ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

กยท. ย้ำจุดยืน สร้างความมั่นคงให้ชาวสวนยาง

กยท. ยืนยันทำงานบนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง พร้อมส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการปลูกแทนแก่เกษตรผู้ปลูกยางพารา และการเพิ่มโอกาสในการสนับสนุนเงินทุนเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเสริม สร้างรายได้  ซึ่งเป็นการบริหารเงินกองทุนพัฒนายางพารา ตาม พ.ร.บ. กยท.ที่ได้กำหนดไว้

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กยท. มีนโยบายในการส่งเสริมให้โค่นยางพาราปีละ 4 แสนไร่ เป็นกระบวนการในการบริหารจัดการซัพพลายเพื่อสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานให้เกิดขึ้นกับตลาดโลก ซึ่งเกษตรกรที่ดำเนินการโค่นยางเก่า กยท. จะมีกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในการนำไปปลูกแทน ร้อยละ 40 ของเงินกองทุนพัฒนายางพาราเท่านั้น
Advertising
ปัจจุบัน กยท.ให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนจำนวน 200,457 ราย คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1.98 ล้านไร่ โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็นปลูกยาง 1,439,903.20 ไร่ ไม้ยืนต้น 79,162 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 442,370.75 ไร่ และปลูกพืชแบบผสมผสาน 15,561.45  ไร่ 

หากเกษตรกรที่โค่นแล้วเลือกปลูกแทน จะได้รับเงินสนับสนุนไร่ละ 16,000 บาท โดยหลักจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ได้รับการสนับสนุนเป็นเงินสดโอนเข้าบัญชีเกษตรกร จะเป็นประเภทค่าแรง อาทิ การเตรียมดิน การปลูก และการบำรุงรักษาสวนจนกว่าจะได้ผลผลิต เป็นต้น ประมาณ 5,000 บาทต่อไร่ ส่วนปัจจัยการผลิต อาทิ พันธุ์ยาง ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์      

กยท.สามารถบริหารจัดการช่วยเหลือ โดยการจ่ายเป็นวัสดุ หรือเป็นเงินให้แก่เกษตรกรก็ได้เพราะแต่ละพื้นที่มีข้อจำกัดแตกต่างกัน เช่น กรณีพันธุ์ยางบางพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งผลิตกล้ายาง จะจ่ายเป็นเงินสด เพื่อให้เกษตรกรไปจัดหาปัจจัยการผลิตเอง หรือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งชาวสวนยางโดยส่วนมากของประเทศเป็นเกษตรกรรายย่อย การจัดหาปัจจัยการผลิตประเภทนี้ มีต้นทุนค่อนข้างสูง อาจได้ของที่มีคุณภาพต่ำ หรือราคาแพงกว่าท้องตลาดโดยทั่วไปได้ อีกทั้ง บางรายอาจไม่นำเงินที่ได้ไปใช้เพื่อการบำรุงรักษาสวนยาง 
“กยท.ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่โปร่งใส และเป็นธรรม ฉะนั้น เรื่องการทุจริต หรือเอื้อประโยชน์กับกลุ่มทุนใดก็ตาม ย้ำว่า เป็นประเด็นนโยบายหลักที่สำคัญมากในการบริหารงาน กยท. ซึ่งคณะกรรมการบริหารการยางแห่งประเทศไทย ตระหนักและติดตามทุกโครงการอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแน่นอน”

สำหรับประเด็นการสนับสนุนเงินทุนให้กู้เพื่อนำมาประกอบอาชีพ กยท. ได้จัดสรรเงินจากกองทุนพัฒนายางพารา ตามมาตรา 49 (3)ประมาณ 2.5 พันล้านบาท ให้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. จะมีคุณสมบัติในการกู้ยืมเงิน หากเป็นเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย สามารถใช้บุคคลค้ำประกันอย่างน้อยสองคน หรือใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้

สำหรับกลุ่มเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร ต้องมีทุนเรือนหุ้นไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท และมีวินัยทางการเงิน หากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางใดที่ได้รับการผ่อนผัน ขยายเวลาชำระหนี้ ลดหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประนอมหนี้ และสามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข ถือว่า มีคุณสมบัติที่จะกู้ยืมได้ และสำหรับผู้ประกอบกิจการยาง จะต้องไม่มีหนี้ผิดค้างชำระต่อสถาบันการเงินหรือ กยท.เช่นกัน

ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต กยท. เผยถึงการจัดหาวัสดุปลูกให้เกษตรกรว่า การจัดหากล้ายางหรือปุ๋ย กยท. สามารถทำได้ตาม พ.ร.บ.กยท.ในมาตรา 37 วรรค 2 ที่กำหนดไว้สำหรับการปลูกแทน โดยให้ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรทั้งยางพันธุ์ดี พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย เครื่องมือเครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือ หรือจ่ายเงินให้ก็ได้

ทั้งนี้ จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ ซึ่งการจัดหาปุ๋ยเคมีในปีนี้ กยท. จัดให้เฉพาะการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีในเขตภาคใต้และภาคตะวันออกที่มีสวนปลูกแทนจำนวนมากสามารถเปิดกรีดได้เร็ว สวนยางได้มาตรฐาน และมีกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรที่เข้มแข็งเข้าร่วมโครงการเก็บรักษา ผสมปุ๋ย และจ่ายปุ๋ยให้ กยท. โดยมีราคาต่ำกว่าราคาในอัตราการปลูกแทน ทำให้เกษตรกรมีเงินเหลือในบัญชีสะสมไว้รับตอนสวนพ้นระยะการปลูกแทน สำหรับกรณีปุ๋ยอินทรีย์ก็เช่นกัน 
ดร.กฤษดา กล่าวเพิ่มเติมว่า การจ่ายเป็นเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรนำไปซื้อปุ๋ยเอง อาจมีโอกาสที่ได้ปุ๋ยไม่ถูกสูตร ไม่ครบจำนวนหรือไม่ได้คุณภาพ แต่การจัดซื้อครั้งนี้ ปุ๋ยทุกชนิดต้องผ่านการวิเคราะห์ตามเกณฑ์มาตรฐาน ณ ปลายทาง พนักงาน กยท. จะคำนวณปริมาณและจัดทำใบสั่งจ่ายวัสดุ สั่งจ่าย ณ จุดจ่ายปุ๋ยใกล้บ้านเกษตรกรที่มีมากกว่า 300 จุด

ที่สำคัญการจัดหาปุ๋ยครั้งนี้ไม่มีการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใด เนื่องจาก มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ขายที่ชัดเจน มีการนำร่างประกาศทางเว็บไซต์ มีบริษัทมาซื้อเอกสารการประมูลปุ๋ยมากถึง 25 บริษัท มีผู้เสนอแนะและวิจารณ์ร่างประกาศโดยเปิดเผยตัว และคณะกรรมการได้พิจารณาปรับแก้เพื่อประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เมื่อประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติแล้วมีการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่บริษัทตลาดกลาง ตามแนวทางและขั้นตอนการประมูลด้วยระบบ e-Auction



1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอถามหน่อยคับสวนยางโดนไฟติดหาผู้กระทำผิดไม่ได้ไม่ทราบว่ามีช่องทางช่วยเหลือด้านใดบ้างคับตอนนี้เงินทีจะมาปลูกใหม่ก็ไม่มีเป็นยางขอทุนคับแต่ไม่ทราบว่าทางกองทุนจะมาช่วยเหลือไมจำนวนต้นยางทีโดนติด2300ต้น

บทความที่ได้รับความนิยม