การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
ยืนยันที่ผ่านมาดำเนินงานด้านบริหารจัดการเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน
นโยบายและเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลง
ทำให้วิธีการทำงานต้องปรับให้เหมาะสม และอาจแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติกันมา
แต่
กยท.ยึดประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นหลัก ทั้งเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
ผู้ประกอบกิจการยาง และผู้เกี่ยวข้องในวงการยางพารา
หวังให้ทั้งระบบเกิดการพัฒนาอย่างมั่นคง และยั่งยืน
นายสุนันท์
นวลพรหมสกุล รองโฆษกการยางแห่งประเทศไทย เผยว่าสถานการณ์ยางพารา
ในช่วงเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม ของทุกปีเป็นช่วงที่ปริมาณยางออกสู่ตลาดสูง
ทำให้ราคายางในสภาพปกติมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
สำหรับปีนี้
ภาพรวมราคายางเป็นไปตามกลไกตลาด โดยราคาทั้งในและต่างประเทศ
ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน แต่ปัญหาราคายางขณะนี้ สาเหตุที่แท้จริงมาจาก
(1) ปริมาณผลผลิตและความต้องการใช้ยางไม่สมดุลกัน ส่งผลต่อราคาขาย
โดยประเทศผู้ผลิตหลักทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย
และมาเลเซีย ราคาปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
แต่ราคายางในประเทศไทยยังคงสูงกว่าประเทศอื่น
นอกจากนี้
ยังมีประเทศผู้ผลิตยางรายใหม่ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2559 สูงมาก เช่น กัมพูชา
เพิ่มขึ้น 33.1% อินเดีย เพิ่มขึ้น 21.0% และ เวียดนาม เพิ่มขึ้น 11.3% ทำให้ผลผลิตทั่วโลกเพิ่มขึ้น
(2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจชะลอตัว
โดยเฉพาะประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลก ทั้งจีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ทำให้เกิดการชะลอซื้อของประเทศผู้ใช้ยางเหล่านี้ รวมถึง ความตึงเครียดทางการเมืองหลายประเทศ
ทำให้นักลงทุนชะลอการซื้อและราคาในตลาดล่วงหน้ามีความผันผวนอย่างรุนแรง
ส่งผลกระทบต่อราคายางของตลาดซื้อขายจริงในประเทศที่ปรับตัวลดลงตามไปด้วย
(3) การเก็งกำไรของนักลงทุนทั้งตลาดซื้อขายจริงในประเทศและตลาดล่วงหน้า
กระทบต่อการซื้อขายทำให้ราคาในตลาดนั้นๆ มีความผันผวนลดลงเช่นกัน
ดังนั้น กองทุนนี้
ซึ่งดำเนินการภายใต้ชื่อ บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด
จะดำเนินการซื้อยางผ่านตลาดกลาง กยท. ซึ่งเป็นการซื้อขายจริง
และการซื้อขายสัญญาผ่านตลาดล่วงหน้า โดยไม่มุ่งเน้นแสวงกำไร
เพื่อให้ประโยชน์ของกองทุนฯ ตกอยู่ที่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น
ที่ผ่านมา บริษัทร่วมทุนฯ
ทำให้ราคายางปรับตัวขึ้นในระดับหนึ่งท่ามกลางราคายางที่มีทิศทางจะปรับลดลง
และเข้าไปประมูลยางในราคาที่ชี้นำ
ซึ่งเกษตรกรสามารถนำราคาไปอ้างอิงในการต่อรองซื้อขายกับผู้ซื้อในแหล่งอื่นๆ ได้
เช่น ผลการประมูลในวันที่ 9 - 10 พ.ย. 60 ที่ผ่านมา ราคายางมีทิศทางจะปรับลดลง
บริษัทร่วมทุนฯ ได้เข้าประมูลในราคา 47.10 บาท หากบริษัทร่วมทุนฯ ไม่เข้าประมูล
ราคายางที่พ่อค้าเสนอจะอยู่ที่ 46.39 - 46.49 บาท
และในช่วงวันที่ 30 ต.ค.- 1 พ.ย.
60 ไม่มีการเข้าเสนอของบริษัทร่วมทุน
ส่งผลให้ราคายางปรับตัวลงทันที 5.61 บาท
บริษัทร่วมทุนได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์มาโดยตลอด
- Advertisement -
อย่างไรก็ตาม
สำหรับการจัดตั้งบริษัทโดยถือหุ้นร่วมกับภาคสถาบันเกษตรกร กยท.
กำลังดำเนินการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น โดย กยท.
จะต้องดำเนินการตามกระบวนการที่กระทรวงการคลังกำหนด
และสำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสามารถเข้ามาร่วมหุ้นได้
โดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับของแต่ละสถาบันเกษตรกร
การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ยืนยันว่าที่ผ่านมาได้ดำเนินงานบริหารจัดการภายใต้แผนการดำเนินงาน นโยบายและเป้าหมายที่รัฐบาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กยท.วางไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการทำงานมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามบริบทนั้นๆ
ที่สำคัญ โลกมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว แต่ กยท. ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ทั้งเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง และผู้เกี่ยวข้องในวงการยางพารา ทั้งหมดที่ดำเนินการมาตลอดนั้นอาจจะเห็นผลทั้งในระยะสั้น และระยะยาว มุ่งหวังเพียงให้การพัฒนาวงการยางพาราทั้งระบบสามารถก้าวเดินไปอย่างมั่นคง และยั่งยืนรองโฆษก กยท. กล่าว
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น