ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ปล่อยสินเชื่อ 30 บริษัท วงเงิน 9,600 ล้านบาท กระตุ้นอุตสาหกรรมยาง

Kick off โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยางวงเงิน 10,000 ล้านบาท ด้านผู้ประกอบการตบเท้าเข้าร่วมโครงการ กว่า 30 บริษัท 49 โรงงาน วงเงินกู้รวม 9,600 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้สามารถดูดซับยางออกจากระบบได้ ซึ่งจะช่วยยกระดับราคาให้สูงขึ้นเป็นการสร้างเสถียรภาพด้านราคายาง

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องกับยางพารามากถึงร้อยละ15 ของประชากรไทย และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางผันผวนให้เกิดเสถียรภาพด้านราคามากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาราคายางให้กับเกษตรกรชาวสวนยางผู้ผลิตได้ โดยทางรัฐบาล ได้ให้ความสำคัญในแก้ไขปัญหาราคายาง จึงได้อนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง หวังดูดซับยางออกจากระบบ ซึ่งจะช่วยยกระดับราคาให้สูงขึ้น เป็นการสร้างเสถียรภาพด้านราคายาง ซึ่งผู้ประกอบกิจการยางสามารถรับซื้อผลผลิตไปแปรรูปเป็นยางประเภทต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป 

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  โครงการนี้ กำหนดระยะเวลาโครงการตั้งแต่ พฤษภาคม 2560 – เมษายน 2562 และระยะเวลาในการอนุมัติวงเงินกู้จนสิ้นสุดการชำระเงินกู้ตามโครงการฯ 1 ปี ไม่เกิน 30 เมษายน 2562 โดยรัฐบาลจะสนับสนุนการชดเชยดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 3 กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ หรือคิดเป็นเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 300 ล้านบาท จากวงเงินกู้ หมื่นล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการโดยใช้แหล่งสินเชื่อวงเงินกู้เดิมจากธนาคารพาณิชย์ที่ผู้ประกอบการใช้บริการอยู่แล้ว

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อฯ 10,000 ล้านบาท จะเป็นผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้นที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 35 บริษัท 49 โรงงาน วงเงินกู้รวมประมาณ 9,600 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้ จะสามารถดูดซับยางออกจากระบบประมาณร้อยละ 20 ของผลผลิตน้ำยางข้น เป็นการผลักดันราคายางให้สูงขึ้นโดยใกล้เคียงหรือสูงกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกรชาวสวนยาง และรักษาเสถียรภาพราคายางไม่ให้เกิดความผันผวนมากเกินจุดวิกฤต” ผู้ว่าการ กยท. กล่าวเพิ่มเติม
นายชัยพจน์ เรืองวรุณวัฒนา นายกสมาคมน้ำยางข้นไทย กล่าวว่า โครงการนี้ ทำให้เกิดความร่วมมือสามประสานระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง และรัฐบาลในการร่วมกันแก้ไขปัญหาราคายาง ซึ่งผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้นที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องยื่นขอรับการสนับสนุนสินเชื่อที่ กยท. เพื่อรวบรวมคำขอส่งให้ธนาคารที่ให้การสนับสนุนสินเชื่อต่อไป โดยแหล่งสินเชื่อใช้วงเงินกู้เดิมจากธนาคารพาณิชย์ที่ผู้ประกอบการใช้บริการอยู่แล้ว และรัฐบาลจะเงินชดเชยดอกเบี้ยสนับสนุนในอัตราไม่เกินร้อยละ 3 จำนวนไม่เกิน 300 ล้านบาทจากวงเงินกู้รวม 10,000 ล้านบาท 

คาดว่า จะสามารถเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อฐานของราคายางปรับสูงขึ้นเกษตรกรชาวสวนยางมีอำนาจการใช้จ่ายมากขึ้น จะสร้างวงจรเศรษฐกิจให้เคลื่อนไหวได้รับประโยชน์กันในทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยต่อไป

advertivsing


ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม