ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

กยท.แถลง ราคายางตกต่ำ สอดคล้องกับราคาตลาดโลก พร้อมโต้ประเด็นร้อน

ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย คลายปมประเด็นสถานการณ์ราคายางที่เกิดขึ้นว่า ราคายางเป็นไปตามกลไกการตลาด โดยจะปรับตัวขึ้นหรือลงขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อและขาย

นายธีธัช สุขสะอาด แถลงว่า หากย้อนหลังไปในปี พ.ศ.2554 ราคายางพุ่งสูงขึ้นมากที่สุด เนื่องจากมีปริมาณความต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการเก็งกำไร ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ “ยางฟีเว่อร์” ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยที่มีการปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้น แต่หลายๆ ประเทศก็หันมาปลูกยางเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้พื้นที่ปลูกยางในช่วงปี 2553 – 2555 เพิ่มขึ้นประมาณ 11.9 ล้านไร่

ฉะนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ปลูกยางเหล่านี้ ซึ่งเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ประเทศผู้ปลูกยางรายใหม่มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นจากปี 2559 สูงมาก เช่น กัมพูชา ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 33.1 รองลงมา คือ อินเดีย ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 21.0 และ เวียดนาม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3

จะเห็นได้ว่า ปริมาณผลผลิตย่อมเข้าสู่ตลาดมากขึ้นเป็นทวีคูณ สะท้อนสู่ความเป็นจริงที่ว่า ผลผลิตยางล้นตลาด (over supply) และนี่คือสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ

โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตยางที่จะต้องรับมือและแก้ปัญหา และในอนาคต ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น

หากเราไม่ปรับวิธีคิด วิธีดำเนินงาน ก็ยังคงเผชิญอยู่กับวัฏจักรการขึ้นลงของราคาแบบเดิมๆ ซ้ำรอยปัญหาเดิมๆ ที่เป็นกับดักความยากจนของภาคเกษตร


นายธีธัช กล่าวต่อ
หากพิจารณาสถานการณ์ราคายางในประเทศระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ระดับราคายางในประเทศมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันกับราคายางในตลาดล่วงหน้าทั้ง 3 ตลาดของต่างประเทศ (โตเกียว เซียงไฮ้ สิงคโปร์) ที่มีการปรับตัวลดลงทุกตลาด

นั่นหมายถึงไม่เพียงแค่ราคายางในประเทศเท่านั้นที่ปรับตัวลดลง แต่ราคาของตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าในต่างประเทศก็ปรับลดลงเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยพื้นฐานโดยรวมของโลก และการซื้อขายทำกำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้าทั่วโลก

จากกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ในการบริหารจัดการสถานการณ์ยางพาราที่เกิดขึ้น นายธีธัช ชี้แจ้งว่า ก่อนอื่นอยากให้ผู้มีส่วนได้เสียในวงการยางพาราไทยทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่าบทบาทหน้าที่หลักของ กยท. ในการบริหารจัดการยางพาราของทั้งระบบอย่างครบวงจร โดยเฉพาะประเด็น การพัฒนาระบบตลาดยางในประเทศ กยท.จะทำหน้าที่หลักในการสร้างให้เกิดความมีเสถียรภาพของราคา ลดความเสี่ยงทางการตลาด

ฉะนั้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา กยท.มีความพยายามลดความผันผวนของราคายางภายในประเทศผ่านมาตรการต่างๆ ซึ่งหลายมาตรการไม่เคยปรากฏมาก่อนในวงการยางพาราท่ามกลางสถานการณ์ตลาดโลกที่มีการราคาปรับตัวลดลง 

ส่วนมาตรการบูรณาการระหว่างรัฐกับเอกชน โดยการจัดตั้ง บริษัทร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด เป็นกลไกในการแก้ปัญหาราคาเพื่อให้เกิดเสถียรภาพซึ่งนำมาใช้ครั้งแรกในยุคนี้  เป็นกระบวนการให้เกิดราคาอ้างอิงที่ดีขึ้นอย่างเป็นธรรมสำหรับการซื้อขายในตลาดภาคเอกชนทั่วทุกพื้นที่ ด้วยวิธีการเข้าซื้อยางในราคาชี้นำ ณ ตลาดกลางยางพารา กยท.ทั้ง 6 แห่ง หมุนเวียนสับเปลี่ยนกัน และบริษัทร่วมทุนฯ จะนำยางพาราที่ประมูลได้ในแต่ละครั้ง นำไปแปรรูปเพื่อจำหน่ายสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ และตลาดต่างประเทศต่อไป

ทั้งนี้ ในช่วงดำเนินการเริ่มต้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยน ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น ในกรณีการขนย้ายยางออกนอกตลาดกลางหลังจากประมูลได้ จะต้องใช้ระยะเวลาและเอกสารในกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้เจตนารมณ์ในการผลักดันให้มีราคาอ้างอิงที่สูงขึ้นและเป็นธรรมสูงสุดทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง


มาตรการในการสร้างเสถียรภาพยางโดยเพิ่มกำลังซื้อและบริหารจัดการตลาดยางของ กยท. ซึ่งได้มีการกำหนดระเบียบตลาดยางพาราในการประมูลยางผ่านตลาดกลาง กยท. โดยมีการประกาศราคากลางเปิดการซื้อขายแต่ละวันทำการ (Spot market) จะทำให้การซื้อขายเป็นระบบและมีมาตรฐานในการอ้างอิงราคาอย่างเป็นธรรม ซึ่งการประมูลแบบนี้ จะไม่สูงหรือต่ำกว่าราคากลางเกินกว่า 2 บาท ตามดุลยพินิจแต่ละตลาด เพื่อผลักดันให้ราคายางมีเสถียรภาพ และลดปัญหาการปรับตัวขึ้นลงอย่างรุนแรง

และที่สำคัญ ราคากลางที่ประกาศจากตลาดกลาง กยท. เป็นราคาที่ไม่รวมค่าขนส่ง และที่สำคัญ เรื่องคุณภาพ และน้ำหนักของยางชนิดต่างๆ ล้วนได้รับการตรวจสอบการคัดคุณภาพอย่างมาตรฐาน ผ่านกระบวนการซื้อขายที่เป็นธรรม และโปร่งใส สิ่งเหล่านี้ จะสร้างความเชื่อมั่นและยอมรับจากผู้ซื้อยางทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ ได้มีการเพิ่มทางเลือกแก่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ต้องการขายยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน สามารถขายผลผลิตผ่านตลาดประมูลยางล่วงหน้าของตลาดกลาง กยท. (Forward market) ซึ่งจะส่งมอบสินค้าจริงตามจำนวนและคุณภาพตามที่ตกลงไว้ ภายใน 7 วัน หลังการประมูลสิ้นสุด การพัฒนาระบบเหล่านี้ ทำให้ กยท.มีการปิดตลาดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งเน้นการเพิ่มกำลังซื้อเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญการบริหารจัดการตลาดยางของ กยท.ให้มีมาตรฐาน เพื่อให้สินค้าที่มาจำหน่ายและจัดเก็บมีคุณภาพ ตลอดจนการบริการที่ให้ความสะดวก รวดเร็ว แก่ผู้มาใช้บริการทั้งเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มช่องทางพิเศษสำหรับสินค้าที่ผ่านมาตรฐาน GMP และจะลดขั้นตอนในเรื่องการคัดชั้นคุณภาพ

- Advertisement - 


Advertising

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม