การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดีจากแปลงของเกษตรกรโดยตรง
โดยใช้หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมหรือ Good
Agricultural Practices (GAP) เริ่มตั้งแต่การดูแลสวนยางก่อนและหลังเปิดกรีด
การกรีดยางที่ถูกวิธี การผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี รวมทั้งการขนส่งยางก้อนถ้วยไปยังจุดรวบรวมยาง
ยางก้อนถ้วย GAP เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพยางเครปและยางแท่งของไทยให้สามารถแข่งขันทางการค้าในตลาดโลกได้
อีกทั้งทำให้เกษตรกรได้รับความไว้วางใจแก่ผู้ใช้ยางและมีอำนาจต่อรองในการซื้อขาย
ยางเครปที่ผลิตจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดีจึงเป็นยางเครปที่มีความสม่ำเสมอของเนื้อยาง
มีสมบัติตามมาตรฐาน GAP ตามข้อกำหนดของฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง
การยางแห่งประเทศไทย เน้นกระบวนการจัดการที่ส่งให้กับโรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โดยตรง
ส่วนยางแท่งที่ผลิตจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี
จึงเป็นยางที่มีสมบัติคงที่สม่ำเสมอเช่นเดียวกันอยู่ในเกณฑ์ยางแท่ง STR 10 ที่ปราศจากสารตกค้างของเกลือซัลเฟต เป็นยางที่มีความยืดหยุ่น ความหนืดสูง
มีความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพและการสึกหรอสูง
👉 มีการรวบกลุ่มของเกษตรกรในการนำยางก้อนถ้วยจำหน่าย ณ
จุดรวบรวมยาง
👉 มีการจัดการสวนยางก่อนเปิดกรีดและหลังเปิดกรีดตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง
การยางแห่งประเทศไทย
👉 ระบบกรีดตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง
การยางแห่งประเทศไทย และผลิตจำนวน 4 มีดกรีด
👉 มีการจัดการแบ่งรอยกรีดครึ่งหน้า หลังและมุมกรีด
ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย
👉 มีการใช้กรดฟอร์มิคในการจับตัวยางก้อนถ้วย
👉 มีระบบการจัดการจัดเก็บและขนส่งโดยมีการป้องกันการหกเรี่ยราดของน้ำเซรั่มจากบริเวณผลิตไปยังจุดรวบรวมยางเป็นอย่างดี
เรื่อง/ภาพ :
ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น