จากกรณีที่ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ปรับอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
(เงิน CESS) แบบขั้นบันได ตามราคายาง (ปัจจุบันจัดเก็บ 1.40
บาท/กก.) มาจัดเก็บในอัตราคงที่ กก.ละ 2 บาท มีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคม 2560 โดยให้เหตุผลว่า
เพื่อสร้างประโยชน์ในการเดินหน้าพัฒนายางพาราทั้งระบบ
ขณะที่ฝั่งแกนนำเกษตรกรมองว่าการจัดเก็บเงิน CESS
เพิ่ม เป็นการซ้ำเติมชาวสวนยางในภาวะที่ราคายางตกต่ำ
เพราะแม้กฎหมายจะเขียนว่า จัดเก็บจากผู้ส่งออก
แต่ในความเป็นจริงผู้ส่งออกผลักภาระส่วนนี้ซ่อนไว้ในราคายางที่ซื้อจากเกษตรกร
ลองมาดูเหตุผลการจัดเก็บเงิน CESS อัตราใหม่ของ กยท.
และคำชี้แจงของ สยยท.
━━━━━━━━━━━━━━━━
กยท. ชี้แจง 4 เหตุผล ต้องเก็บเงิน CESS
อัตราคงที่ 2 บาท/กก.
━━━━━━━━━━━━━━━━
ดร.ธีธัช สุขสะอาด
ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวชี้แจงว่า ที่ผ่านมาระบบการจัดเก็บอัตรา ค่าธรรมเนียมฯ
เดิมเป็นแบบขั้นบันได อาจส่งผลให้เกิดการบิดเบือนกลไกด้านราคา
เพราะอัตราค่าธรรมเนียมฯ จะผันตามระดับราคาในแต่ละช่วงเวลา โดยมี 4 เหตุผลหลักต่อการจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ในอัตราคงที่
2. กรณีอัตราการจัดค่าธรรมเนียมแบบคงที่ จะลดแรงจูงใจในการลักลอบส่งออกยางผิดกฎหมาย
ทำให้ รายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมสามารถทำได้เต็มประสิทธิภาพ
3. การยางแห่งประเทศไทย จะสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯ
จากผู้ส่งออก เข้ากองทุนพัฒนายางพารา เพื่อ นำมาจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและส่งเสริมสวัสดิการให้กับเกษตรกรชาวสวนยางเพิ่มขึ้น
4. เป็นแรงจูงใจไม่ให้มีการบิดเบือนราคาในการเข้าประมูลซื้อยางในตลาดซื้อขายจริงและซื้อขายล่วงหน้า
โดยผู้ประกอบการจะทราบต้นทุนที่แน่นอนจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมคงที่
ส่งผลให้การเปิดราคาประมูลยางที่สูงขึ้น ได้โดยที่ไม่ต้องกังวลเมื่อราคายางสูงขึ้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งยางออกมากขึ้น
ดังนั้น
จึงได้มีการทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งยางออกนอกราชอาณาจักรใหม่ โดยจัดเก็บแบบ
คงที่ ซึ่งส่งผลดีต่อผู้มีส่วนได้เสียกับยางพาราทั้งระบบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรชาวสวนยางอย่างแน่นอน
Advertising
━━━━━━━━━━━━━━━━
สยยท. วอน ทบทวนเก็บเงิน CESS เพิ่ม อย่าซ้ำเติมชาวสวนยาง
━━━━━━━━━━━━━━━━
อุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
(สยยท.) มีมติชี้แจงทั้ง
4 ข้อ ของ กยท. ดังนี้
1.ในการจัดเก็บเงิน Cess
จะทำให้เพิ่มภาระต่อเกษตรกรต้นน้ำตาม
พ.ร.บ.กยท.มาตรา.47 บุคคลใดส่งออกยางพารานอกราชอานาจักรจะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ กยท.
ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ว่าจะอยู่ต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำจะต้องได้รับเงินลดลง
แน่นอนกลางน้ำหรือปลายน้ำจะต้องมาหักจากผู้ผลิตต้นน้ำอย่างแน่นอน ซึ่งไม่มีทางหลีกเลี่ยง
จากประสบการณ์ที่เก็บค่าธรรมเนียมแบบขั้นบันไดพ่อค้าที่ซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรงจะนำเงิน
Cess เป็นข้ออ้างในการหักเงิน
2. กรณีอัตราการจัดเก็บ
Cess แบบคงที่จะลดแรงจูงใจในกรณีลักลอบส่งออกยางผิดกฎหมาย
ในการอ้างแบบคงที่ ทำไมจะต้องเก็บ 2.00 บาท/กก. ทำไมไม่เก็บ 1.40 บาท/กก เท่ามาเลเซีย
ซึ่งก็เก็บในอัตราคงที่เหมือนกัน และถ้าเก็บเท่ากับมาเลเซียการลักลอบก็จะหมดไปทันที
เพราะการลักลอบหนีโดยไม่ยอมเสีย Cess ชายแดนมาเลเซียมีมากที่สุด และโดยเฉพาะผู้ปลูกยางทั่วโลกเขาไม่เก็บ
Cess คงมี แต่ไทย มาเลเซีย และอินเดีย 3 ประเทศเท่านั้น ในปัจจุบันราคายางตกต่ำอินเดียงดเก็บ
Cess เพื่อเขาช่วยเหลือเกษตรกรของเขา
แต่ของไทยเราไม่งดเก็บเพิ่มจาก 1.40 บาท/กก. เป็น 2.00 บาท/กก. ในสภาวะที่เกษตรกรขายยางต่ำกว่าทุนการผลิต
ดังนั้น กยท. ควรจะเสนองดเก็บ Cess ชั่วคราวก่อนตามมาตรา 47 (2)
4. การจัดเก็บค่าธรรมเนียมคงที่ผู้ประกอบการจะคำนวณต้นทุนได้แน่นอน
ซึ่งไม่เกี่ยวกับขายตลาดล่วงหน้าหรือตลาดซื้อจริงขายจริง เหตุผลเพราะอินโดนีเซีย ซึ่งมียางเป็นอันดับสองของโลกเขาไม่เก็บค่าธรรมเนียมย่อมได้เปรียบประเทศไทยอยู่แล้ว
ดังนั้น สยยท. จึงขอให้
กยท. ทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในช่วงที่ราคายางตกตำโปรดอย่าซ้ำเติมเกษตรกร
แต่เราต้องการให้มีการปฏิบัติงานที่ดีมีคุณภาพ
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยึดหลักการมีธรรมาภิบาล
ของ กยท. และทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องและเรามีข้อเสนอแนะนำในวิธีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมส่งออกยางในแบบอัตราคงที่แบบก้าวหน้า โดยเริ่มจัดเก็บจากราคายาง
ของ กยท. และทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องและเรามีข้อเสนอแนะนำในวิธีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมส่งออกยางในแบบอัตราคงที่แบบก้าวหน้า โดยเริ่มจัดเก็บจากราคายาง
ส่วนที่สูงกว่าต้นทุนการผลิตที่ชาวสวนยางสามารถจะขายยางได้แบบไม่ขาดทุน เพื่อที่ชาวสวนยางจะได้ไม่ต้องรับภาระ อยู่เพียงฝ่ายเดียวและให้งดเก็บเมื่อราคายางต่ำกว่าต้นทุนการผลิตซึ่งเกษตรกรชาวสวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น