ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

5 เสือ + กยท. ตั้ง บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด เขย่าตลาดโลก

บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด เตรียมเดินหน้าเข้าลงทุนซื้อยางทั้งในตลาดซื้อขายยางจริงจากตลาดกลางของ กยท.ทั้ง 6 แห่ง รวมถึงตลาดซื้อขายล่วงหน้าผ่านทางตลาด TFEX ในต้นสัปดาห์หน้า ขับเคลื่อนสร้างเสถียรภาพราคายาง        

ผู้ส่งออกยางรายใหญ่ 5 บริษัท และการยางแห่งประเทศไทย เดินหน้าร่วมกันจัดตั้ง บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ทำหน้าที่บริหารกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายางที่มีเงินอยู่ 1,200 ล้านบาท โดยมี กยท. และบริษัทผู้ส่งออกเอกชนรายใหญ่ของประเทศทั้ง 5 บริษัท ได้แก่
บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน)
บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด
บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
และบริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด เป็นผู้ถือหุ้น 


ล่าสุด ได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรก เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการและการบริหารจัดการกองทุน พร้อมกับมีมติเห็นชอบร่วมกันให้กองทุนฯ เข้าลงทุนซื้อยางทั้งในตลาดซื้อขายยางจริงจากตลาดกลางทั้ง 6 แห่งของ กยท. ที่รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางอยู่แล้ว ได้แก่ หนองคาย บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา และจะมีการซื้อขายผ่านทางตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า TFEX โดยจะเริ่มดำเนินการได้ในต้นสัปดาห์หน้า เพื่อผลักดัน และรักษาให้ราคายางอยู่ในระดับที่เหมาะสม

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า กองทุนรักษาเสถียรภาพราคายางได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง คือ เริ่มมีการจัดตั้งกองทุน มีการประชุมหารือถึงข้อกำหนดการดำเนินงาน รวมไปถึงการกำหนดวันที่จะเข้าซื้อยาง ซึ่งจะเริ่มในสัปดาห์หน้า โดยเป็นการซื้อขายยางพาราจากเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผ่านตลาดกลางยางพาราของ กยท. และขณะเดียวกันจะมีการซื้อขายยางในตลาดล่วงหน้า TFEX เพื่อสะท้อนราคาในตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกันเป้าหมายคือเพื่อให้เกิดเสถียรภาพราคายาง และทำให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยางดีขึ้น

ไชยยศ สินเจริญกุล กรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การดำเนินงานครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ โดยเฉพาะมี กยท. เป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมแปรรูปยางขั้นกลางเพื่อการส่งออกมีความเข้มแข็งขึ้นมา และส่งผลไปยังผู้ผลิตต้นน้ำ ซึ่งเป็นเกษตรกรชาวสวนยางจะสามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการทำงานของกองทุนเป็นอย่างไร ผลที่จะเกิดขึ้นแก่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเกษตรกรจะเป็นอย่างไร

คาดว่าน่าจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของราคาโดยเฉพาะในตลาดล่วงหน้า เช่น ญี่ปุ่น จีน หรือสิงคโปร์ ซึ่งคิดว่า ต่อไปนี้ประเทศไทยน่าจะเทียบเท่ากับประเทศเหล่านี้ได้ เพราะความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการสร้างศักยภาพของประเทศเพื่อให้ต่างประเทศเข้าใจว่ากระบวนการห่วงโซอุปทาน (Supply chain) และห่วงโซ่คุณค่า (Valued Chain) ของไทยก็มีบทบาทหนึ่งในนั้นด้วย

อย่างน้อยเสียงเราก็ดังทำให้รู้ว่าไทยก็มีตัวตนอยู่ เพราะไทยเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีพืชผลทางการเกษตรออกจากสวนที่จะนำไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์หรืออุตสาหกรรมยางพาราอื่นๆ ต่อไป แต่หากมีการเอาเปรียบทางราคา ก็จะส่งผลดีต่อวัตถุดิบได้ในอนาคต” ไชยยศ กล่าว 
กรกฎ กิตติพล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยฮั๊วยางพารา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ข้อดีของการรวมกลุ่มกันครั้งนี้ สิ่งแรกคือ ความร่วมมือกันระหว่างเอกชนที่ส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทย และรัฐบาลที่ร่วมมือกันในการช่วยเหลือทำให้ยางพารามีราคาที่สูงขึ้น ถือว่าเป็นความสามัคคีที่เป็นรูปธรรมแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางได้เกิดความสบายใจ และเชื่อมั่นได้ว่า ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อช่วยเหลือเรื่องราคายางให้สูงขึ้น พร้อมกับมีความตั้งใจแน่วแน่ในการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอย่างแท้จริง

รวมไปถึงการร่วมนำเงินลงในกองทุนฯ โดยไม่หวังในเรื่องของผลกำไร คิดเพียงแต่ต้องการให้ราคายางสูงขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกัน จะเป็นการสื่อสารให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยสามารถเป็นเบอร์หนึ่งเรื่องของยางพาราได้ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้ทั้งโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรหรือผู้ประกอบกิจการ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เราในฐานะผู้ถือหุ้นในกองทุนฯ จะเร่งทำงานให้เกิดผลสำเร็จให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยเกษตรกร และช่วยราคายางพาราให้ดีและสูงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพราคายางให้คงที่ ไม่กลับไปสู่จุดที่ราคาตกต่ำอีกครั้ง


advertivsing
สนใจลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม