วิสาหกิจชุมชนกลุ่มฐานเกษตรยางพารา จ. บุรีรัมย์ ผลิตยางแผ่นรมควัน GMP แห่งแรกของภาคอีสาน
ยางแผ่นรมควันมาตรฐาน GMP เป็นระบบควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานสินค้าเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เมื่อปี 2556 โดยฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง
การยางแห่งประเทศไทย ได้จัดระบบให้กับสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตยางแผ่นรมควัน
ด้วยการนำเทคนิครายละเอียดเกร็ดความรู้ ประสบการณ์ของคณะ GMP จากศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้
มีการควบคุมคุณภาพยางที่ผลิตได้ด้วยการตรวจสอบสมบัติทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
และกำหนดเป็น “ยางเกรดพรีเมียม” กำหนดสมบัติต่าง ๆ
ให้อยู่ในช่วงที่กำหนดเพื่อให้ทุกโรงสามารถผลิตยางให้มีสมบัติคงที่ สม่ำเสมอ
มีความสะอาด ความยืดหยุ่นที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับยางดิบทุกชนิด
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มฐานเกษตรยางพารา อ. โนนสุวรรณ จ. บุรีรัมย์
ผลิตยางแผ่นรมควันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 19 ปี
ประสบปัญหาเรื่องยางไม่ได้คุณภาพมาโดยตลอด จึงตัดสินใจที่จะทำระบบมาตรฐาน GMP
จากที่ได้ทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามข้อแนะนำและรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ทำให้กลุ่มนี้สามารถได้รับมาตรฐาน GMP จากฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 นับว่าเป็นโรงแรกของภาคอีสานและเป็นโรงที่
9 ของประเทศ
ที่สามารถผลิตยางส่งบริษัทโดยมีราคาสูงกว่าราคาประกาศจากสำนักงานตลาดกลางยางพาราบุรีรัมย์
กิโลกรัมละ 2 บาท
การรับรองคุณภาพนี้จะมีอายุ
1 ปี
และจะมีการสุ่มตรวจกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ครั้งต่อปีเพื่อเป็นการรักษามาตรฐานการผลิต
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย จัดระบบให้กับสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตยางแผ่นรมควัน ด้วยการนำเทคนิครายละเอียดเกร็ดความรู้ ประสบการณ์ของคณะ GMP จากศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ |
ทำความรู้จัก
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มฐานเกษตรยางพารา
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มฐานเกษตรยางพารา ตั้งอยู่ใน ต.ดงอีจาน อ.โนนสุวรรณ
จ.บุรีรัมย์ ผลิตยางน้ำยางสดป้อนกลุ่มวันละ 10 ตัน แปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันวันละ 3-4 ตัน
มีทรัพย์สินรวมมากกว่า 10 ล้านบาท
พวกเขาคิดเหมือนกันว่า การผลิตยางแผ่นดิบแบบต่างคนต่างทำ
และขายแบบตัวใครตัวมัน เป็นอันตรายขั้นรุนแรงต่ออาชีพ เพราะพ่อค้ากดราคายางได้ง่าย และไร้อำนาจการต่อรอง
ขณะเดียวกัน แม้จะหันมารวบรวมยางแผ่นจากเกษตรกรหลายๆ คน ก็ยังไม่ใช่ทางออกสุดท้าย
เพราะยังคงผลิตแบบต่างคนต่างทำ จึงควบคุมคุณภาพไม่ได้ และขายได้ราคาต่ำเหมือนเดิม สุดท้ายจึงเลิกผลิตยางแผ่นดิบ
แล้วนำน้ำยางสดมารวมกัน ณ ที่ทำการกลุ่ม เพื่อผลิตเป็นยางแผ่นรมควัน
ข้อดีว่าเมื่อนำน้ำยางสดมาทำเป็นยางแผ่นรมควันด้วยวิธีเดียวกัน
ทำให้ควบคุมคุณภาพได้ดีขึ้น ยางออกมามีคุณภาพเหมือนกัน ไม่เสียหาย
ไม่ตกเกรดเหมือนทำยางแผ่นดิบ และขายได้ราคาสูงกว่า
ขณะที่สมาชิกที่มีสวนยางน้อยๆ ถ้าทำยางแผ่นก็ไม่คุ้มแต่แค่นำน้ำยางมาส่งที่กลุ่มไม่ต้องเสียเวลาแปรรูปยาง
มีเวลาไปทำอาชีพเสริมอย่างอื่นได้
สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีสวนยางไม่เกิน 30 ไร่เท่านั้น
ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของกลุ่มในการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกในชุมชนมาแปรรูปเป็นยางคุณภาพ
เพิ่มมูลค่า
ความโดดเด่นของการผลิตยางแผ่นรมควันของที่นี่คือ
สามารถลดต้นทุนการผลิตยางได้ คือ การเพิ่มความจุยางในห้องรม จาก 2 ตัน เป็น 6 ตัว
โดยไม่ขยายห้อง และใช้เชื้อเพลิงเท่าเดิม
โรงรมควันมีกำลังความจุยาง 2 ตัน มีทั้งหมด 4 ห้อง ต้นทุนสร้างประมาณ
2 แสน/ห้อง ปกติจะอบยางได้ครั้งละ 2 ตัน/เตา หรือรวม 8 ตัน ซึ่งต้องใช้เวลา 3-4 วัน
กว่าจะอบรมควันเสร็จ แต่จากประสบการณ์ทำให้สามารถอบยางเพิ่มขึ้นเป็น
6 ตัน/ห้อง
บนพื้นที่เท่าเดิม
วิธีการคือ ปกติจะแขวนยาง 3 แผ่น/ราว แต่เปลี่ยนมาตาก 10
แผ่น/ราว แบ่งการจัดการเป็น 2 ส่วน คือ
หลังจากทำเป็นยางแผ่นดิบ จะเรียงยางปกติ 3 แผ่น/ราว
นำผึ่งแดดผึ่งลมแล้วนำเข้าเตารมควัน แต่จะรมเพียงแค่ 1 คืนเท่านั้น
จากนั้นจะนำออกจากเตา เพื่อนำออกมาจัดเรียงใหม่ โดยเพิ่มเป็นราวละ 10 แผ่น
วิธีนี้จึงทำให้อบยางในเตาได้เพิ่มขึ้น จาก 2 ตัน เป็น 6 ตัน
อบคืนแรกจะเป็นเหมือนอบรีดน้ำออกจากแผ่นยาง
หลังจากนั้นน้ำ ความชื้นจะน้อย เมื่อนำออกมาจัดเรียงใหม่จะทำให้อบยางได้เพิ่มขึ้น ปกติยาง 2 ตัน ใช้ฟื้น 1 ตัน
แต่พอมาใช้วิธีนี้ฟืน 1 ตัน อบได้ 6 ตัน
คุณภาพยางยังเหมือนเดิม และยางแห้งไวกว่าระบบเดิม หลังการอบจะได้ยางแผ่นรมควันคุณภาพ
ชั้น 3 มากกว่า 90%
ปกติจะแขวนยาง 3 แผ่น/ราว แต่เปลี่ยนมาตาก 10 แผ่น/ราว วิธีนี้ประหยัดพื้นที่ จึงทำให้อบยางในเตาได้เพิ่มขึ้น จาก 2 ตัน เป็น 6 ตัน |
ขอขอบคุณ
นายธนากร จีนแดง
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มฐานเกษตรยางพารา
120/1 หมู่ 5 บ้านหนองตาเฮียง ต.ดงอีจาน อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์ โทรศัพท์ 09-8230-0457
สถาบันเกษตรกรที่มีความประสงค์จะทำระบบคุณภาพมาตรฐาน GMP สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา ได้ในเวลาราชการ โทรศัพท์ 074
894 307
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น