การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
แนะเกษตรกรชาวสวนยาง เฝ้าระวัง โรคใบร่วง หรือไฟทอปธอราในช่วงหน้าฝน แนะไม่ควรปลูกยางพันธุ์ที่อ่อนแอ
เช่น RRIM 600 ย้ำเกษตรกรต้องดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ป้องกันการระบาดจากต้นสู่ต้น
ช่วงฤดูฝน ถือเป็นช่วงที่เชื้อรา ไฟทอปธอรา (Phytophthora) หรืออีกชื่อคือ “โรคใบร่วง” มักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะกับสวนยางพารา
เชื้อราไฟทอปธอราจะเข้าทำลายส่วนต่างๆ
ของต้นยางได้แก่ ฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ
ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ
และที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลงถ้าเชื้อราไฟทอปธอราระบาด ทำให้ใบร่วงมากกว่า 20% และหากปล่อยให้โรคระบาดโดยไม่มีการควบคุมใบจะร่วงถึง
75% ส่งผลให้ผลผลิตลดลง 30-50%
ด้านลักษณะอาการเกษตรกรสามารถสังเกตอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อ มักมีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่
ด้านลักษณะอาการเกษตรกรสามารถสังเกตอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อ มักมีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่
การเข้าทำลายที่ก้านใบนี้เองเป็นผลทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่
เนื่องจากเชื้อสร้างเนื้อเยื่อ abscission
layer เมื่อนำมาสะบัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่าย
บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบ หรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำ
ขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง
ทั้งนี้เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
สภาพอากาศเหมาะสมต่อการเติบโตของเชื้อราไฟทอปธอรา พันธุ์ยางที่ปลูกอ่อนแอ
ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อนี้สามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ
ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก
ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ
กลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา
สำหรับความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตก รวมถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ อยู่ระหว่าง 25-28 องศา เชื้อนี้ต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก มีความชื้นสูงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 4 วัน เช่นหน้าฝน หรือมีน้ำท่วมขัง และมีแสงแดดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ต่อวัน
สำหรับความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตก รวมถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ อยู่ระหว่าง 25-28 องศา เชื้อนี้ต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก มีความชื้นสูงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 4 วัน เช่นหน้าฝน หรือมีน้ำท่วมขัง และมีแสงแดดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ต่อวัน
ดร.ธีธัช สุขสะอาด
ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า วิธีการป้องกันเชื้อไฟทอปธอรา
เกษตรกรควรปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค เช่น RRIT 251 และ RRIT
408 ในเขตและแหล่งปลูกยางที่ระบาดของโรค และไม่ควรปลูกยางพันธุ์ที่อ่อนแอ
เช่น RRIM 600 หมั่นกำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยาง
ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง
เมื่อพบโรคให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-AI ทาที่หน้ากรีดเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ เนื่องจากเป็นเชื้อเดียวกัน
ต้นยางใหญ่ที่เกิดใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมด ควรหยุดกรีดยาง
และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์
- Advertisement -
advertivsing
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น