ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

บริษัท ปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ จำกัด โรงหีบปาล์มเอกชน หนึ่งเดียวของ 3 จังหวัดชายแดนใต้

การไม่มีโรงงานปาล์มในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็น “โซ่”ส้นใหญ่ที่ “ล่าม” พืชเศรษฐกิจตัวนี้ไม่ให้ขยายตัว เพราะหนึ่งเกษตรกรไม่มีที่ขาย หรือต้องยอมขายให้ลานเทในพื้นที่ราคาต่ำ

สมนึก มณีโชติ เจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในนาม หจก. ปัตตานีสหพันธ์การก่อสร้าง มองเห็นถึงปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ จึงศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างโรงหีบปาล์ม ก่อนจะลงทุนสร้างโรงงานในปี 2559 ขนาดกำลังการผลิต 45 ตันทะลาย/ชั่วโมง หรือ 1,000 ตัน/วัน ภายใต้ชื่อ บริษัท ปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ จำกัด  
การตั้งโรงงานในช่วงเริ่มต้น มีผลผลิตป้อนโรงงานน้อย เพียงแค่ 30% ของกำลังการผลิตเท่านั้น ซึ่งปัญหาไม่ได้มาจากพื้นที่ปลูกปาล์มน้อยเท่านั้น แต่ปัญหาใหญ่มาจากเกษตรกรขาดความรู้เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันจึงได้ผลผลิตต่ำ เพียง 1 ตัน/ไร่/ปีเท่านั้น

จึงจำเป็นต้องถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการปลูกปาล์มอย่างเร่งด่วน โดยโรงงานใช้วิธีจ่ายเงินปันผลให้เกษตรกร 10% จากผลผลิตที่เข้าโรงงาน เพื่อดึงดูดให้เกษตรกรตื่นตัวในการดูแลสวนปาล์มให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 1,000 ราย พร้อมตั้งเป้าให้เกษตรกรพัฒนาผลผลิตเพิ่มเป็น 3 ตัน/ไร่/ปี

ผลผลิตจึงมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการรับซื้อกว่า 900 ล้านบาท แบ่งเป็นผลผลิตในพื้นที่ 30% นอกพื้นที่ 70% 
อย่างไรก็ตามบริษัท ปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ ได้ตั้งเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ให้ได้ 70% นอกพื้นที่ 30% พร้อมกับวางแผนเตรียมทุ่มเงินลงทุนกว่า 300 ล้านบาท เพื่อขยายโรงงานเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 60 ตันทะลาย/ชั่วโมง ในปี 2561 และน่าจะขยายเพิ่มเป็น 120 ตันทะลายในปี 2563 ซึ่งคาดว่าจะช่วยขยายอาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

น้ำมันปาล์มดิบที่หีบสกัดได้ เดิมถูกส่งขายไปยังโรงกลั่น ใน ชุมพร และสมุทรปราการ แต่ขณะนี้มีโรงกลั่นเป็นของเอง ทำให้เกิดผลพลอยได้ คือ อุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายโครงการ อาทิ ไบโอดีเซล เป็นต้น

บริษัท ปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ ยังมีแผนลงทุนหีบน้ำมันจากเมล็ดใน ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางอีกด้วย 
ส่วนของเหลือจากกระบวนการหีบปาล์มทุกส่วนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ได้แก่ เส้นใยจากการหีบน้ำมัน และกะลาเมล็ดใน จะนำมาเป็นเชื้อเพลิงบอยเลอร์  ส่วนที่เหลือจะขายให้โรงไฟฟ้าชีวมวล ส่วนกากที่เหลือจะส่งต่อเข้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

สำหรับทะลายที่เหลือยกให้เกษตรกรฟรี เพื่อนำไปใส่โคนต้นปาล์มบำรุงหน้าดิน บางรายนำไปเพาะเห็ดโคนน้อยเป็นอาชีพเสริม

นอกจากนั้นน้ำเสียจากอุตสาหกรรมปาล์ม ได้ส่งไปหมักเป็น ไบโอแก๊ส สำหรับเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า 2 เมกะวัตต์ และวางเป้าหมายว่าอนาคตจะขายไฟฟ้าที่ 4.8 เมกะวัตต์ และ เป้าหมายสุดท้ายเป็นโรงงาน “ซีโร่เวสต์” ไม่มีของเหลือหรือของเสียออกจากโรงงาน

ข้อมูลอ้างอิง

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทะลายยกให้ชาวสวน ฟรีจริงเหรอ

บทความที่ได้รับความนิยม