สมจิตร์ บรรณจักร์ เจ้าของสวนยางเกษตรผสมผสาน เผยว่า
โดยส่วนตัวมีความสนใจทำเกษตรมาตั้งแต่สมัยหนุ่ม จึงผันตนเองจากข้าราชการสู่เกษตรกรเต็มตัว
ในพื้นที่ 60
กว่าไร่
เขาเริ่มต้นจากทำสวนลิ้นจี่ มาจนถึงสวนส้ม
แต่ประสบปัญหาจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และประกอบกับช่วงปี 2547 – 2549 รัฐบาลมีโครงการปลูกยาง
1 ล้านไร่ จึงหันมาปลูกยางพารา
โดยขอรับการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 2,000
กว่าต้น และลงทุนซื้อเพิ่มอีกประมาณ 2,000 ต้น
ปลูกยางประมาณ 30 ไร่
พร้อมกับสร้างแนวคิดปรับมาทำ “เกษตรผสมผสาน” ได้แก่ ปลูกต้นสัก
มะม่วง และมีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา พร้อมการปลูกไม้ใต้ร่มยาง คือปลูก “กาแฟ”
สายพันธุ์อาราบิก้า เพิ่มเข้ามาด้วย
หลังจากได้ศึกษาแล้วพบว่าการปลูกพืชที่ให้ผลผลิตหมุนเวียนกันในรอบปี
และการเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วย เกิดผลที่ยั่งยืนกว่าการทำการเกษตรเชิงเดี่ยว
ในส่วนของพื้นที่ที่เหลืออีกประมาณ 30 ไร่ ได้ขุดบ่อน้ำเพิ่มเป็น 2
บ่อเพื่อเป็นแหล่งน้ำ และใช้เป็นบ่อเลี้ยงพันธุ์ปลาสวาย ปลานิล
และอีกหนึ่งบ่อหนึ่งเป็นบ่อปลารวมหลายๆ ชนิด โดยใช้เวลาในการเลี้ยงรอบละ 6 เดือน จึงให้พ่อค้ามารับซื้อได้
นอกจากนั้น ยังเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ไว้ประมาณ 20,000 ตัว ให้ไข่วันละ 14,000-15,000 ฟอง ซึ่งจะมีระยะการให้ไข่ได้ 18 เดือน
และยังมีขี้ไก่ที่สามารถขายได้อีกวันละ 40-50 กระสอบ
ส่วนของกาแฟที่เป็นการปลูกในพื้นที่ใต้ร่มยางจำนวน 30 ไร่นั้น
เริ่มมีการเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ปี 2559 รอบการเก็บผลผลิตเฉลี่ย
4 เดือนต่อครั้ง เก็บได้ครั้งละ 800-900 กิโลกรัม ราคาขายที่ 95-100 บาทต่อกิโลกรัม
ก็นับว่ามีรายได้อย่างต่อเนื่องทุกๆ วัน
การปรับแนวคิดจากเกษตรเชิงเดี่ยว มาสู่เกษตรผสมผสาน ยึดตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเกิดจากความเชื่อและความรักในการเป็นเกษตรกร พร้อมทั้งจากการศึกษาหาความรู้มาตลอดชีวิตที่ผ่านมา จึงพบว่าการทำเกษตรที่ยั่งยืน ควรเริ่มจากตัวเกษตรกรเองที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่หวังพึ่งจากผลผลิตชนิดใดหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะการทำเกษตรที่ได้ผลิตหมุนเวียนตลอดปี จะทำได้เกิดรายได้ที่มั่นคั่ง และทำให้ชีวิตมีความมั่นคง อย่างยั่งยืน นายสมจิตร์ กล่าวดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กยท. เดินหน้าผลักดันให้การสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกยางพาราตามนโยบายของรัฐบาล โดยเริ่มจากการปรับกระบวนทัศน์ของเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย หันมาปลูกยางตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางที่มีการโค่นยางพาราแล้วยังปลูกพืชเศรษฐกิจ หรือปลูกยางพารา จะส่งเสริมให้มีการแบ่งสัดส่วนของพื้นที่เป็นการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ไม่ว่าจะเป็นการขุดบ่อ การทำปศุสัตว์ หรือทำปลูกพืชท้องถิ่นอื่นๆ ร่วมด้วยในแปลงสวนยาง เพื่อให้มีรายได้หมุนเวียนตลอด หรือหากมีพื้นที่ปลูกยางพาราอยู่แล้ว กยท.จะส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่น หรือการทำปศุสัตว์ เป็นลักษณะเกษตรแบบผสมผสานควบคู่ด้วย
- advertivsing -
- Advertising -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น