โครงการส่งเสริมใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ
เพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง
ตัวเลขปี 59 ใช้ยางไปแล้ว รวม 25,274.7 ตัน
คาดปี 61 รัฐจะใช้ยาง 11,049
ตัน เพิ่มนวัตกรรม พร้อมหนุนผู้ประกอบการทุกระดับ
ให้ต่อยอดสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง เพิ่มมูลค่าสู่การส่งออกระหว่างประเทศ
ภาครัฐมีการนำยางไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ
อย่างเต็มที่ พร้อมทั้ง สานต่อนโยบายต่อเนื่องในปี 2561 รัฐจะใช้น้ำยางข้น 9,916.832 ตัน และยางแห้ง 1,132.390 ตัน รวมเป็น 11,049
ตัน งบประมาณรวมกว่า 11,589
ล้านบาท ซึ่งปริมาณส่วนใหญ่จะใช้สนับสนุนงานตามภารกิจของกระทรวงคมนาคม
เช่น เสาหลักนำทางยางพาราที่จะดูดซับปริมาณยางออกจากระบบประมาณ 2,500 กว่าตัน ด้านกระทรวงกลาโหม แปรรูปทำหมอนที่นอนให้กับทหาร ส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นแก้ไขระบบการจัดการน้ำ เป็นหลัก
นายณกรณ์
ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง เผยถึงความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ
ภายใต้นโยบายเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศของรัฐบาลว่า
จากการบูรณาการของภาครัฐในการนำร่องนำยางพาราไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
เมื่อปี 2559 มีการนำยางพาราไปใช้แล้วตามแผนของแต่ละกระทรวง
เป็นน้ำยางข้น 22,321.54 ตัน และยางแห้ง 2,953.16 ตัน รวม 25,274.7 ตัน งบประมาณรวมกว่า 16,925 ล้านบาท
เช่น การซ่อมแซมและปรับปรุงถนนบนคันคลองและถนนทางเข้าหัวงาน ฝายยาง แผ่นยางพาราปูคอกโคนม บล็อกยาง ปรับปรุงถนนผิวทางพาราแอสฟัลต์คอนกรีต ที่นอนและหมอนยางพารา ปูยางสระเก็บน้ำ ตลอดจนการทำสนามเด็กเล่น สนามฟุตซอล และยางล้อ เป็นต้น
เช่น การซ่อมแซมและปรับปรุงถนนบนคันคลองและถนนทางเข้าหัวงาน ฝายยาง แผ่นยางพาราปูคอกโคนม บล็อกยาง ปรับปรุงถนนผิวทางพาราแอสฟัลต์คอนกรีต ที่นอนและหมอนยางพารา ปูยางสระเก็บน้ำ ตลอดจนการทำสนามเด็กเล่น สนามฟุตซอล และยางล้อ เป็นต้น
เช่น เสาหลักนำทางยางพาราที่จะดูดซับปริมาณยางออกจากระบบประมาณ 2,500 กว่าตัน ด้านกระทรวงกลาโหม แปรรูปทำหมอนที่นอนให้กับทหาร ส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นแก้ไขระบบการจัดการน้ำ เป็นหลัก
ส่วน กรณีนำยางพาราไปใช้ทำถนนที่ได้รับรองมาตรฐานแล้ว
ได้แก่ ถนนลาดยางมะตอยผสมยางพาราชนิดผสมร้อน ใช้ยางประมาณ 3.6 ตันยางแห้งต่อกม. (ถนนกว้าง 12
เมตร) ถนนพาราสเลอรีซีล ใช้ยางประมาณ 0.54 ตันยางแห้งต่อกม.
(ถนนกว้าง 12 เมตร)
ล่าสุด มีถนนพาราซอยด์ซีเมนต์
ใช้ยางพารา 8.12 ตันต่อถนน 1
กม. (กว้าง 10 เมตร)
อยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อให้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ซึ่ง กยท.
ได้สนับสนุนทุนในการทดสอบเพื่อออกการรับรองมาตรฐาน และคาดว่า ในเดือนเมษายน 2561
จะสามารถเข้าสู่กระบวนการนำไปใช้จริง
จะเพิ่มทางเลือกในการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ยางพาราได้เพิ่มมากขึ้น
นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า
ภาครัฐยังสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการ
เพื่อช่วยดูดซับยางพาราเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน
มีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติสินเชื่อไปแล้วกว่า 8,887 ล้านบาท (รัฐชดเชยดอกเบี้ยประมาณ 266 ล้านบาท/ปี) จะส่งผลทำให้ปริมาณการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 35,550
ตัน/ปี และเพื่อขยายผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ยางในประเทศมากขึ้น
ตลอดจนกลุ่มสตาร์ทอัพ
ล่าสุดมี 44 บริษัท เป็นตัวแทนจากผู้ผลิต
สหกรณ์สมาชิกทั่วประเทศร่วมหันมาเพิ่มมูลค่าในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ทาง กยท.
ได้หาตลาดเพื่อให้เกิดการเจรจาซื้อขายผลิตภัณฑ์ยางระหว่างประเทศและนำผู้ประกอบการไปเปิดตลาดในต่างประเทศ
ภาครัฐเดินหน้าผลักดันนำยางพาราไปใช้ พร้อมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีกำลังในการผลิตแล้ว และเร่งคิดค้นวิจัยหาผลิตภัณฑ์ตัวอื่นที่สามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบนำยางพาราไปเป็นส่วนผสมได้ เพื่อดูดซับปริมาณยางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ในประเทศ แต่อยากให้เข้าใจถึงวงจรระบบผู้ผลิต-ผู้บริโภค สำคัญที่สุด คือ ความต้องการใช้ สิ่งที่ดำเนินการขณะนี้ จึงเป็นการผลักดันความต้องการใช้ยางในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่หน่วยงานรัฐ หรือผู้ประกอบการ แต่รวมถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศจะต้องร่วมมือกัน
นายณกรณ์ กล่าว
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น