Wood Pellet ไม้ยาง 1 ล้านตัน/ปี ป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวล : ญี่ปุ่น – ไทย ลงทุนระยะยาว
“ไม้ยาง” 14 - 19 ล้านตัน/ปีของไทย อนาคตสดใสผลิต “ชีวมวลอัดเม็ด”
หรือ “Wood Pellet” ป้อนโรงงานไฟฟ้าชีวมวลของญี่ปุ่น หลังจากญี่ปุ่นเจอวิกฤติพลังงาน “นิวเคลียร์” จึงหันมาใช้พลังงาน “ชีวมวล”
ผลิตไฟฟ้ามากกว่า 5 GW โดยล่าสุดเอกชนญี่ปุ่น-ไทย ลงทุนโรงงานผลิต
Wood Pellet ในภาคใต้ 6 โรงงาน กำลังผลิตรวม 1
ล้านตัน/ปี
โดยก่อนหน้านี้ กลุ่มบริษัท JC Service จำกัด ประเทศญี่ปุ่น หรือ กลุ่ม JCS ได้ลงนามร่วมลงทุน กับ บริษัท
นัมเบอร์ไนน์ กรีนพาวเวอร์ จำกัด เพื่อผลิต Wood Pellet ขนาด
700 ตัน/วัน ใน จ.พังงา
ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ล่าสุด กลุ่ม JC Service ได้ลงนามร่วมลงทุนกับบริษัทเพิ่มเติมอีก
3 บริษัท คือ 1. Number Nine Corporation Co.,Ltd.
(จ.สุราษฎร์ธานี), 2. Energy Bright Co.,Ltd. (จ.ชลบุรี) และ 3. NK Discovery Co.,Ltd. (จ.กระบี่)
รวมกำลังผลิต 3 โรงงาน 1 ล้านตัน/ปี
- Advertisement -
ญี่ปุ่นมีเป้าหมายการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลมากกว่า
5 GW โดยกลุ่ม JCS
ได้รับใบอนุญาตให้ผลิตไฟฟ้าขนาด 50 MW จำนวน 20
โรงงาน กำหนดเริ่มเดินเครื่อง ปี ค.ศ. 2019 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างโรงงานผลิต Wood Pellet จำนวน 20 โรงงาน กำลังผลิตประมาณโรงงงานละ 250,000
ตัน/ปี
โดยจะพิจารณาจากศักยภาพของวัตถุดิบที่ยั่งยืนตลอดอายุ 20 ปี
เป็นสำคัญ
แต่เนื่องจากยางพารามีรอบโค่น 25 ปี
ซึ่งจะเกิดความเสี่ยงด้านวัตถุดิบในระยะยาว จึงมีการลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านการจัดการวัตถุดิบ รวมถึงการวิจัย
พัฒนาทั้งด้านการปรับปรุงพันธุ์
การหารูปแบบการส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การปลูกร่วมกับสวนยางพาราที่มีอายุ 1- 5 ปี
รวมถึงการปลูกเป็นสวนป่าเป็นต้น
รวมไปถึงการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามแนวทางมาตรฐานระดับสากล
โรงไฟฟ้าชีวมวลสามารถแก้ปัญหาพลังงานในญี่ปุ่นและเป็นพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานด้านอื่น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกต้นไม้และมีการใช้ประโยชน์จากไม้ที่คุ้มค่าที่สุด
ภายใต้ระบบการจัดการที่ยั่งยืนตามมาตรฐานนานาชาติ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ
ภายใต้ระบบการจัดการที่ยั่งยืน ตามแนวทางมาตรฐาน FSC (Forest Stewardship Council) ตลอดอายุสัญญา 20
ปี ซึ่งประเทศญี่ปุ่นต้องการสร้างความเชื่อมั่นที่จะให้มีวัตถุดิบไม้ป้อนโรงไฟฟ้าที่มั่นคง
โครงการดังกล่าวนี้
จะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร โดยเฉพาะชาวสวนยางพารา ซึ่งจะทำให้ไม้ยางพารา
มีราคาสูงขึ้น ที่สำคัญสามารถขายได้ทุกส่วน จนถึงตอราก นอกจากนี้ การเข้าสู่ระบบการรับรอง FSC ก็จะทำให้น้ำยาง
ได้รับการรับรอง FSC ไปด้วย
advertivsing
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น