กยท.
เผยถึงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา
ภายใต้แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ (5,000 ล้านบาท)
พร้อมการขอเลขรหัสส่งออกในการประกอบกิจการโรงงานผลิตยางแท่งของ สหกรณ์กองทุนสวนยางนาจะหลวย
จำกัด พร้อมให้การสนับสนุนสหกรณ์ตามกรอบ และหลักเกณฑ์วิธีการใช้จ่าย
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การแปรรูป และการตลาดต่างๆ
2 แค่ไร้เลขรหัสส่งออก
นาจะหลวย..วิมานล่ม
อ่านประกอบ
1 วอนรัฐช่วย... โรงงานยางแท่ง ของชาวสวนยางเมืองดอกบัว ตลาดรุ่ง แต่ขาดเงินทุนหมุนเวียน
2 แค่ไร้เลขรหัสส่งออก
นาจะหลวย..วิมานล่ม
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท
รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึง
กรณีการขอรับเงินสนับสนุนจากนโยบายรัฐในโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา
ภายใต้แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ (5,000 ล้านบาท) ของสหกรณ์กองทุนสวนยางนาจะหลวย จำกัด จังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งในกระบวนการพิจารณาโครงการต่างๆ ที่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางยื่นขอมานั้น
จะมีคณะอนุกรรมการบริหารโครงการระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
และสหกรณ์จังหวัดเป็นเลขานุการ
ฉะนั้น การขอกู้เงิน 25 ล้านบาท ต้องผ่านกระบวนการดังกล่าว และท้ายสุด
ผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อโครงการนี้ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ซึ่งอาจต้องขอความเห็นให้ ธ.ก.ส. นำมาพิจารณาหารือเร่งด่วนอีกครั้ง
รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า
สหกรณ์กองทุนสวนยางภูจองนาจะหลวย จำกัด ดำเนินการแปรรูปเป็นยางแท่ง ดังนั้น
การขอเลขรหัสส่งออกในการประกอบกิจการโรงงานผลิตยางแท่ง
จะต้องขอและได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 จากกองการยาง กรมวิชาการเกษตร โดยสิ่งที่ผู้ประกอบกิจการจะต้องขอใบอนุญาต
ได้แก่ ใบอนุญาตค้ายาง ใบอนุญาตตั้งโรงค้ายาง ใบอนุญาตส่งออกยาง
(กรณีต้องการส่งออก) และใบอนุญาตห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยาง
(กรณีต้องการทดสอบคุณภาพยางเอง แต่หากไม่ต้องการทดสอบเอง อาจใช้บริการของกองการยาง
กรมวิชาการเกษตร หรือห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยางอื่นๆ
ที่ได้รับอนุญาตจากกองการยาง กรมวิชาการเกษตรแล้ว)
นอกจากนี้ หากกรณีผลิตและส่งออกเป็นยางคอมปาวด์
ผู้ประกอบการจะต้องส่งตัวอย่าง
เพื่อให้การยางแห่งประเทศไทยตรวจสอบปริมาณยางธรรมชาติในยางคอมปาวด์
และนำไปคำนวณการชำระเงิน ค่าธรรมเนียมส่งออกยาง (Cess) ให้ตรงตามปริมาณเนื้อยางธรรมชาติ
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว
ไม่ต้องได้รับอนุญาตหรือต้องมีเลขรหัสใดๆ ฉะนั้น
การแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินที่สหกรณ์ฯ ประสบอยู่
จำเป็นที่หลายหน่วยงานต้องร่วมกันแก้ไข
เพื่อให้สถาบันเกษตรกรสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ในด้าน กยท. มี
กองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49 (3) ที่จะสามารถช่วยเหลือสหกรณ์ได้ตามกรอบ
และหลักเกณฑ์วิธีการใช้จ่ายที่กำหนดไว้ เพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต
การแปรรูป และการตลาดต่างๆ ได้
Advertising
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น