ฝนตกทุกวัน ชาวสวนยางกรีดยางไม่ได้
ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง แต่ราคายางกลับร่วงต่อเนื่อง สิบวันราคาลงมากกว่า 15 บาท
และยังลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดวันนี้ 6 มิ.ย. 60 ราคายางแผ่นดิบร่วงอีก 3 บาท กลายเป็นเรื่อง “ช็อกซีนีม่า”
ของชาวสวนยาง ฉีก “ตำราเศรษฐศาสตร์” อย่างสิ้นเชิง
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย วิเคราะห์สถานการณ์ยางพาราในช่วงสัปดาห์นี้มาผ่านสื่อ
ว่า ในช่วงต้นสัปดาห์มีการปรับตัวลดลง
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อม ทั้งจากผู้ประกอบการชะลอการซื้อขายยาง
และนักลงทุนมีความกังวลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา
รวมถึงราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตน้ำมันของสหรัฐอเมริกา
ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มแท่นขุดเจาะน้ำมัน
แต่ชาวสวนยางประสานเสียง “โฟกัสเป้า”
ต้นเหตุของยางร่วงระนาวมาจากการบริหารงานผิดพลาดของ กยท.
จากการทำงานหลายกรรมหลายวาระ เริ่มตั้งแต่ กยท.เร่งระบายสต็อกยางที่เหลือ 1 แสนตันออกสู่ตลาด ปล่อยให้มีข่าวโจมตีคุณภาพยางไทยจนได้รับความเสียหายโดยไม่เร่งออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างทันท่วงที
และที่สำคัญคือ
กยท.ปล่อยให้ราคายางร่วงต่อเนื่อง โดยไม่มีมาตรการแก้หรือบรรเทาปัญหาราคาตกต่ำได้อย่างทันท่วงที
ปล่อยให้ราคายางร่วงกราว สิบวัน 15 บาท ทำสหกรณ์ที่ซื้อน้ำยางมาแปรรูป รวมถึงพ่อค้ายางรายย่อย ขาดทุนอย่างหนัก ทั้งๆ
ที่มีเสียงจากเกษตรกรเสนอให้เร่งแก้ด้วยวิธีใช้เงินเซส
ซึ่งเป็นเงินที่เก็บจากการส่งออกยางมาใช้แก้ปัญหาและรักษาเสถียรภาพราคายางในช่วงวิกฤติสั้นๆ
หลังจากปล่อยให้ราคายางร่วง สิบวัน ราคาร่วงไป
15 บาท/กก. และยังลงต่อเนื่อง
ผู้ว่า กยท. เพิ่งจะออกมาให้ข่าวว่า
“วอนพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง อย่าเร่งขายยางหากราคาไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคายางได้ ให้พิจารณาจากข้อมูลที่ กยท. นำเสนอประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ กยท.กำลังเร่งออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคายาง นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นปัจจัยพื้นฐานโดยรวมยังคงดีอยู่ แม้ว่าราคายางจะลดลงไปในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา แต่เชื่อว่าในภายในสัปดาห์นี้ราคายางจะขยับสูงขึ้นตามกลไกที่แท้จริงของตลาดได้”
กยท.จึงถูกตั้งคำถามจากเกษตรกรถึงประสิทธิภาพของการทำงานจากเกษตรกร
และคำถามใหญ่ว่าการทำงานที่ผ่านมา เพื่อเกษตรกร หรือ พ่อค้ากันแน่...!!!
ล่าสุด สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย
(สยยท.) ทำหนังสือร้องเรียนไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เรื่องการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ ในหนังสือ สยยท. มีใจความสำคัญว่า
สยยท. ได้เฝ้าดูการบริหารงานของ กยท. มาเกือบ 2 ปีแล้ว ภารกิจหลักที่เห็นได้ชัดคือ ปรับจัดเก็บ เงินเซส 2 บาท/กก. และขายยางในสต็อกที่เหลืออีก 1 แสนตันให้หมด. โดยไม่ฟังมติ กนย. ที่รับข้อเสนอของ สยยท. ไว้
นอกจากนั้น กยท. ยังปรับเจ้าหน้าที่ที่มาจาก 3 หน่วยงานตาม พ.ร.บ.โดยไม่ลงตัว เพราะยังมีปั ญหาร้องเรียนอยู่ และในการดู แลเกษตรกรทาง
กยท. ให้น้ำหนักน้ อยมากเพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่ านมา เกือบ 2 ปี ราคายางผันผวนจากเหตุปัจจั ยภายในประเทศ สยยท.จึงมีความคิดเห็นร่วมกันในแนวทางแก้ปัญหาระยะเร่งด่วนดังนี้
1. ประเทศไทยมียางเป็นอันดับหนึ่ งของโลกที่ผ่านมาเรื่ องราคายางเราเดินตามหลั งตลาดโลก
เราจะต้องแก้ปั ญหาราคายางในประเทศและควบคุ มราคายางในประเทศให้มีเสถียรภาพเป็นผู้ชี้ นำราคายางในตลาดโลกให้ได้ โดยระดมนักวิชาการที่เชี่ ยวชาญดำเนินการเร่งด่วน
2. ตาม พ.ร.บ. กยท. มาตรา 8 วัตถุประสงค์ (4) ดำเนินการให้ระดับราคายางให้มี เสถียรภาพโดยใช้มาตรา 9 ให้ กยท.มีอำนาจทำกิจการต่างๆ (2) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา โดยรับจัดตั้งบริษัทเพื่อชี้ นำราคาในการประมูลยางเพื่อช่ วยเหลือเกษตรกรในการชี้ นำราคายางในประเทศ
ณ ตลาดกลางราคายางทุกแห่ง
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จะต้องนำ พ.ร.บ. ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วางหลักเกณฑ์ การค้าภายในประเทศมาตรา 49 ผู้ค้ายางผู้ส่งออกยางจะต้องปฏิ บัติตามมาตรา 10 เพราะที่ผ่านมาผู้ไม่หวังดี ในประเทศ ทำลายความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น ปล่อยข่าวกรดซัลฟูริค และเมื่อเร็วๆนี้ปล่อยข่าวน้ำ ยางที่นำมาทำยางแผ่นดิบมีเปอร์ เซ็นต์ต่ำลง และไม่มีค่าสปริง จะต้องใช้ พ.ร.บ. ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 เข้ามาดำเนินการให้มีประสิทธิ ภาพ
4. ขอให้รัฐบาลสนับสนุนเพิ่มมูลค่ ายางเป็นผลิตภัณฑ์อุ ตสาหกรรมยางโดยการให้ความรู้ เกษตรกรรวมกลุ่มกันทำผลิตภัณฑ์ ยาง หาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาช่ วยเกษตรกรชาวสวนยางทำอาชีพเสริ มด้านอุตสาหกรรมและให้สิทธิพิ เศษเหมือน BOI กับเกษตรกร. และรัฐบาลจะต้ องหาตลาดในระยะแรกจากหน่ วยงานราชการ. วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการใช้วั ตถุดิบภายในประเทศตามนโยบาย กนย.
นอกจากนั้นขอให้รัฐบาลมี นโยบายลดต้นทุนการผลิตเพิ่ มรายได้ให้ชาวสวนยางด้วยการใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่ไม่เป็ นอันตรายต่อต้นยางและคนกรีดยาง
5. สยยท. มีมติไม่เห็นด้วยกั บการแทรกแซงยางโดยประกั นราคาเพราะจะต้องนำยางมาเก็บไว้ แล้วมีปัญหาตามมา รัฐบาลควรมอบหมายให้ กยท. ตั้งบริษัทชี้นำราคายางให้สูงขึ้ น และรีบขายเหมือนพ่อค้ายางทั่วไป แต่ต้องจ้างผู้บริหารมืออาชี พมาบริหารจัดการ
ดังนั้นทาง สยยท.
จึงขอความกรุณานำข้อเสนอทั้ง 5 ข้อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาราคายางเร่งด่วนเพื่อเป็นการคืนความสุขให้ชาวสวนยางทั้งประเทศเพื่อให้อยู่ดีกินดี
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
วิกฤติช็อกซีนีม่า
ราคายางร่วงต่อเนื่องครั้งนี้ กยท.ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานเจ้าภาพโดยตรงในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ
โดยเฉพาะการบริหารเสถียรภาพราคายางอย่างทันท่วงที
ในขณะที่การแก้ปัญหาของ กยท.
ถูกล็อกเป้าตั้งคำถาม ว่า วิ่งไล่ตามปัญหาเสมอ
ส่วนคนที่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนมากที่สุดก็คือ เกษตรกรชาวสวนยาง ส่วนคนที่มักจะได้ประโยชน์ก็คือ
พ่อค้าและผู้ส่งออกยางรายใหญ่
จึงอย่าแปลกใจที่จะเกิดคำถามจากเกษตรกรว่า
การทำงานที่ผ่านมา เพื่อเกษตรกร หรือ พ่อค้ากันแน่...!!!
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น