ชาวสวนยางไชยปราการ จ.เชียงใหม่ “พลิกจุดอ่อน” ด้านตลาด
หลังจากมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยาง แต่ห่างไกลตลาดและโรงงาน จึงมักจะขายยางได้ราคาต่ำ
จึงรวมกลุ่มรวบรวมยางก้อนถ้วยจากสมาชิก พร้อมกับทำยางให้มีคุณภาพ สะอาด
ปราศจากสิ่งปลอมปน จนกลายเป็น “แม่เหล็ก” ดึงดูดพ่อค้าเข้ามาซื้อขายด้วยระบบ
“ประมูลยาง”
ทำให้เกษตรกรในพื้นที่
อ.ไชยปราการและใกล้เคียง ขายยางได้ราคาสูงขึ้นกว่าราคาท้องถิ่น 4 บาท/กก.
พร้อมต่อยอดผลิตเป็น “ยางเครป” เพิ่มคุณภาพและราคายาง
Advertising
นัฐพงศ์ นันทิพัฒนกุล ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางไชยปราการ จำกัด กล่าว
เกษตรกรชาวสวนยางไชยปราการเริ่มรวมตัวกันตั้งกลุ่มยกระดับเป็น สหกรณ์กองทุนสวนยางไชยปราการ
จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2555
โดยได้รับความช่วยเหลือจาก กยท. ให้การสนับสนุนและแนะนำการจัดตั้งสหกรณ์
มีเป้าหมาย วัตถุประสงค์และความตั้งใจหลัก
เพื่อรวบรวมผลผลิตยางของเกษตรกรในพื้นที่
เป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคาและดึงดูดพ่อค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อยให้เข้ามาซื้อยางผ่านสหกรณ์
ปัจจุบันมีเกษตรกรชวนสวนยางในพื้นที่เห็นความสำคัญในการรวมกลุ่มกันขายยางให้แก่พ่อค้า
จึงสมัครเข้าเป็นสมาชิก จำนวนประมาณ 250 ราย
ในส่วนการดำเนินงานของสหกรณ์นั้น
จะรวบรวมยางจากสมาชิกและเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ แล้วเสนอปริมาณผลผลิตยางที่รวบรวมได้ทั้งหมดให้กับพ่อค้าและผู้รับซื้อยาง
เพื่อให้เข้ามาประมูลยางของสหกรณ์
เกษตรกรกรชาวสวนยางที่นำยางมาขายผ่านสหกรณ์จะได้ราคาสูงกว่าราคายางในตลาดอื่นๆ
ในพื้นที่ประมาณ 4 บาท/กิโลกรัม
เนื่องจากผลผลิตยางที่รวบรวมเพื่อขายผ่านสหกรณ์มีจุดแข็ง คือ เป็นยางที่มีคุณภาพดี
ไม่มีสิ่งเจือปน แม้แต่เศษใบไม้หรือเศษก้อนหิน
นอกจากนี้
สหกรณ์ได้บริหารจัดการให้ยางก้อนถ้วยได้การพักน้ำ 2 คืน
พ่อค้าจึงมีความเชื่อถือในคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วยของสหกรณ์ จึงยินดีที่จะซื้อยางในราคาที่สูงเพื่อให้ได้ยางที่มีคุณภาพ
“การประมูลยางของสหกรณ์ จัดให้ดำเนินการประมูลยางเดือนละ 2 ครั้ง มียางก้อนถ้วยประมูลผ่านสหกรณ์ ประมาณ 50
- 60 ตัน/เดือน แต่ละเดือนอาจจะมีปริมาณมากน้อยเฉลี่ยกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นประกอบด้วย
เช่น ปริมาณยางที่ออกมาในช่วงแต่ละฤดู
หรือในช่วงต้นฤดูเปิดกรีดยางอาจจะมีปริมาณผลผลิตลดลงในเดือนนั้นนั้นบ้าง”
ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางไชยปราการ จำกัด กล่าว
นัฐพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า
คณะกรรมการสหกรณ์ฯ ได้วางเป้าหมายในการพัฒนาการดำเนินการในอนาคตไว้
โดยจะดำเนินการแปรรูปผลผลิตยางก้อนถ้วยที่ได้จากการรวบรวมผลผลิตยางก้อนถ้วยเป็นยางเครป
เพื่อเพิ่มราคาให้กับผลผลิตยาง ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง
ดังนั้น
การแปรรูปเป็นยางเครปจึงสามารถยืดระยะเวลาในการรอจำหน่ายได้มากกว่า
เบื้องต้นจึงต้องมองหาสถานที่ในการรวบรวมยาง
หาตลาดที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถซื้อขายกันในระยะยาวได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น