คลัสเตอร์กล้วยหินยะลา ยกระดับราคากล้วยหิน
แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กล้วยหินต้มบรรจุถุงล็อตแรก เตรียมส่งขายทั่วไทย สร้างรายได้
ศูนย์บ่มเพาะคลัสเตอร์กล้วยหิน
โรงงานผลิตกล้วยหินต้ม ตั้งอยู่ที่ ถนนสุขยางค์ อ.เมือง จ.ยะลา
สมาชิกของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน คลัสเตอร์กล้วยหินยะลา ได้เริ่มผลิตกล้วยหินต้ม
เพื่อนำออกจำหน่ายเป็นล็อตแรก หลังจากวางแผนการดำเนินการมากว่า 2 ปี
นางกมลลักษณ์ สายเมือง เลขาธิการ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
คลัสเตอร์กล้วยหินยะลา เปิดเผยว่า เครือข่ายฯ จะรับซื้อกล้วยหิน จากสมาชิกที่มีสมาชิกอยู่
160 ราย
และกล้วยส่วนใหญ่จะได้มาจากอำเภอยะหา
ราคากล้วยที่รับซื้ออยู่ในขณะนี้จะสูงกว่าท้องตลาด 30% เช่น
ราคาท้องตลาด กก.ละ 10 บาท แต่ทางกลุ่มจะซื้อทั้งเครือ ปาดหัวปาดท้ายไม่เกิน
15 ซม. ในราคา 12 บาทกว่าๆ
แต่กล้วยจะต้องแก่
วิธีการแปรรูปกล้วยหิน
เป็นกล้วยหินต้ม ก็จะต้องใช้กล้วยหินที่มีน้ำหนักของผลกล้วย 95 ถึง 105 กรัม หรือหวีละ 1,800-2,200 กรัม
เมื่อได้กล้วยหินแล้วก็นำมาล้างทำความสะอาด ตัดเป็นหวี
แล้วนำมาผึ่งให้แห้งโดยไม่ใช้ตากแดด ก่อนที่จะนำมาเข้าตู้บ่ม
ในแต่ละตู้ก็จะใช้กล้วยประมาณ 105-120 กก.
ใช้แก๊สบ่มเพื่อให้กล้วยสุกพร้อมกัน ใช้เวลา 2 วัน
ก็เปิดตู้ออก แล้วทิ้งไว้อีก 1 วัน แล้วก็แยกขนาดของกล้วย
จากนั้น จึงนำไปล้างทำความสะอาดอย่างละเอียด แล้วก็เข้าสู่กระบวนการต้ม
หลังจากที่ผลิตแล้วก็อยู่ในเรื่องของตลาด
ที่มีนักการตลาดมาวางแผนการจำหน่ายให้
เนื่องจากมีผู้ที่สนใจจะนำไปจำหน่ายค่อนข้างมาก แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มโมเดิร์นเทรด
เช่น พวกห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ดอยคำ รวมทั้ง เอเยนต์ในแต่ละจังหวัด
เดือนนี้เพิ่งจะผลิตและเริ่มส่งไปจำหน่ายเป็นครั้งแรก
หลังจากที่วางแผนการดำเนินการมาประมาณ 2 ปี ในราคาห่อละ 25 บาท เป็นห่อบรรจุสุญญากาศ ที่สามารถเก็บได้นาน 50 วัน
โดยการแช่เย็น
ส่วนตลาดที่ผ่านมา
ตามงานอีเวนท์ต่างๆ ก็ตอบรับดี แต่ยังไม่ทราบว่า
หลังจากที่ไปวางจำหน่ายตามร้านต่างๆ ในเดือนหน้า จะมีผลตอบรับอย่างไร
สำหรับรสชาติกล้วยหินต้ม
ก็จะมีความเหนียวนุ่ม มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีเบตาแคโรทีนสูง
เมื่อต้มแล้วในน้ำหนัก 130 กรัม
จะมีเบต้าแคโรทีนอยู่ 203 ไมโครกรัม ซึ่งถือว่าสูง
และในกล้วยหินจะมีเอมไซน์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เมื่อกลายเป็นแป้งที่อยู่ในลำไส้ของคนเรา
ก็จะขับออกมาเป็นไฟเบอร์ ที่จะมีผลดีต่อสุขภาพ และมีน้ำตาลน้อย
ในสมัยก่อนจังหวัดยะลา
จะขึ้นชื่อในเรื่องของกล้วยหินต้ม มีแหล่งจำหน่ายอยู่สามแยกบ้านเนียง นักท่องเที่ยวที่มาเยือนยะลา
จะต้องไปซื้อรับประทาน แต่ในปัจจุบันได้เลิกกิจการไปหมดแล้ว
กล้วยหินต้มที่นี่ก็ได้นำองค์ความรู้ดั้งเดิม
ภูมิปัญญาชาวบ้านมาพัฒนาเรียนรู้ ก็เชื่อว่ารสชาติไม่แตกต่างกัน
ส่วนกำลังการผลิตของโรงงานแห่งนี้ก็ตั้งอยู่ที่
2,000 ห่อ
ต่อ 1 วัน โดยจะใช้กล้วยเดือนละประมาณ 12 ตัน นี่คือเป้าหมายของโรงงานที่จะทำเต็มรูปแบบ แต่ในช่วงแรก ยังผลิตไม่ถึง
เนื่องจากอยู่ในจุดเริ่มต้น ยังไม่ทราบว่าตลาดมีความต้องการมากน้อยเท่าไหร่ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพูดคุยเจรจากับห้าง
และร้านค้าต่างๆ
ปัจจุบัน
ราคากล้วยหิน เมื่อเทียบกับยางพาราต่อไร่เท่ากัน การดูแลกล้วยดูแลง่าย กว่ายางพารา
โดยปัจจุบันที่บันนังสตา มีพื้นที่ปลูกกล้วย 6,000 กว่าไร่
แต่มีผลผลิตที่เสียหายจากการเป็นโรคเหี่ยวกล้วย ที่เป็นโรคมาจากมาเลเซีย
ทำให้ผลเน่า ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังแก้ปัญหาอยู่
แต่ทางกลุ่มก็เดินหน้าให้เกษตรกรปลูกกล้วย
ทดแทนในพื้นที่ อ.ยะหา โดยทางท้องถิ่นเห็นด้วยกับโครงการนี้
ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกเพื่อส่งมาป้อนให้กับทางโรงงาน และมีการประกันราคา
และจะสร้างให้อำเภอยะหาเป็นศูนย์กล้วยหินทั้งหมด
ส่วนภาครัฐที่ให้การสนับสนุน
จะเป็นงบยุทธศาสตร์ของจังหวัด มีอุตสาหกรรมจังหวัดเป็นที่ปรึกษา
สร้างโรงงานให้ด้วยงบประมาณ 6 ล้านบาท รวมทั้งเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ
ส่วนเงินหมุนเวียนก็ระดมจากสมาชิก
หุ้นละ 100 บาท
ขั้นต่ำ 50 หุ้น มากสุด 500 หุ้น
แต่ทุกรายจะมีสิทธิเพียง 1 เสียงในการประชุม
ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ขึ้นทะเบียนโอทอป
สำหรับผู้ที่สนใจจะนำไปจำหน่าย สามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
คลัสเตอร์กล้วยหินยะลา นายพงศ์อนันต์ หงส์อมตะ ประธานเครือข่ายฯ ที่โทร 08-1896-2762
หรือที่นางกมลลักษณ์ สายเมือง เลขาธิการ เครือข่าย โทร. 08-6962-2080
ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น