จับกระแส ยางเครปสกลนคร ผู้ผลิตรายใหญ่ เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร ลดต้นทุนแรงงาน ผลิต 30-40 ตัน/วัน
ถ้าจะให้คนไทยเปลี่ยนจากกิน “ข้าว” เป็นอาหารหลัก
มากิน “ขนมปัง” เป็นเรื่องยากเท่าไหร่ การจะให้ชาวสวนยาง “ภาคอีสาน” เปลี่ยนมาผลิต “ยางแผ่นดิบ” แทน “ยางก้อนถ้วย” ก็คงยากพอๆ กัน...!!!
เพราะชาวสวนยางอีสานได้ “เสพติด” การผลิตยางก้อนถ้วยเสียแล้ว
อีกทั้งยัง ติด “กับดัก” โรงงานผลิตยางในพื้นที่
เพราะโรงงานยางในภาคอีสานล้วนเป็นโรงงานยางแท่ง STR
20 ซึ่งใช้ยางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบ
อีกทั้งวิถีชีวิตของชาวอีสานไม่ได้ทำสวนยางเพียงอย่างเดียว
ยังมีไร่ มีนา ต้องดูแล ประกอบกับเงื่อนไขของการทำยางก้อนถ้วย ทำสะดวกและประหยัดเวลา จึงสามารถตอบโจทย์ได้ดีกว่ายางประเภทอื่น
หากแต่ยางก้อนถ้วยเป็นยางประเภทเดียวที่กรมวิชาการเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีมาตรฐานการซื้อขาย ไม่มีความเที่ยงตรงด้านการตรวจวัดและแบ่งชั้นคุณภาพ ใช้วิธีวัดกะเกณฑ์จากสายตาและซื้อแบบเหมารวม
การซื้อขายยางประเภทนี้เกษตรกรจึงมักจะเสียเปรียบพ่อค้า
คุณคำไพ ใจซื่อ แม่ค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยใน จ.สกลนคร
ในขณะเดียวกันพ่อค้ายางเองก็ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกับเกษตรกร
เพราะถูกกดราคาจากโรงงานเช่นกัน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ยืนยันจาก คุณคำไพ
ใจซื่อ แม่ค้ารับซื้อยางก้อนถ้วยใน จ.สกลนคร เธอให้ข้อมูลว่า เริ่มจับธุรกิจรับซื้อยางก้อนถ้วยมากว่า
13 ปี โดยการซื้อจากตลาดประมูลท้องถิ่นภายในจังหวัดเป็นหลัก แต่มักจะถูกโรงงานกดเปอร์เซ็นต์ยางต่ำเสมอ
คุณคำไพเล่าว่า
ปกติเวลาซื้อยางจะคัดแต่ยางดีโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ ซึ่งแม้เธอมั่นใจว่าแม่นยำพอสมควร
แต่พอนำไปขายโรงงานกลับถูกตีเปอร์เซ็นต์ยางต่ำกว่าที่คาดการณ์เสมอ จึงได้กำไรไม่มากนัก และมีแววจะขาดทุนหากยังตกอยู่ในวังวนนี้ต่อไป
แต่พอนำไปขายโรงงานกลับถูกตีเปอร์เซ็นต์ยางต่ำกว่าที่คาดการณ์เสมอ จึงได้กำไรไม่มากนัก และมีแววจะขาดทุนหากยังตกอยู่ในวังวนนี้ต่อไป
━━━━━━━━━━━━━━
แปรรูปยางก้อนถ้วย เป็น ยางเครป ลดความเสียเปรียบ เพิ่มกำไร
━━━━━━━━━━━━━━
คุณคำไพจึงปรึกษาหารือกับครอบครัวเพื่อหาทางออกด้วยวิธีลงทุนทำ “ยางเครป” ซึ่งก็คือ การนำยางก้อนถ้วย มารีดเป็นแผ่นบางๆ
เพื่อเอาน้ำและสิ่งสกปรกออก ให้ได้ยางที่มีคุณภาพและสะอาด
จากยางก้อนถ้วยที่มีน้ำอยู่ประมาณ 45-50% เมื่อรีดเสร็จจะได้ยางเครปที่มีความชื้นประมาณ 30% และต่ำกว่านี้หากผึ่งให้แห้ง
ยางเครปจึงขายได้ราคาสูงขึ้น และที่สำคัญช่วยปิดช่องไม้ให้โรงงานกดเปอร์เซ็นต์ได้ง่ายๆ
นอกจากนั้นยังมองไปถึงธุรกิจรับรีดยางเครปให้กับพ่อค้ายางรายย่อย หรือเกษตรกรที่ต้องการทำยางเครปแต่ไม่มีเงินลงทุนเครื่องจักรด้วยอีกทาง
จากยางก้อนถ้วยที่มีน้ำอยู่ประมาณ 45-50% เมื่อรีดเสร็จจะได้ยางเครปที่มีความชื้นประมาณ 30% และต่ำกว่านี้หากผึ่งให้แห้ง
ยางเครปจึงขายได้ราคาสูงขึ้น และที่สำคัญช่วยปิดช่องไม้ให้โรงงานกดเปอร์เซ็นต์ได้ง่ายๆ
นอกจากนั้นยังมองไปถึงธุรกิจรับรีดยางเครปให้กับพ่อค้ายางรายย่อย หรือเกษตรกรที่ต้องการทำยางเครปแต่ไม่มีเงินลงทุนเครื่องจักรด้วยอีกทาง
เธอเล่าจุดสตาร์ทของธุรกิจยางเครป ว่า ครั้งแรกซื้อเครื่องรีดยางเครปพร้อมเครื่องสับยาง มาในราคา 7 แสนบาท แต่ปรากฏว่าเครื่องจักรทำงานช้ามาก แม้จะมีเครื่องสับยางเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วก็ตาม
จึงตัดสินใจซื้อเครื่องรีดยางเครปซึ่งเป็นของอีกยี่ห้อหนึ่งมา ในราคา 6.9 แสนบาท กำลังการผลิต 1 ตัน/ชม.
ทั้งสองเครื่องมีประสิทธิภาพต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะเครื่องที่สองสามารถรีดยางทั้งกระสอบได้โดยไม่ต้องสับ และรีดได้เร็วกว่าเครื่องแรก
ประสิทธิภาพของเครื่องรีดยางเครป
จึงมีความสำคัญ ต่อธุรกิจยางเครป เพราะมีผลต่อต้นทุนและระยะเวลาการผลิต ถ้าเครื่องจักรทำงานช้า หรือไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้เสียเวลา คนงานเองจะได้เงินน้อยไปด้วย ขณะเดียวกันยังต้องแข่งกับราคายางที่ขึ้นลงรายวัน
โดยเครื่องรีดยางเครปตัวใหม่ที่ซื้อมาสามารถรีดยางได้เร็วถึง 1 ตัน/ชั่วโมง ซึ่งก็คือ เครื่องรีดยางเครปยี่ห้อ “ตราช้าง” หรือ ในชื่อเดิม FMG
โดยเครื่องรีดยางเครปตัวใหม่ที่ซื้อมาสามารถรีดยางได้เร็วถึง 1 ตัน/ชั่วโมง ซึ่งก็คือ เครื่องรีดยางเครปยี่ห้อ “ตราช้าง” หรือ ในชื่อเดิม FMG
ธุรกิจยางเครปของคุณคำไพไปได้สวยมีกำไร กก.ละ 1-2 บาท
ขึ้นอยู่กับราคาในแต่ละช่วง ประกอบกับปริมาณยางที่ซื้อจากลานประมูลเพิ่มมากขึ้น
เป็นวันละไม่ต่ำกว่า 20 ตัน เธอจึงลงทุนเครื่องรีดยางเครปอีกเป็นเครื่องที่สาม
แต่ใช้งานเพียงสองเครื่องเท่านั้น รีดยางได้วันละ 27 ตัน (12 ชม.)
เธอจ้างแรงงานรีดยางเครปแบบรับเหมา ตันละ 300 บาท “เขาจะมีทีมงานมาช่วยกันทำ
พอเครื่องจักรใช้งานง่าย รีดได้เร็ว ได้เนื้อมากขึ้นเขาก็เกิดรายได้
มีรายได้มากขึ้นเขาก็มีความสุขที่ทำงานกับเรา และยางเครปก็มีคุณภาพ” คุณคำไพ
พูดถึงข้อดีของเครื่องรีดยางเครป ตราช้าง
ปัจจุบันคุณคำไพได้เพิ่มเครื่องรีดยางเครปอีกหนึ่งตัว รวมเป็นสามตัว
พร้อมสายพานลำเลียง 2 อัน
สำหรับลำเลียงยางจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยอัตโนมัติ
เธอบอกว่าเมื่อมีเครื่องรีดยางเพิ่มและมีสายพานลำเลียแบบอัตโนมัติ จังรีดยางได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นลดต้นทุนค่าแรงงานลง เหลือ กก.ละ 20 สตางค์ หรือตันละ 200 บาท
เธอบอกว่าเมื่อมีเครื่องรีดยางเพิ่มและมีสายพานลำเลียแบบอัตโนมัติ จังรีดยางได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นลดต้นทุนค่าแรงงานลง เหลือ กก.ละ 20 สตางค์ หรือตันละ 200 บาท
“ทีมรีดยางจากที่เขาเคยใช้ 7-8 คน ตอนนี้ใช้แค่ 5 คน
และเราก็มีเวลาเหลือ เปิดรับรีดยางจากพ่อค้ายางรายอื่นได้มากขึ้น
โดยคิดค่ารีดยางเครป กก.ละ 90 สตางค์”
━━━━━━━━━━━━━━
เลือกซื้อยางก้อนถ้วยคุณภาพ มาผลิตยางเครป
━━━━━━━━━━━━━━
อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญของธุรกิจยางเครป คือ วัตถุดิบยางก้อนถ้วย ซึ่งยางของทางภาคอีสาน
ส่วนใหญ่จะเป็นยางสด มีน้ำปะปนอยู่มาก
ดังนั้นการเลือกซื้อยางจึงต้องดูคุณภาพของเนื้อยางต้องไม่มีน้ำมากจนเกินไป
โดยจะต้องเป็นยางที่กรีดมา 7-8 มีด ก้อนยางสะอาด ไม่มีสิ่งปลอมปน ยางแบบนี้เหมาะสำหรับซื้อไปทำยางเครป เพราะมีน้ำน้อย รีดแล้วได้เนื้อยางสูง
วิธีซื้อวัตถุอยางก้อนถ้วย คุณคำไพ จะเข้าไปประมูลยางตามลานยางท้องถิ่นในจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งยางแต่ละตลาดแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องทำข้อมูลคุณภาพของยางแต่ละแห่งไว้ แล้วเลือกแต่ตลาดที่ยางมีคุณภาพเท่านั้น
โดยจะต้องเป็นยางที่กรีดมา 7-8 มีด ก้อนยางสะอาด ไม่มีสิ่งปลอมปน ยางแบบนี้เหมาะสำหรับซื้อไปทำยางเครป เพราะมีน้ำน้อย รีดแล้วได้เนื้อยางสูง
วิธีซื้อวัตถุอยางก้อนถ้วย คุณคำไพ จะเข้าไปประมูลยางตามลานยางท้องถิ่นในจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งยางแต่ละตลาดแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องทำข้อมูลคุณภาพของยางแต่ละแห่งไว้ แล้วเลือกแต่ตลาดที่ยางมีคุณภาพเท่านั้น
“เป็นพ่อค้า-แม่ค้ายางเครป
ก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน เราต้องหายางที่เนื้อแน่น น้ำน้อย ถ้ารีดแล้วน้ำเยอะ รีดมาน้ำหนักก็ลดลง ขายก็ขาดทุน แต่ถ้ายางตัวไหนมันแน่นน้ำหนักก็หายน้อยเอามารีดถึงจะได้กำไร”
เธอบอกว่า ยางเครปที่รีดได้ ควรมีมีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางไม่ต่ำกว่า 70% จะมีกำไรส่วนต่างประมาณ กก.ละ 1-2 บาท แต่ถ้ายางมีคุณภาพหรือเป็นช่วงที่โรงงานต้องการยางเพิ่ม โรงงานจะบวกราคาเพิ่มให้อีกประมาณ 1 บาท/ กก. โดยมีโรงงานรับซื้อยางเครปประจำ อย่าง โรงงานของบริษัท
วงศ์บัณฑิต ใน จ.อุดรธานี เป็นต้น
ปัจจุบันคุณคำไพผลิตยางเครปวันละ 30-40 ตัน ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการประมูลยางและบริหารจัดการทั่วไปกว่า
1.2 ล้านบาท/วัน
━━━━━━━━━━━━━━
ยางเครป ยังเป็นธุรกิจที่มีโอกาส
━━━━━━━━━━━━━━
ธุรกิจยางเครป กำลังได้รับความนิยมสูงในภาคอีสาน เนื่องจากมีวัตถุดิบอยู่จำนวนมาก
และส่วนใหญ่เป็นยางที่มีคุณภาพ สะอาด เหมาะสำหรับนำมารีดยางเครป
ประกอบกับมีโรงงานรับซื้อในพื้นที่หลายแห่ง และมีแนวโน้มซื้อยางเครปเพิ่ม หลังจากโรงงานรายใหญ่ในภาคอีสานถูกร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็นจากยางก้อนถ้วย ซึ่งโรงงานเหล่านี้น่าจะซื้อยางเครปเพิ่มมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องกลิ่น
ประกอบกับมีโรงงานรับซื้อในพื้นที่หลายแห่ง และมีแนวโน้มซื้อยางเครปเพิ่ม หลังจากโรงงานรายใหญ่ในภาคอีสานถูกร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็นจากยางก้อนถ้วย ซึ่งโรงงานเหล่านี้น่าจะซื้อยางเครปเพิ่มมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องกลิ่น
คุณคำไพ จึงตัดสินใจลงทุนเครื่องจักรรีดยางเครปเพิ่ม ทำให้ระบบเครื่องจักรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ประหยัดแรงงาน และเวลา สามารถรองรับยางของตัวเอง และเปิดรับรีดยางเครปจากข้างนอก
เช่น พ่อค้ายางด้วยกัน หรือ เกษตรกรรายใหญ่ๆ
เนื่องจากการทำยางเครปต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง
จึงเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนที่ไม่พร้อมลงทุน เครื่องจักร แต่ต้องการเพิ่มมูลค่ายาง
━━━━━━━
ขอขอบคุณ
คำไพ ใจซื่อ
167หมู่6 บ้านคำตานา ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร 47240 โทรศัพท์
08-1320-3371
บริษัท เอฟ เอม จี อินดัสทรี จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องรีดยางเครป ตราช้าง
โทรศัพท์ 09-9262-4495, 0-2812-2338
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น