กยท. ชี้เหตุ ราคายาง
พร้อมเคลียร์ปมกระแสข่าวลือไม่รับซื้อยางเชื่อมั่น
ยางพาราเป็นสินค้าเกษตรที่ยังคงเป็นที่ต้องการตลาดโลก
เช้าวันนี้ (2 มิถุนายน 2560) กยท.
เผยสาเหตุราคายางที่มีการปรับลดลงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อม
แจงประเด็นกระแสข่าวลือการไม่รับซื้อยางแผ่นในพื้นที่ภาคใต้ ย้ำ ภาคเกษตรกร
และสถาบันเกษตรกร เน้นให้ความสำคัญกระบวนการการผลิตยางแผ่นชั้นดี
หรือการผลิตยางชนิดอื่นๆ ให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน
เพราะยางพารายังคงเป็นสินค้าเกษตรที่ตลาดโลกมีความต้องการสูง
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
(กยท.) ให้สัมภาษณ์ว่า ตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าทั้งตลาดโตเกียว
(TOCOM) และ ตลาดเซี่ยงไฮ้ (SHEF) ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันที่ลดลง
และการคาดการณ์เรื่องสต็อกยางของประเทศจีน
ส่งผลให้ราคายางปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่ปัญหานี้พบน้อยมากเมื่อเทียบกับคุณภาพยางในภาพรวม
เพราะเมื่อเริ่มฤดูกาลเปิดกรีดใหม่ น้ำยางสดจากการเปิดกรีดในครั้งแรก
อาจจะมีสารที่ไม่ใช่ยางสูงขึ้นบ้างเล็กน้อยขึ้นกับสภาพต้นยางที่แตกต่างกัน
และน้ำยางสดในช่วงแรกของการเปิด กรีดมีค่าความอ่อนตัวเริ่มแรก แต่ค่าความหนืด (MOONEY) เฉลี่ยมากกว่า 65 ซึ่งก็ยังสูงกว่ามาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์ 20 ถ้าหากเกษตรกรมีการผลิตยางแผ่นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือ ตามคำแนะนำ
ของฝ่ายวิชาการของ กยท. ก็จะทำให้ได้ยางมีความยืดหยุ่นดี ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงฤดูกาลเปิดกรีดยางใหม่ก็ตาม
“ขอความร่วมมือจากพี่น้องเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
ให้ความสำคัญกับกระบวนการการผลิตยางแผ่นชั้นดี หรือการผลิตยางชนิดอื่นๆ
ให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน โดยสามารถรับข้อมูลที่ถูกต้องได้จาก กยท.
ทุกสาขาใกล้บ้านท่าน และขอให้ผู้ส่งต่อข้อมูลผ่านเครือข่ายออนไลน์
ใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสาร โดยไม่ตื่นตระหนกไปกับข่าวการไม่รับซื้อยางดังกล่าว” ดร.ธีธัช กล่าวย้ำ
ด้านนางปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ฤดูกาลผลัดใบยางของแต่ละพื้นที่ในประเทศจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศของพื้นที่นั้น
ซึ่งเกษตรกรจะหยุดกรีดประมาณ 2-4 เดือน
และเมื่อเริ่มเปิดกรีด
น้ำยางสดจากการเปิดกรีดในครั้งแรกอาจมีสารที่ไม่ใช่ยางสูงขึ้นบ้าง
ขึ้นอยู่กับสภาพต้นยางที่แตกต่างกันและอาจส่งผลให้น้ำยางเสียสภาพเร็วกว่าปกติได้
ประกอบกับเกษตรกรบางรายผลิตยางแผ่นดิบไม่ตรงตามหลักวิชาการ
ทำให้คุณสมบัติทางกายภาพลดลงได้
นางปรีดิ์เปรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการทำยางแผ่นดิบโดยทั่วไปของเกษตรกรที่มีสวนยางขนาดเล็ก
มักจะผลิตยางในตะกงถาดหรือใช้ตะกงตับ
สำหรับสวนขนาดใหญ่หรือเป็นกลุ่มสหกรณ์ที่รวบรวมน้ำยางครั้งละปริมาณมากๆ
การเจือจางน้ำและน้ำยางในสัดส่วนที่ถูกต้องเป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ
รวมทั้งการใช้กรดตามคำแนะนำด้วย
ไม่ว่าจะทำยางในตะกงถาดหรือตะกงตับก็ตามจะได้ยางแผ่นที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน ในส่วนยางที่ขาดง่ายไม่สปริง
หมายถึงยางขาดความยืดหยุ่น อาจพบบ้างจากกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น
เปิดกรีดในขณะที่ยางอ่อน ใช้สารเร่งน้ำยาง หรือการไม่ใช้กรดฟอร์มิคในการจับตัว
เป็นต้น แต่ปัญหานี้พบน้อยมากเมื่อเทียบกับคุณภาพยางในภาพรวม
“เกษตรกรอย่าเพิ่งตื่นตระหนักไปกับข่าวเรื่องยางไม่สปริงจนเกิดข่าวลือว่า
บริษัทยางล้อจะไม่รับซื้อยางแผ่น
เพราะหากเกษตรกรมีการผลิตยางแผ่นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการหรือตามคำแนะนำ
ก็จะทำให้ได้ยางที่มีความยืดหยุ่นดีถึงแม้จะเป็นช่วงฤดูกาลเปิดกรีดยางใหม่ก็ตาม
ซึ่งท่านสามารถศึกษาข้อมูลคำแนะนำการผลิตยางแผ่นชั้นดี
หรือการผลิตยางแผ่นชนิดอื่นๆ ให้ได้คุณภาพมาตรฐานได้จาก website ที่ www.raot.co.th” นางปรีดิ์เปรม กล่าวทิ้งท้าย
advertivsing
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น