ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

รากเน่า โคนเน่า ในสวนยาง “ปลูกไผ่” ช่วยได้ : เรื่อง สวนไผ่อาบู

ผมจะพามาดูวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา รากเน่าโคนเน่า ที่มักจะเกิดกับแปลงเกษตรที่เป็นพื้นที่ลุ่ม ที่ซับน้ำ

เรามักจะพบเห็นปัญหารากเน่า โคนเน่า ได้บ่อยใน สวนยางพารา สวนผลไม้ โดยเฉพาะสวนทุเรียน เน่าต้นไหนสร้างความเสียหายต้นนั้น และหากไม่ได้รับการแก้ไขการเกิดปัญหาก็จะขยายวงออกไปเรื่อยๆ

สาเหตุหลักของการเกิดโรค เกิดจากเชื้อรา “ไฟทอปธอรา ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเลวที่มักพบอยู่ในบริเวณร้อนชื้น ดินแฉะ ดินที่มีความเป็นกรด

โดยปกติไม่ว่าสวนยาง หรือ สวนผลไม้ที่เป็นโรคนี้ เจ้าของสวนก็มักจะใช้วิธีการขยายเชื้อ “ไตรโคเดอร์มา” แล้วนำมารดบริเวณโคนต้น บ้างก็ผสมมากับมูลสัตว์ที่จะนำมาใส่ให้กับพืชผลต่างๆ แต่ก็ได้ผลน้อย และ ต้องทำสม่ำเสมอ

เจ้าของสวนหลายแปลงจึงหันไปพึ่งพาสารเคมี ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ไม่ควรอย่างมาก เพราะเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ ทำลายสุขภาพตัวเอง และ ทำลายผู้บริโภคทางอ้อม

วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการแก้ปัญหา แบบง่ายๆ Easy ด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด โดยการปลูกไผ่แซมในพื้นที่ที่เกิดปัญหา 
ต้นยางค่อยๆสร้างปลือกใหม่มาทดแทนบริเวณที่เคยเกิดการเน่า

การปลูกไผ่นอกจากสร้างรายได้ ไผ่ยังเป็นที่อยู่ของเชื้อไตรโคเดอร์มา การปลูกไผ่จึงเปรียบเสมือน การสร้างบ้านให้กับไตรโคเดอร์มา

สวนยางแปลงที่ผมปลูกไผ่เป็นพื้นที่ซับน้ำ ต้นยางประมาณ 25% มีปัญหารากเน่าโคนเน่ากระจายทั่วทั้งแปลง แต่ทว่าในช่วง 3-4 ปีมานี้ ตั้งแต่กอไผ่เริ่มโต ผมสังเกตเห็นว่า รอยแผลที่เคยเกิดการเน่าบริเวณโคนต้นลดลงมาก และต้นยางเริ่มสร้างเปลือกใหม่ขึ้นมาซ่อมแซม เหลือต้นยางเพียงไปถึง 5% ที่ยังมีอาการให้เห็นอยู่บ้าง

 ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ไผ่ที่เราปลูกช่วยในเรื่องการดูดซับน้ำจากโคนต้นยางมาเก็บไว้ที่โคนกอไผ่ ทำให้ดินในสวนไม่แฉะจนเกินไป และ ด้วยความที่มีกอไผ่ในสวนเยอะมาก ทำให้เชื้อไตรโคเดอร์มามีปริมาณมากพอ ที่จะช่วยคุมปริมาณของเชื้อราไฟทอปธอรา เป็นการควบคุมโดยธรรมชาติ

การมีไผ่ในสวน เปรียบเสมือนการมีหมอ คอยดูแลสุขภาพต้นยาง 
กองกิ่งไผ่ ดินขุยไผ่เป็นที่อยู่อาศัยของไตรโคเดอร์ม่า
เห็นแบบนี้แล้ว ก็ปลูกไผ่ในสวนยาง สวนผลไม้ และ ปลูกไผ่ในสวนทุเรียน...กันไว้บ้างก็ดีนะครับ จะได้ไม่ต้องมาปวดหัวกับปัญหารากเน่าโคนเน่า

สิ่งสำคัญ ควรเลือกชนิดของไผ่ให้เหมาะกับสวนของตัวเอง  เพื่อที่เราจะได้สามารถต่อยอดนำไผ่มาใช้ประโยชน์ได้อีกทาง

เรื่องโดย : สวนไผ่อาบู
━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━
สวนไผ่อาบู ตั้งอยู่ใน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดย บุญชู สิริมุสิกะ ชายหนุ่มที่ทิ้งอาชีพวิศวกรในเมืองหลวง กลับสู่บ้านเกิด ที่มีรากฐานอาชีพจากสวนยางและสวนปาล์ม แน่นอนว่าเป้าหมายของเขาไม่ใช่อยู่ที่เงินทอง หากแต่แสวงหาความยั่งยืนและความสุข

ปัจจุบัน บุญชู คือผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกไผ่ในสวนยางและสวนปาล์ม มีรายได้หลายทาง ซึ่งมากกว่าเงินเดือนวิศวกร และยังกลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการปลูกไผ่ที่มีชื่อเสียงของ จ.พังงา มีคนเข้าไปศึกษาดูงานไม่ขาดสาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  สวนไผ่ อาบู 

- Advertisement - 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม