริมของ กยท. เป็นผู้กำหนด โดยจะนำข้อมูลราคาปุ๋ยจากทุกจังหวัด ซึ่งเป็นราคาท้องถิ่น นำมาเป็นตัวตั้งและบวกค่าขนส่งไป และคำนวณเป็นราคากลาง ราคาประมูลแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน เพราะจะมีค่าขนส่งตามระยะทางต่างกัน
อย่างภาคตะวันออกเมื่อปีที่แล้วราคาประมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 12.30 บาท/กก. แต่มาปีนี้ ราคาประมูลได้ 11.42 บาท (ภาคตะวันออก) เราก็มองในภาพรวมว่าราคาประมูลต่ำกว่าเมื่อปีที่แล้ว
อีกประเด็นเรื่อง ที่ว่า Business Unit (BU) หักหัวคิว หรือค่าบริการจากเกษตรกรกระสอบละ 10 บาทนั้น ความจริง BU ไม่สามารถหักหัวคิวจากเกษตรกรได้เลย เพราะ BU เป็นเพียงแค่ตัวกลางให้กับเกษตรกรเท่านั้น รายได้ปีนี้จึงยังไม่มี จึงยืนยันว่าเราไม่มีการหักหัวคิวแต่อย่างใด
แต่เราจำเป็นต้องเริ่มต้น BU ในปีนี้ เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่เกิดเป็นรูปธรรม และเป็นการศึกษาวิธีการสั่งปุ๋ยวิธีการจ่ายปุ๋ยว่ารูปแบบไหนจะเหมาะสมที่สุด เพราะเรามีการวางแผนว่า BU จะเป็นผู้จัดหาปุ๋ยให้เกษตรกรเอง ในปีต่อๆ ไป อาจจะสั่งปุ๋ยโดยตรงจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องประมูล วิเคราะห์และรับผิดชอบมาตรฐานทั้งหมด
ความจริงเงินกองทุนพัฒนายางพารา คณะกรรมการไม่สามารถจะนำมาใช้สุรุ่ยสุร่ายได้ มี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้ตรวจสอบ เราจึงไม่สามารถนำเงินมาใช้ได้โดยพลการ โดยไม่มีที่มาที่ไป เพราะมีระเบียบมีกฎหมายควบคุมอยู่
ส่วนกระประมูลที่แบ่งออกเป็น 4 เขต 4 ซองนั้น เราไม่สามารถประมูลทั้งหมดในซองเดียวกันได้ เพราะแต่ละเขตต้นทุนขนส่งต่างกัน จึงกำหนดราคาเดียวกันไม่ได้ แล้วบริษัทไหนจะเลือกประมูลซองไหนอยู่ที่เขา
ทั้งนี้การเปิดประมูลซื้อปุ๋ยในปี 2560 ที่ผ่านมาในไตรมาส 1 และ 2 กยท.ใช้วิธีการให้สถาบันเกษตรกร และเกษตรกรเจ้าของสวนยางเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดหาเอง แต่ในไตรมาสที่ 3 มีการเปลี่ยนแปลง โดย กยท.ได้มีการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit : BU) ขึ้นมาดำเนินการจัดหาปุ๋ยให้เกษตรกร
ที่ผ่านมาโครงการจัดหาปุ๋ยให้เกษตรกรของ กยท. สมัยที่ยังเป็น สกย. เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากเกษตรกรชาวสวนยางมาหลายยุคหลายสมัย และมีข่าวส่งมอบปุ๋ยไม่เต็มสูตรหรือปุ๋ยปลอมให้เกษตรกร ที่สำคัญเกษตรกรชาวสวนยางที่รับปุ๋ยก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเป็นปุ๋ยจริงหรือปุ๋ยปลอม
Advertising
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น