HIGHTLIGHT : IRCo เผยผลประชุมครั้งล่าสุด ปัจจัยพื้นฐานทั้งความต้ องการใช้ยางของประเทศผู้ซื้อ และปริมาณยางของประเทศผู้ผลิ ตอยู่ในทิศทางบวก การแกว่งของราคายางในช่วงที่ผ่ านมา ผลจากการเก็งกำไรเกินควร กระทบต่อราคายาง เตรียมเฝ้าระวังราคาตลาดโลกอย่ างใกล้ชิด พร้อมเสนอแนวทางสร้างเสถี ยรภาพราคายาง เพื่อประโยชน์สูงสุดทั้งผู้ซื้ อและผู้ขาย
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ประธานคณะกรรมการบริษัทร่ วมทุนยางพารานานาชาติ (The International Rubber Consortium : IRCo) แถลงผลการประชุม IRCo ที่จัดขึ้นในกรุงเทพว่า ประเทศสมาชิก IRCo ประกอบด้วย ประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ได้มีการประชุมหารือร่วมกั นโดยเฉพาะประเด็นการรักษาเสถี ยรภาพราคายาง ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ราคายางมีลักษณะของการแกว่งตั วค่อนข้างสูง ทั้งๆ ที่ปัจจัยพื้นฐานอยู่ในทิ ศทางบวก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณยางพาราที่ ลดลงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสภาพอากาศโดยเฉพาะอย่ างยิ่งฝนตกน้ำท่วมในภาคใต้ ของประเทศไทย ทำให้กระทบกับปริ มาณของยางพาราที่ออกมาช่วงนั้น
จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้ องต้นพบว่า วิกฤตน้ำท่วมภาคใต้ของไทยมีส่ วนต่อการลดปริมาณซั พพลายของยางธรรมชาติลงกว่า 10% ของโลก ประกอบกับ ในช่วงราคายางต่ำมี หลายประเทศลดปริมาณการผลิตยางลง ยกตัวอย่างเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นประเทศที่ค่อนข้างจะมี ความอ่อนไหวต่อราคา
เมื่อราคายางต่ำลงทั้ง 3 ประเทศเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น หรือมีรายได้เพิ่มจากการทำอาชี พอื่น เพราะฉะนั้น ปริมาณของยางพาราในห้ วงระยะเวลาในปี 2016-2017 มีปริมาณที่น้อยลงกว่าที่คาดไว้
ประธาน IRCo กล่าวเพิ่มเติมว่า หากวิเคราะห์จากปัจจัยด้ านความต้องการใช้ยาง ซึ่งผู้บริโภครายใหญ่ที่สุด คือ ธุรกิจยานยนต์ จะพบว่า จำนวนของยานพาหนะเพิ่มสูงขึ้น ยอดขายของประเทศผู้ผลิตเพิ่มสู งขึ้นมาก ทั้งในกลุ่มของประเทศในจีน ยุโรป ญี่ปุ่น พบว่ามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นค่ อนข้างมากจากเดิมที่คาดไว้ 7% เป็น12% เช่น ประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้น 7.37% ยุโรปเพิ่มมากขึ้นถึง 8.42% ญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น 12.33% แม้ในสหรัฐอเมริกาอาจมีการย่อตั วลงเล็กน้อยคือ 1.51% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าโดยรวมปริมาณความต้ องการหรือการขยายตัวของธุรกิ จยานยนต์ยังมีความต้องการใช้ ยางสูง ในขณะเดียวกัน GDP ของประเทศผู้ใช้ยางจากตัวเลขของ IMF มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น อเมริกา แม้จะเติบโตขึ้นเป็น 2.3% แต่ยังเพิ่มจากปีที่แล้ว 0.7% ยุโรป 1.7% ญี่ปุ่น 1.2% และอินเดียกระโดดจาก 6.8% เป็น 7.2% เพราะฉะนั้นจะเห็นว่ าโอกาสการเติบโตหรือความต้ องการของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานเรื่องของสต็อกเป็ นเรื่องที่มีความสำคัญ ปัจจุบันอัตราส่วนของสต็อกกั บการบริโภคยังอยู่ค่อนข้างต่ำ และมีโอกาสที่จะทำให้ราคามี การปรับตัวสูงขึ้น โดยในเวทีการประชุมวิ ชาการของประเทศจีน (China Rubber Conference) พบว่า ในประเทศจีน มีอัตราการเพิ่มขึ้นของธุรกิ จยานยนต์ 15.9% ซึ่งเพิ่มสูงกว่าที่คาดไว้ถึง 5% ทำให้รัฐบาลจีน มีการสนับสนุนและเพิ่มแรงจู งใจด้านภาษี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ ยางธรรมชาติมากขึ้น นำไปสู่ธุรกิจยานยนต์เพิ่มสูงขึ้ นไปด้วย
ทั้งนี้ สต๊อกยางของโลกในปี 2017 มีเพียง 2.3 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้ยางต่อปีมี 12.7 ล้านตัน ซึ่งโอกาสในการเก็บของสต็อกยั งมีอยู่มาก
ประธาน IRCo กล่าวย้ำว่า ปัจจัยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นดี มานต์หรือซัพพลายเป็นไปในเชิ งบวก แต่สิ่งที่ทำให้เกิดราคายางแกว่ งในช่วงที่ผ่านมา มาจากการเก็งกำไรจนเกินควร หากมองถึงการเปลี่ยนแปลงในตั วเลขที่สำคัญๆ ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจอย่ างการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงเพี ยงแค่ 3.6 % ขณะที่ดัชนีในเรื่องของสินค้ าโภคภัณฑ์โดยรวมมีการเปลี่ ยนแปลงเพียงแค่ 0.4% และยางสังเคราะห์ มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่ องของราคาอยู่เพียง 6.7% แต่ในตลาดยางกลับพบว่า มีการเก็งกำไรสูงถึง 16.6 %แสดงว่าการเก็งราคาไม่สะท้อนเรื่ องปัจจัยพื้นฐาน แต่เป็นเรื่องการเก็ งกำไรจากการสร้างกระแสให้ราคาขึ้ นลงในเชิงข่าวเท่านั้น
“ณ วันนี้อุตสาหกรรมยางพารายางยั งเป็นอุตสาหกรรมที่มีปัจจัยพื้ นฐานแข็งแรง คณะกรรมการบริหารจาก 3 ประเทศ มีความห่วงใย เกี่ยวกับตลาดที่มีการเก็ งกำไรค่อนข้างสูง สะท้อนให้เห็นถึงระดับราคาที่ ไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรผู้ปลู กและผู้ประกอบการ สิ่งเหล่านี้ IRCO จะทำหน้าที่เข้ามามี บทบาทในการรักษาระดับราคาให้มี เสถียรภาพมากขึ้น เพราะต้นยาง 1 ต้น ใช้เวลา 7 ปีกว่าจะเติบโตและกว่ าจะสามารถกรีดออกมาเป็นผลผลิ ตได้ ขณะที่ยางที่เป็นยางเทียมใช้ เวลาเพียงแค่ไม่กี่วั นในการทำการผลิต เพราะฉะนั้น ความสำคัญของยางธรรมชาติยังมี อยู่แน่นอน และยังมีความสำคัญต่อความต้ องการใช้อีกมาก”
ประธาน IRCo กล่าวทิ้งท้ายว่า คณะกรรมการ IRCO ที่ร่วมประชุมในครั้งนี้ จะนำเสนอประเด็นเหล่านี้ต่อที่ ประชุมคณะรัฐมนตรีของ 3 ประเทศที่จะมีการประชุมร่วมกั นในเร็วๆ นี้ เพื่อตัดสินใจแนวทางที่จะเข้ าไปมีบทบาทในเรื่องที่ทำให้ ราคายางพารามีเสถียรภาพมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น การพยายามผลักดันเรื่องการซื้ อขายในตลาดที่เป็นตลาดซื้อขายส่ งมอบมากขึ้นแทนตลาดที่เป็ นตลาดลักษณะเก็งกำไร เพื่อให้เป็นทางเลือกให้กับผู้ ซื้อและผู้ขาย และลดความเสี่ยงจากการเก็งกำไร ซึ่งตลาดยางพาราระดับภูมิภาค (RRM) มีความพร้อมทั้ง 3 ประเภทแล้ว แต่พยายามผลักดันให้ มีความเข้มแข็งขึ้นให้มากที่สุด จะสามารถช่วยแก้ปัญหาปัจจุบั นได้ในระดับหนึ่ง
คณะกรรมการ IRCO มีความเห็นร่วมกันว่า จะทำการศึกษาแนวทางเพิ่มเติ มในการติดตามผลของราคาหรื อแนวโน้มของราคา เพื่อกำกับควบคุมให้ราคายางมี ความเสถียรภาพให้มากขึ้น ซึ่งอาจหมายถึง การประกาศใช้แนวทางเรื่ องของการควบคุมปริมาณการส่ งออกครั้งที่ 5 ด้วย
advertivsing
สนใจลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น