ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

5 ขั้นตอน ดูแลสวนปาล์มแบบง่ายๆ แต่ให้ผลผลิตดี โดย สวนไผ่อาบู

ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำเยอะ หากเรามุ่งเน้นที่การจัดการความชื้นในดิน ให้ดินสูญเสียความชื้นน้อย การจะทำให้ปาล์มออกทะลายก็ไม่ใช่เรื่องยาก

ในการปลูกพืชต่างๆ ผมจึงเน้นหลักการดูแลดินให้ดี เมื่อดินดี ดินมีความชื้น ดินมีชีวิต ผลผลิตก็ดี เช่นเดียวกับปาล์ม ดินดีเมื่อไหร่ผลผลิตก็จะดีตาม

ขั้นตอนการจัดการสวนปาล์มแบบบ้านๆ ที่เราใช้ทีนี่มี 5 ขั้นตอน


━━━━━━━━━━━━━━━━━━
1.ใช้เทคนิคการจัดการแบบสวนรก
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━ 
✊ วิธีการที่คนส่วนใหญ่ทำ : คนส่วนใหญ่มองว่าหญ้าคือวัชพืช จึงมักจะตัดหญ้าแบบล้างแปลงเมื่อสวนเริ่มรก เพราะกลัวสวนไม่สวย บ้างก็กลัวหญ้าจะแย่งปุ๋ย เมื่อไม่มีหญ้าคอยคลุมหน้าดินจึงทำให้ดินเกิดการสูญเสียความชื้น เมื่อดินขาดความชื้นทลายก็น้อย

✌ วิธีการที่เราทำ : ตัดหญ้าในร่องปาล์ม (พื้นที่ทำงาน) เพื่อให้คนงานทำงานสะดวก...ส่วนบริเวณระหว่างร่องให้ปล่อยรก เพื่อให้หญ้าคอยรักษาความชื้นในดิน จะตัดหญ้าล้างทั้งแปลงเมื่อรกจริงๆ เท่านั้น และจะไม่ตัดหญ้าในช่วงแล้ง เพราะเราจะได้ให้หญ้าคอยห่มดินช่วยรักษาความชื้นในช่วงหน้าแล้ง ความชื้นดีทะลายก็ดีตาม
- Advertisement -

━━━━━━━━━━━━━━━━━━
2.ปรับเปลี่ยนวิธีการใส่ปุ๋ยคอก (ขี้ไก่)
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━ 
✊ วิธีการที่คนส่วนใหญ่ทำ : ชาวสวนมักจะใส่ทั้งกระสอบ วางแล้วผ่ากระสอบ ต้นละหนึ่งกระสอบ โดยมักจะวางที่ระยะทรงพุ่ม

✌ วิธีการที่เราทำ : ใส่ขี้ไก่ต้นละ 1 กระสอบเช่นเดิม แต่เปลี่ยนมาใช้วิธีการโรยรอบๆ วงโคนต้น!...ผมเรียกเทคนิคนี้ว่า... การใช้ขี้ไก่ยั่วรากปาล์ม ยั่วให้รากใหม่เกิดขึ้นที่รอบโคนต้น
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
3.ปรับวิธีการกองทางปาล์ม
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
✊วิธีการที่คนส่วนใหญ่ทำ : วางกองทางปาล์มในแนวอกปาล์ม วางทับกันเป็นกองๆ

✌ วิธีการที่เราทำ : นำทางปาล์มมาสับเป็นท่อนสั้นๆ วางกองทับบนขี้ไก่รอบโคนต้นปาล์ม วางทับไปเรื่อยๆ เมื่อทางปาล์มย่อยสลาย จะเกิดเป็นแนววงแหวนรอบโคนต้น  แนววงแหวนนี้นอกจากช่วยกักเก็บน้ำช่วงหน้าฝน ช่วยคลุมโคนต้นเป็นการรักษาความชื้นช่วงหน้าแล้ง และยังเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์และสัตว์หน้าดิน ดินบริเวณนี้จึงร่วนซุยมาก และที่สำคัญ!...มันจะเป็นแนวป้องกันการไหลออกของปุ๋ยเมื่อฝนตกหนักๆ
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
4.เปลี่ยนวิธีการใส่ปุ๋ย
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
✊วิธีการที่คนส่วนใหญ่ทำ : ใช้ปุ๋ยเคมีหว่านที่ระยะทรงพุ่ม...ปุ๋ยเคมีใช้ไปนานๆ จะมีดินขาวตกค้าง มันจะเข้าไปอุดช่องว่างในดิน ทำให้ช่องว่างในดินลดลง ดินจึงแน่น และเสื่อมสภาพไปในที่สุด

✌วิธีการที่เราทำ : เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี เพื่อมุ่งเน้นการปรับสภาพดิน โดยจะใส่เป็นกองเล็กๆ หลายๆ กอง ภายในแนววงแหวนใกล้ๆ โคนต้นปาล์ม ใส่ 5 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากเจ้าของสวนได้ผลผลิตดี มีทุนเพิ่ม ก็ใส่เพิ่มได้ ที่นี่เราใส่ปีละ 1 ครั้ง
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
5.เสริมปุ๋ยสูตรโพแทสเซียม
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ปุ๋ยสูตรโพแทสเซียม (0-0-60 ใส่ตามความเป็นจริง เพื่อเพิ่มน้ำหนักทลาย)

✊ วิธีการที่คนส่วนใหญ่ทำ : ชาวสวนมักจะใส่ 0-0-60 อยู่แล้ว แต่เป็นการใส่แบบหว่านรอบๆ ทรงพุ่ม โดยปริมาณแล้วแต่การคำนวณ และ ทุนของเจ้าของสวน

✌ วิธีการที่เราทำ : ใส่ 0-0-60 โดยดูจากทลายปาล์มเป็นหลัก ถ้าผลปาล์มไม่โต ตึง สุดปลายหนาม ก็จะเตรียมใส่ 0-0-60 เสริมจากอินทรีย์เคมี ต้นละ 1-2 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยใส่เป็นกองเล็กๆ ในแนววงแหวนใกล้โคนต้น และจะใส่ช่วงที่ทลายปาล์มเริ่มแทงนก (หันซ้ายหันขวาเริ่มเห็นทลายบางส่วนมีการแทงนกก็ใส่เลย)
และหากช่วงไหนที่เริ่มพบว่าใบปาล์มมีลักษณะหยิกเป็นลอนหลังคา ก็จะใส่โบร่อนเสริมต้นละ 1 กำมือ โบร่อนห้ามใส่เยอะ ไม่งั้นจะเกิดอาการโบร่อนเป็นพิษ
ลองนำเทคนิควิธีการข้างต้น ไปปรับใช้กับสวนของท่านดูนะครับ! ผลผลิตจะค่อยๆ ดีขึ้น!และสิ่ง

สิ่งสำคัญ...ที่จะเห็นผลชัดเจน คือ ช่วยลดต้นทุนได้เยอะ! ทั้งค่าตัดหญ้า ค่าปุ๋ยเคมี... “ลดแน่ๆ หากแม้ท่านได้เริ่มลงมือทำ!”

สิ่งที่จะลืมไม่ได้อีกหนึ่งข้อ ก็คือ ให้หาพืชมาปลูกแซมในสวนปาล์มเพื่อเสริมรายได้เอาไว้บ้าง...อย่ารอให้ผลผลิตราคาตก เหมือนที่เกิดกับชาวสวนยางแล้วค่อยมาปลูก!...เพราะมันจะไม่ทัน!

ควรคิดทำเสียตั้งแต่ตอนที่เรายังมีทุน! เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางรายได้

- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม