ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

สวนปาล์มยุคใหม่ จ.พังงา ปลูกปาล์มพันธุ์ใหม่ ผลผลิตสูง เพิ่มความแม่นยำ ทำสมุดบันทึก

ความสำคัญของการจดบันทึก นอกจากจะรับรู้รายจ่าย และรายรับ เพื่อคำนวณผลกำไรในการทำสวนปาล์มแล้ว อีกทางหนึ่งยังเป็น ประวัติ” การจัดการสวนปาล์มในรอบปี เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการจัดการสวนในปีถัดไป ให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น พร้อมๆ กับลดต้นทุน

แม้ว่าสมุดบันทึกจะไม่ใช่ “หลักประกัน” ผลผลิตในอนาคต เพราะมีปัจจัยหลายตัวที่ชี้นิ้วสั่งไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็ทำให้การทำสวนปาล์ม “แม่นยำ” มากขึ้นกว่าเดิม

นี่คือ เหตุผลที่ ลุงบรรเจิด เอียบสกุล จรดปากกาลงสมุดบันทึกตั้งแต่เริ่มปลูกปาล์ม เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ภายในมีข้อมูลอย่างละเอียด เริ่มจากรายจ่ายทุกกิจกรรม ปริมาณผลผลิต ราคาปาล์ม และรายได้จากผลผลิต ซึ่งในบันทึกจะมีประวัติการใส่ปุ๋ยปาล์มสอดแทรกอยู่ด้วย โดยได้รับคำแนะนำจากผู้ผลิตพันธุ์ปาล์ม “ซีพีไอไฮบริด” ที่ลุงบรรเจิดตัดสินใจปลูกจำนวน 20 ไร่
ลุงบรรเจิด เอียบสกุล ชาวสวนปาล์มมือใหม่ อ.คุระบุรี จ.พังงา
เมื่อก่อนลุงก็ไม่ค่อยเข้าใจหรอก แต่ก็มีนักวิชาการ ของซีพีไอมาให้คำแนะนำ ถึงได้รู้ว่าวงจรชีวิตปาล์มมันยาว ใส่ปุ๋ยวันนี้สองปีข้างหน้าโน้นกว่าจะเห็นผล การทำสวนปาล์มสมัยใหม่นี่เป็น วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ ไสยศาสตร์ ไม่ใช่ว่าทำๆ ไป อะไรก็ได้  แต่ต้องจดบันทึก แล้วนำมาวิเคราะห์ว่าควรจะปรับปรุงแก้ไขอย่างไรให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเรา 
ลุงบรรเจิดพูดถึงความสำคัญของการจดบันทึกการทำสวนปาล์ม

สวนปาล์มของลุงบรรเจิดจึงจัดอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสมบูรณ์ เมื่อดูจากขนาดของต้นปาล์ม ลำต้นใหญ่ ต้นเตี้ย ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์สูง

“ลุงเริ่มตัดทะลายได้ตั้งแต่ปาล์มอายุ 2 ปี 4 เดือน มันให้ผลผลิตเร็วมาก” ลุงบรรเจิดพูดถึงลักษณะเด่นของพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เลือกปลูก
ลุงบรรเจิด ยอมรับว่า ตัวเองเป็น “มือใหม่” ด้านปาล์มน้ำมัน เพราะทำแต่สวนยางมาโดยตลอด ทั้งผลิตกล้ายางจำหน่ายและทำสวนยางมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี แต่ที่ผ่านมาเจอภัยธรรมชาติหลายครั้งทำให้สวนยางเสียหาย และด้วยสภาพอากาศฝั่งอันดามันมีฝนค่อนข้างชุก จึงกรีดยางได้ปีละไม่กี่วันเท่านั้น

เมื่อ 4 ปีที่แล้วจึงตัดสินใจขอทุนสงเคราะห์จาก สกย. (กยท.ในปัจจุบัน) โค่นยางปลูกปาล์ม โดยตัดสินใจเลือกปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ “ซีพีไอ ไฮบริด”

“เขามีการปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใหม่ให้เหมาะกับสภาพอากาศของไทย ทนแล้งได้นาน ให้ทะลายเร็ว 2.4 ปี ตัดขายได้ และผลผลิตสูง เปอร์เซ็นต์น้ำมันดี” 
ปลูกปาล์มระยะมาตรฐาน 9X9X9 เมตร แบบสลับฟันปลา เพื่อให้ต้นปาล์มได้รับแสงทุกทิศทางและไม่บังแสงเมื่อต้นปาล์มอายุมากขึ้น 
อย่างไรก็ตาม “พันธุ์ปาล์ม” คือส่วนหนึ่งของการทำสวนปาล์มให้ได้ผลผลิตสูง  แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ คือ “การจัดการ” ถ้าจัดการดี “ผลผลิต” จะได้ตามศักยภาพของพันธุ์ปาล์มที่ปลูก

ลุงบรรเจิดปลูกปาล์มระยะมาตรฐาน 9X9X9 เมตร แบบสลับฟันปลา เพื่อให้ต้นปาล์มได้รับแสงทุกทิศทางและไม่บดบังแสงเมื่อต้นปาล์มอายุมากขึ้น 

การจัดการสวนช่วงระยะ 3 ปีแรก จะใช้ปุ๋ยจากกองทุนสงเคราะห์ และปุ๋ยสูตร 15-15-15  เสริมด้วยปุ๋ยขี้ไก่ช่วยบำรุงดิน จนอายุ 2.4 ปี ก็ตัดปาล์มได้ หลังจากนั้นทำตามคำแนะนำด้านวิชาการของ CPI มาโดยตลอด

ตอนนี้ปาล์มอายุ 4 ปี เคยตัดได้มากที่สุด  6.5 ตัน แต่โดยเฉลี่ยจะตัดได้ 3.8 -4.5 ตันต่อรอบตัด ขนาดทะลาย 10-15 กก. มันจะมากบ้างน้อยบ้างสลับรอบกันไป ขึ้นอยู่ความสมบูรณ์ในแต่ละช่วง ถ้าความสมบูรณ์ถึง ให้ปุ๋ยเต็มที่ อากาศไม่แล้งเกินไปจะได้ผลผลิตสูง

แต่สภาพอากาศนี่แหละที่มีอำนาจกำหนดความสมบูรณ์และผลผลิตปาล์ม โดยเฉพาะปีที่แล้วธรรมชาติมอบความแห้งแล้งติดต่อกัน 5 เดือน ต่อด้วยฝนอีก 4 เดือนติดๆ กัน จนใส่ปุ๋ยไม่ได้เลย ผลผลิตจึงได้ไม่เต็มที่นัก

การใส่ปุ๋ยของลุงบรรเจิดจัดสรรทั้ง ธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง ที่ปาล์มน้ำมันต้องการ โดยจะเลือกใส่ตามผลผลิตที่ได้ ควบคู่กับคู่มือ ของบริษัท ซีพีไอ 


เมื่อเรารู้ว่าปีนี้ตัดปาล์มได้กี่ตัน ก็เอาน้ำหนักปาล์มทั้งปีหารกับพื้นที่ปลูก เราก็จะรู้ว่าได้ปาล์มกี่ตันต่อไร่ต่อปี หลังจากนั้นจึงจะใส่ปุ๋ยตามน้ำหนักทะลายที่ตัดขายไป แล้วคำนวณว่าจะเลือกใส่ปุ๋ยชนิดไหนบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ ให้สัมพันธ์กับผลผลิต ปาล์มที่ดกจะกินปุ๋ยมาก จึงต้องใส่ปุ๋ยให้พอ ซึ่งปริมาณปุ๋ยที่ใส่แต่ละปีจะดูจากคู่มือของ บริษัท ซีพีไอ เทียบกับน้ำหนักทะลายที่ตัดได้

เนื่องจากในพื้นที่ฝนตกค่อนข้างชุกตลอดทั้งปี ลุงบรรเจิดจึงเลือกที่จะใส่ครั้งละน้อยๆ แต่ใส่บ่อย เพื่อลดการสูญเสียให้น้อยลง และเนื่องจากเป็นพื้นที่ลาดและมีฝนตกชุก การใส่ปุ๋ยในช่วงเล็ก ใช้วิธีขุดดินล้อมต้นแล้วใส่ปุ๋ย ป้องกันปุ๋ยไหลไปกับน้ำ พอเข้าปีที่สอง ใช้วิธีขุดหลุมฝังทั้งสองข้างของต้นปาล์ม
ทั้งนี้ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จะมี “คู่มือการปลูกปาล์มน้ำมัน” เพื่อเป็นให้เกษตรกรได้รู้จักธรรมชาติของปาล์มน้ำมัน และเป็นแนวทางการจัดการสวนให้ถูกวิธี 

พร้อมกับแนะนำให้เกษตรกรจดบันทึกประวัติการสวนปาล์ม เช่น ใส่ปุ๋ยอะไร  ปริมาณเท่าไหร่ ผลผลิตตัดได้เท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ถูกจุด และวางแผนได้ว่าควรจะจัดการสวนปาล์มอย่างไรในอนาคต เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น รวมถึงหาแนวทางการลดต้นทุนได้ต่อไป

การจัดการสวนปาล์มอื่นๆ ของลุงบรรเจิด เช่น การตัดแต่งทางใบ เริ่มตัดแต่งเมื่อปาล์มเข้าปีที่ 5 โดยเลือกตัดเฉพาะทางใบล่างๆ ที่ไม่ได้รับแสงเท่านั้น เพราะทางใบจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อเลี้ยงทะลาย 

ข้อดีของพันธุ์ปาล์ม ซีพีไอ ไฮบริด คือ ทะลายจะออกมาตรงกลางระหว่างทางใบ 2 ข้าง จึงตัดทะลายได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องตัดทางใบเลย เลยเหลือทางใบไว้ได้มาก ทำให้ต้นปาล์มสังเคราะห์แสงและปรุงอาหารได้มาก ทางที่ตัดออกก็นำมาวางสร้างกองทางระหว่างต้นปาล์ม ปล่อยให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์คืนสู่ดิน และกองทางยังช่วยลดการชะล้างปุ๋ยได้อย่างดี

ข้อดีของพันธุ์ปาล์ม ซีพีไอ ไฮบริด คือ ทะลายจะออกมาตรงกลางระหว่างทางใบ 2 ข้าง จึงตัดทะลายได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องตัดทางใบเลย สามารถเหลือทางใบไว้ได้มาก
สร้างกองทางระหว่างต้นปาล์ม ปล่อยให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์คืนสู่ดิน และกองทางยังช่วยลดการชะล้างปุ๋ยได้อย่างดี
แม้พื้นที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา จะมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่ผ่านมาอากาศค่อนข้างแปรปรวน หน้าแล้งยาวนานขึ้น ซึ่งไม่เป็นมิตรกับสวนปาล์ม ลุงบรรเจิดจึงลงทุนเจาะน้ำบาดาลสำหรับให้สวนปาล์มในช่วงหน้าแล้ง เพื่อให้ต้นปาล์มสมบูรณ์และให้ผลผลิตเต็มที่

ปาล์มน้ำมันเราต้องวางแผนล่วงหน้าเป็นปีๆ เพราะอย่างปีที่แล้วเราใส่ปุ๋ยได้ไม่มาก เพราะเจอแล้งและฝนตกหนักติดต่อกัน แต่ตอนนี้ทำได้เต็มที่เพราะปีนี้ฝนดี ใส่ปุ๋ยได้เต็มที่ หน้าแล้งวางแผนให้น้ำ เราต้องรอดูผลผลิตว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เพราะว่าวงจรของปาล์มยาว ทำปีนี้เพื่อให้ได้ผล ปี เราจึงต้องดูแลให้ได้อย่างต่อเนื่อง  

สมุดบันทึกของลุงบรรเจิด เริ่มต้นจดบันทึกตั้งแต่เมื่อเริ่มปลูก
ลุงบรรเจิดคืออีกตัวอย่างหนึ่งของการทำ “สวนปาล์มยุคใหม่” เริ่มตั้งแต่ใช้ปาล์มพันธุ์ใหม่ที่ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย ทนแล้ง ให้ผลผลิตสูง ใช้หลักวิชาการเข้ามาดูแลจัดการทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง มีการจดบันทึกการใส่ปุ๋ย เพื่อให้วิเคราะห์และวางแผนการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสมกับอายุปาล์มและปริมาณผลผลิต เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตไปพร้อมๆ กัน
━━━━━━━━━━━━━━━━━
เมื่อเลือกใช้ปาล์มพันธุ์ดีร่วมกับการจัดการสวนปาล์มที่ถูกต้อง เช่น การใส่ปุ๋ยตามระดับผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของต้นปาล์ม การวางทางใบปาล์มที่ตัดลงมา กองบนดินเพื่อรักษาความชื้นและเป็นอินทรียวัตถุ การใส่ปูนเพื่อปรับค่ากรด-ด่างของดิน รวมทั้งนำปุ๋ยเคมีไปใส่บนกองทางเพื่อลดการชะล้างสูญเสียลง ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นหลักประกันว่า เมื่อสภาพแวดล้อมมีความเหมาะสม เช่น ฝนตกเพียงพอและกระจายตัวต่อเนื่อง ธาตุอาหารต่างๆ ที่สะสมอยู่ในต้นปาล์ม ย่อมถูกนำมาผลิตเป็นทะลายปาล์มให้ดกดีตามผลของการจัดการที่ชาวสวนลงทุนลงแรงไป
━━━━━━━━━━━━━━━━━
ขอขอบคุณ
บรรเจิด เอียบสกุล 
53 หมู่ 9 ต.คุระ อ.คุระบุรี จ.พังงา โทรศัพท์ 087-100-2630
- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม