กยท. ยืนยันทำงานบนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรชาวสวนยาง
สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง พร้อมส่งเสริม
และสนับสนุนให้มีการปลูกแทนแก่เกษตรผู้ปลูกยางพารา
และการเพิ่มโอกาสในการสนับสนุนเงินทุนเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเสริม สร้างรายได้ ซึ่งเป็นการบริหารเงินกองทุนพัฒนายางพารา
ตาม พ.ร.บ. กยท.ที่ได้กำหนดไว้
ดร.ธีธัช
สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
กล่าวว่า กยท.
มีนโยบายในการส่งเสริมให้โค่นยางพาราปีละ 4 แสนไร่
เป็นกระบวนการในการบริหารจัดการซัพพลายเพื่อสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานให้เกิดขึ้นกับตลาดโลก
ซึ่งเกษตรกรที่ดำเนินการโค่นยางเก่า กยท. จะมีกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริม
สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในการนำไปปลูกแทน ร้อยละ 40 ของเงินกองทุนพัฒนายางพาราเท่านั้น
ปัจจุบัน
กยท.ให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนจำนวน 200,457 ราย คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1.98 ล้านไร่ โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็นปลูกยาง 1,439,903.20 ไร่ ไม้ยืนต้น 79,162 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 442,370.75 ไร่ และปลูกพืชแบบผสมผสาน 15,561.45 ไร่
หากเกษตรกรที่โค่นแล้วเลือกปลูกแทน
จะได้รับเงินสนับสนุนไร่ละ 16,000 บาท
โดยหลักจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ได้รับการสนับสนุนเป็นเงินสดโอนเข้าบัญชีเกษตรกร จะเป็นประเภทค่าแรง อาทิ
การเตรียมดิน การปลูก และการบำรุงรักษาสวนจนกว่าจะได้ผลผลิต เป็นต้น ประมาณ 5,000 บาทต่อไร่ ส่วนปัจจัยการผลิต อาทิ
พันธุ์ยาง ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์
กยท.สามารถบริหารจัดการช่วยเหลือ
โดยการจ่ายเป็นวัสดุ
หรือเป็นเงินให้แก่เกษตรกรก็ได้เพราะแต่ละพื้นที่มีข้อจำกัดแตกต่างกัน เช่น
กรณีพันธุ์ยางบางพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งผลิตกล้ายาง จะจ่ายเป็นเงินสด
เพื่อให้เกษตรกรไปจัดหาปัจจัยการผลิตเอง หรือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์
ซึ่งชาวสวนยางโดยส่วนมากของประเทศเป็นเกษตรกรรายย่อย
การจัดหาปัจจัยการผลิตประเภทนี้ มีต้นทุนค่อนข้างสูง อาจได้ของที่มีคุณภาพต่ำ
หรือราคาแพงกว่าท้องตลาดโดยทั่วไปได้ อีกทั้ง
บางรายอาจไม่นำเงินที่ได้ไปใช้เพื่อการบำรุงรักษาสวนยาง
สำหรับประเด็นการสนับสนุนเงินทุนให้กู้เพื่อนำมาประกอบอาชีพ
กยท. ได้จัดสรรเงินจากกองทุนพัฒนายางพารา ตามมาตรา 49 (3)ประมาณ 2.5 พันล้านบาท ให้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ
กยท. จะมีคุณสมบัติในการกู้ยืมเงิน หากเป็นเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย
สามารถใช้บุคคลค้ำประกันอย่างน้อยสองคน หรือใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้
สำหรับกลุ่มเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร
ต้องมีทุนเรือนหุ้นไม่ต่ำกว่า 5
หมื่นบาท และมีวินัยทางการเงิน หากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางใดที่ได้รับการผ่อนผัน
ขยายเวลาชำระหนี้ ลดหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประนอมหนี้
และสามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข ถือว่า มีคุณสมบัติที่จะกู้ยืมได้
และสำหรับผู้ประกอบกิจการยาง จะต้องไม่มีหนี้ผิดค้างชำระต่อสถาบันการเงินหรือ กยท.เช่นกัน
ดร.กฤษดา
สังข์สิงห์
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต กยท. เผยถึงการจัดหาวัสดุปลูกให้เกษตรกรว่า การจัดหากล้ายางหรือปุ๋ย กยท. สามารถทำได้ตาม พ.ร.บ.กยท.ในมาตรา 37 วรรค 2 ที่กำหนดไว้สำหรับการปลูกแทน
โดยให้ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรทั้งยางพันธุ์ดี พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย
เครื่องมือเครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือ หรือจ่ายเงินให้ก็ได้
ทั้งนี้
จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ ซึ่งการจัดหาปุ๋ยเคมีในปีนี้ กยท.
จัดให้เฉพาะการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีในเขตภาคใต้และภาคตะวันออกที่มีสวนปลูกแทนจำนวนมากสามารถเปิดกรีดได้เร็ว
สวนยางได้มาตรฐาน และมีกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรที่เข้มแข็งเข้าร่วมโครงการเก็บรักษา
ผสมปุ๋ย และจ่ายปุ๋ยให้ กยท. โดยมีราคาต่ำกว่าราคาในอัตราการปลูกแทน
ทำให้เกษตรกรมีเงินเหลือในบัญชีสะสมไว้รับตอนสวนพ้นระยะการปลูกแทน
สำหรับกรณีปุ๋ยอินทรีย์ก็เช่นกัน
1 ความคิดเห็น:
ขอถามหน่อยคับสวนยางโดนไฟติดหาผู้กระทำผิดไม่ได้ไม่ทราบว่ามีช่องทางช่วยเหลือด้านใดบ้างคับตอนนี้เงินทีจะมาปลูกใหม่ก็ไม่มีเป็นยางขอทุนคับแต่ไม่ทราบว่าทางกองทุนจะมาช่วยเหลือไมจำนวนต้นยางทีโดนติด2300ต้น
แสดงความคิดเห็น