เนื่องจากที่ผ่านมา หลายหน่วยงานมีความต้องการจะใช้ยางภายในประเทศ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องของมาตรฐาน การจัดซื้อ จึงไม่สามารถดำเนินการได้ ขณะเดียวกันแต่ละหน่วยงานไม่ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้ จึงจำเป็นต้องการมีการจัดประชุมในครั้งนี้ เพื่อทบทวนหารือร่วมกัน
โดยมีการสรุปการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ
ปีงบประมาณ มีจำนวน 9 หน่วยงานยื่นความจำนงใช้ยางพารา
ได้แก่
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงคมนาคม
4. กระทรวงศึกษาธิการ
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. กระทรวงสาธารณสุข
7. กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
8. กระทรวงมหาดไทย
9. กรุงเทพมหานคร
มีการใช้ยางพารา รวมปริมาณน้ำยางข้น 22,321.54 ตัน
และยางแห้ง 2,952.66 ตัน หรือรวม 25,274.2 ตัน(จากเดิม น้ำยางข้น 20,964.80 ตัน ยางแห้ง 3,512.07
ตัน ณ วันที่ 29 มิ.ย. 60) รวมเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1.69 หมื่นล้านบาท
Advertising
ส่วนปี 2561 มี 5 หน่วยงานที่ยื่นความจำนงใช้ยางพารา ได้แก่
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงคมนาคม
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวะล้อม
5 กรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตาม
ได้สั่งการเพิ่มเติมให้หน่วยงานอื่นๆ ดำเนินการเพิ่มมากขึ้น
พร้อมทั้งตั้งงบประมาณโดยใช้งบปกติของแต่ละหน่วยงาน
และแจ้งข้อมูลภายในวันศุกร์หน้า ต่อไป
ทั้งนี้ ในระยะยาวได้สั่งการให้นำเอาเรื่องถนนยางพาราดินซีเมนต์ไปศึกษาในทุกหน่วยงานที่จะเกี่ยวข้องกับการทำถนน เพราะถนนดินซีเมนต์นี้จะนำไปใช้ในเรื่องของการทำซับเบส คือส่วนของด้านล่างของตัวชั้น ไม่ใช่ชั้นผิวถนน ซึ่งทุกผิวถนนสามารถใช้ซับเบสนี้ได้ เพราะสามารถเพิ่มปริมาณได้ถึง 12 ตัน นอกจากนี้ กรมชลประทานได้ดำเนินการทดสอบแล้ว 6 เดือนผลการทดสอบใช้ได้ถึง 18 ตัน ต่อ 1 กิโลเมตร
ทั้งนี้ ในระยะยาวได้สั่งการให้นำเอาเรื่องถนนยางพาราดินซีเมนต์ไปศึกษาในทุกหน่วยงานที่จะเกี่ยวข้องกับการทำถนน เพราะถนนดินซีเมนต์นี้จะนำไปใช้ในเรื่องของการทำซับเบส คือส่วนของด้านล่างของตัวชั้น ไม่ใช่ชั้นผิวถนน ซึ่งทุกผิวถนนสามารถใช้ซับเบสนี้ได้ เพราะสามารถเพิ่มปริมาณได้ถึง 12 ตัน นอกจากนี้ กรมชลประทานได้ดำเนินการทดสอบแล้ว 6 เดือนผลการทดสอบใช้ได้ถึง 18 ตัน ต่อ 1 กิโลเมตร
ในส่วนของถนนลาดยาง
หากชำรุดจะต้องมีการซ่อมแซมโดยจะนำยางพาราในโครงการที่ กยท.ดำเนินการรวบรวมไว้ไปใช้
ซึ่งจะเริ่มรับมอบยางตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม นี้เป็นต้นไป
ส่วนอีกถนนหนึ่งก็คือถนนทางลูกรัง
ประมาณ 1,800
กิโลเมตร
ซึ่งกรมชลประทานกำลังทำการศึกษาวิจัยอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
โดยจะทราบผลการวิจัยเดือนตุลาคมนี้ หากจะนำผลการวิจัยไปขยายผล โดยการเอาดินลูกรังที่ผสมปูนซีเมนต์และน้ำยางข้นบดอัดลงไป
ซึ่งใช้น้ำยางพาราประมาณ 18 ตันต่อกิโลเมตร
จะเป็นการช่วยพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางได้ โดยเบื้องต้นจะรับมอบยางจาก กยท. ประมาณ 100
ตัน
Advertising
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น