การปลูกไผ่เสริมรายได้ในสวนปาล์ม (จากการสังเกต ทดลองทำ และเก็บข้อมูล) โดย สวนไผ่อาบู
ว่ากันว่า การปลูกไผ่ในสวนยางสามารถทำได้...!
เพราะ “ไผ่” กับ “ยาง” มีระบบรากลึก ตื้น ต่างกัน...
แต่ถ้าเป็นไผ่ในสวนปาล์มนั้นทำไม่ได้…! เพราะ “ไผ่” และ “ปาล์ม”
มีระบบรากตื้นเหมือนกัน...หากปลูกร่วมกันก็จะเกิดการแย่งอาหารกัน
มาวันนี้...ผมจึงขอนำข้อมูลเชิงประจักษ์
อันเกิดจากการทดลองทำจริงที่สวนของเรามาให้ดูว่า การปลูกไผ่ในสวนปาล์มเป็นเรื่องที่สามารถทำได้…!
และเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลง่ายๆ ดังต่อไปนี้
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
1. มองในแง่ของระบบรากและการดูดกินธาตุอาหาร
การดูดกินธาตุอาหารของพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ หากินที่ระดับรากตื้นเหมือนกันก็จริง
แต่หากินธาตุอาหารหลักคนละตัวกัน
- ปาล์ม ต้องการธาตุโพเทสเซียม
(K) เป็นหลัก เพื่อใช้สร้างทะลาย
- ไผ่ ต้องการไนโตรเจน (N) เป็นหลักเพื่อใช้ในการสร้างหน่อ
- ไผ่ ต้องการไนโตรเจน (N) เป็นหลักเพื่อใช้ในการสร้างหน่อ
เพราะฉะนั้นเราจึงหมดกังวลเรื่องการแย่งปุ๋ยไปได้เลย
เพราะเขาดูดกินธาตุอาหารหลักต่างกัน
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
2. มองในแง่ของการเกื้อกูล
หากเราจะพิจารณาในแง่ของการเกื้อกูล
อาจจะแยกออกได้เป็น 3 เรื่องหลักๆ
2.1 ไผ่เป็นเสมือน “โรงงานผลิตปุ๋ย” อย่างดี
โดยเฉพาะการผลิตธาตุแคลเซียมให้กับปาล์ม
เนื่องจากในใบไผ่ที่ร่วงลงดิน อุดมไปด้วยธาตุแคลเซียมและการทับถมกันของใบไผ่จะเกิดเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์
และ สัตว์หน้าดิน เมื่อเกิดการทับถมมากๆ ก็จะเกิดการย่อยสลายเป็นดินขุยไผ่
ซึ่งเป็นปุ๋ยอย่างดีให้กับต้นปาล์ม และ พืชต่างๆ
2.2 ไผ่เป็นเสมือน “ถังเก็บน้ำ” ไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง
คุณสมบัติเด่นของไผ่ที่คนส่วนใหญ่มองข้าม
คือ ไผ่เป็นพืชที่เปรียบเสมือน “ฟองน้ำ” ที่คอยดูดซับน้ำ ส่วนต่างๆ
ของไผ่ทั้ง ราก ลำต้น กิ่ง ใบ คือภาชนะเก็บซับน้ำอย่างดี
ว่ากันว่าไผ่หนึ่งกอสามารถเก็บซับน้ำในยามหน้าฝนไว้ได้ประมาณ
500 ลิตร
และในขณะเดียวกันเราต่างรู้กันดีว่า ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำในการให้ผลผลิตเยอะมาก โดยเฉพาะในยามหน้าแล้ง การปลูกไผ่กระจายไว้ในสวนปาล์ม จึงเป็นเสมือนการกระจาย “ถังน้ำ” ให้ต้นปาล์มได้เอามาใช้ในยามหน้าแล้งนั่นเอง
และในขณะเดียวกันเราต่างรู้กันดีว่า ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำในการให้ผลผลิตเยอะมาก โดยเฉพาะในยามหน้าแล้ง การปลูกไผ่กระจายไว้ในสวนปาล์ม จึงเป็นเสมือนการกระจาย “ถังน้ำ” ให้ต้นปาล์มได้เอามาใช้ในยามหน้าแล้งนั่นเอง
2.3 ไผ่เป็นแหล่งที่อยู่ของไตรโคเดอร์มา
ปัญหาอีกข้อที่มักพบในสวนปาล์ม คือ ปัญหาทะลายเน่า อันเนื่องมาจากเชื้อรา ซึ่งในปัจจุบันการแก้ปัญหาเชื้อราก็จะใช้การขยายเชื้อไตรโคเดอร์มา
แล้วนำมาฉีดพ่น หรือ นำมาใส่ในสวนปาล์ม
แต่ถ้ามีไผ่ในสวนปาล์มก็เท่ากับเราสร้างบ้านให้เชื้อไตรโคเดอร์มาได้มีที่อยู่แบบถาวร
เมื่อมีไตรโคเดอร์มาในสวนปัญหาทลายเน่าก็จะค่อยๆ ลดน้อยลง..!
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ถ่าน “ไบโอชาร์” จากลำไผ่ |
3. มองในด้านของต้นทุนและการเสริมรายได้
3.1 ด้านของการลดต้นทุน...!
การปลูกไผ่ในสวนปาล์มนอกจากผลที่ได้จากการเกื้อกูล
เรายังได้ในเรื่องของการลดต้นทุนอีกด้วย เพราะเมื่อไผ่โตตั้งกอ สวนจะร่มรื่น หญ้าต่างๆ
ก็จะเติบโตได้ช้าลง เป็นการประหยัดค่าตัดหญ้าไปในตัว
3.2 ด้านของการเสริมรายได้
ไผ่เป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน
นั่นหมายความว่า...เราจะเอาส่วนไหนของไผ่มาทำให้เกิดรายได้ย่อมทำได้ไม่ยาก เช่น
การขายหน่อไม้ การขายต้นพันธุ์ การขายลำไผ่ การขายกระบอกข้าวหลาม การเผาถ่าน “ไบโอชาร์”
จากลำไผ่ การขาย “น้ำแร่” จากไผ่ การทำชาใบไผ่ และ การทำดินขุยไผ่ขาย
เป็นต้น
จากที่กล่าวมาข้างต้น
ยังคงค้างเอาไว้ประเด็นเดียว ที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง คือ การปลูกไผ่ในสวนปาล์มมีผลกับการให้ผลผลิตทลายปาล์มหรือไม่
ประเด็นนี้ผมเริ่มเก็บข้อมูลมาแล้ว 3 ปีเริ่มต้นเก็บข้อมูล ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2557 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.50 ตัน/ไร่/ปี
ปี พ.ศ. 2558 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.05 ตัน/ไร่/ปี (ลดลงเล็กน้อยเพราะปี 58 แล้งจัด...!)
ปี พ.ศ. 2559 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4 ตัน/ไร่/ปี
ปี พ.ศ. 2558 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4.05 ตัน/ไร่/ปี (ลดลงเล็กน้อยเพราะปี 58 แล้งจัด...!)
ปี พ.ศ. 2559 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4 ตัน/ไร่/ปี
จากการเก็บข้อมูลผลผลิตมา 3 ปี
ผมบอกได้เลยว่า...การปลูกไผ่ในสวนปาล์มไม่ส่งผลกระทบด้านลบกับการให้ทลายของต้นปาล์ม...!
ทั้งนี้ทั้งนั้น การให้ผลผลิตของต้นปาล์ม...!
และ การให้ผลผลิตของไผ่...! จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับการจัดการสวนอย่างถูกวิธี...! เพื่อให้เขาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูล
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
1. ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการแสงในการให้ผลผลิต...!
การปลูกไผ่ในสวนปาล์มต้องคอยควบคุมความสูงของกอไผ่ ให้อยู่ระดับต่ำกว่าทรงพุ่มของต้นปาล์มเสมอ
2. การปลูกไผ่ในสวนปาล์มเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความเข้าใจเชิงลึก...!
ผู้ปลูกต้องศึกษาข้อมูลจนเกิดความเข้าใจก่อนลงมือ ไม่อย่างนั้นการปลูกไผ่ในสวนปาล์มจะส่งผลด้านลบต่อการให้ผลผลิตของต้นปาล์ม
และจะเป็นปัญหาตามมาภายหลังได้
3. ไผ่เป็นพืชที่เติบโตไวมาก...!
การปลูกไผ่เสริมรายได้ในสวนปาล์มจะทำแบบปล่อยปะละเลยไม่ได้...! ไม่อย่างนั้นไผ่จะพุ่งยอดสูง
ขึ้นไปแย่งแสงต้นปาล์ม
สวนไผ่อาบู หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับเจ้าของสวนปาล์มทุกท่านที่กำลังมองหาพืชมาปลูกเสริมรายได้ในสวนปาล์มของตัวเองนะครับ
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ปัจจุบัน บุญชู คือผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกไผ่ในสวนยางและสวนปาล์ม มีรายได้หลายทาง ซึ่งมากกว่าเงินเดือนวิศวกร และยังกลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการปลูกไผ่ที่มีชื่อเสียงของ จ.พังงา มีคนเข้าไปศึกษาดูงานไม่ขาดสาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สวนไผ่ อาบู
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
สวนไผ่อาบู ตั้งอยู่ใน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดย บุญชู สิริมุสิกะ ชายหนุ่มที่ทิ้งอาชีพวิศวกรในเมืองหลวง กลับสู่บ้านเกิด ที่มีรากฐานอาชีพจากสวนยางและสวนปาล์ม แน่นอนว่าเป้าหมายของเขาไม่ใช่อยู่ที่เงินทอง หากแต่แสวงหาความยั่งยืนและความสุข
ปัจจุบัน บุญชู คือผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกไผ่ในสวนยางและสวนปาล์ม มีรายได้หลายทาง ซึ่งมากกว่าเงินเดือนวิศวกร และยังกลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการปลูกไผ่ที่มีชื่อเสียงของ จ.พังงา มีคนเข้าไปศึกษาดูงานไม่ขาดสาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สวนไผ่ อาบู
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น