ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

กรีดยางติดต่อกันในฤดูฝน ระวัง โรคเส้นดำ

โรคเส้นดำ (Black Stripe) เป็นโรคทางลำต้นของยางพาราที่มีความสำคัญ เนื่องจากทำลายหน้ากรีด ซึ่งเป็นบริเวณเก็บเกี่ยวน้ำยาง ถ้าอาการรุนแรงจะไม่สามารถกรีดยางซ้ำบนหน้ากรีดเดิมได้อีก ทำให้ระยะเวลาการให้ผลผลิตยางสั้นลง

โรคนี้แพร่ระบาดในพื้นที่ที่เกิดโรคใบร่วงและฝักเน่าเป็นประจำ  สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Phytophthora botryose Chee , P. palmivora (Butl.) Butl. ลักษณะอาการจะทำให้บริเวณหน้ายางที่ผ่านการกรีดมาแล้ว จะมีลักษณะเป็นรอยช้ำ ต่อมาจะกลายเป็นรอยบุ๋มสีดำหรือสีน้ำตาลดำตามแนวยาวของลำต้น เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณรอยบุ๋มสีดำจะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้ยาง และอาจลุกลามลงใต้รอยกรีด ถ้าอาการรุนแรง เปลือกยางบริเวณที่เป็นโรคจะปริเน่า มีน้ำยางไหล เปลือกเน่าหลุดออกมา ถ้าการเข้าทำลายของเชื้อไม่รุนแรง เปลือกยางที่งอกใหม่จะเป็นปุ่มปม

ส่วนการแพร่ระบาดเชื้อราบนฝักและใบที่เป็นโรคจะถูกชะล้างโดยน้ำฝนลงมาที่หน้ากรีด พบระบาดรุนแรงเมื่อกรีดยางติดต่อกันในฤดูฝน โดยไม่มีการป้องกันรักษาหน้ากรีด โดยเฉพาะเมื่อความชื้นสูงกว่า 90% หน้ากรีดจะเปียกอยู่ตลอดเวลา เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อ 
นายธาร นวลนึก เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ข้อมูลว่า การป้องกันกำจัดโรคเส้นดำ เกษตรกรไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชร่วมยางหรือพืชแซมยาง ควรหลีกเลี่ยงการเปิดกรีดต้นยาง ในช่วงฤดูฝนชุก โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง

ระยะที่สวนยาง มีโรคใบร่วงระบาด อาจใช้สารเคมีทาป้องกันโรคที่หน้ากรีด และหากพบอาการที่หน้ากรีด ต้องเฉือนส่วนที่เป็นโรคออกก่อนแล้วทาแผลด้วยสารเคมี  หากเกษตรกรต้องการคำแนะนำสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดหรือเกษตรอำเภอทุกแห่งใกล้บ้าน

ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
เผยแพร่ครั้งแรก : 4 ต.ค. 2560

- Advertisement - 



ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม