ราคายางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่ขึ้นลงไม่แน่นอน ...!!!
น่าจะเป็นตัว “กระตุกเตือน”
ให้ชาวสวนยาง สวนปาล์ม ลุกขึ้นมาพัฒนาอาชีพของตัวเองให้อยู่รอด และมั่งคง
ในภาวะราคาผลผลิตตกต่ำอย่างนี้คงต้องตั้งโจทย์ให้ตัวเอง
และมุ่งหาคำตอบอย่างเร่งด่วน เช่น
ทำอย่างไรให้ต้นทุนลดลง...?
ทำอย่างไรจะเพิ่มผลผลิต ให้มากขึ้น...?
ทำอย่างไรจะทำให้มูลค่าผลผลิตสูงขึ้น
ทำอย่างไรจะรายได้ทางอื่น นอกจากสวนยาง สวนปาล์ม...?
และทำอย่างไรจะยืนหยัดอยู่ในอาชีพ ได้อย่างยั่งยืน...?
ถ้าวันนี้ชาวสวนยาง สวนปาล์มไม่มี “คำตอบ”
จากคำถามเหล่านี้อยู่ในหัว ก็จะถึงเวลาไปต่อในอาชีพนี้ไม่ได้...!!!
สำหรับชาวสวนปาล์ม
ทีมงานยางปาล์มออนไลน์ มีแนวทางลดต้นทุน
การผลิตปาล์มน้ำมัน ให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น เราคัดลอกมาจาก หนังสือ สารพันปัญหาคาใจปาล์มน้ำมัน ของ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางลดต้นทุนช่วงราคาปาล์มตกต่ำได้อย่างดี
โดยทั่วไปในการลดต้นทุน เกษตรกรต้องมีข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ
เป็นข้อมูลพื้นฐานก่อน เพื่อเกษตรกรจะได้ทราบต้นทุนการผลิตหลักของตัวเอง
เมื่อทราบว่าสัดส่วนต้นทุนการผลิตหลักแล้ว
เกษตรกรควรเริ่มจากหาแนวทางลดต้นทุนที่มีสัดส่วนสูงที่สุดเป็นอันดับแรก
เกษตรกรคงทราบดีว่าต้นทุนการผลิตหลักประมาณครึ่งหนึ่งของต้นทุนรวมทั้งหมด
คือ “ปุ๋ยเคมี” รองลงมาประมาณร้อยละ 20-25 เป็น “ค่าเก็บเกี่ยว” และประมาณร้อยละ
10-15 คือ “ค่าขนส่ง” ซึ่งสัดส่วนต้นทุนทั้งสามส่วนนี้ เกษตรกรแต่ละรายก็แตกต่างกัน
เกษตรกรจึงควรหาแนวทางลดต้นทุนปุ๋ยเป็นอันดับแรก ถ้าลดต้นทุนส่วนนี้ได้จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด
และจึงหาแนวทางลดต้นทุนค่าเก็บเกี่ยวและค่าขนส่งเป็นลำดับถัดไป
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
แนวทางการลดต้นทุนปุ๋ยเคมี
ทำอย่างไร
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
แนวทางลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี
เกษตรกรต้องพิจารณาชนิดปุ๋ย ปริมาณ และราคาปุ๋ย ที่จะใช้
สำหรับชนิดปุ๋ยเกษตรกรเลือกใช้ “แม่ปุ๋ย” แทน
“ปุ๋ยผสมสูตรสำเร็จ” ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนแปลงการใช้ปุ๋ยผสม สูตร 15-10-30
หรือ 14-7-35 เป็นแม่ปุ๋ยสูตร 21-0-0, 46-0-0, 18-46-0 และ 0-0-60 จะช่วยลดต้นทุนปุ๋ยที่ไม่จำเป็นสำหรับต้นปาล์มที่มีในปุ๋ยผสมได้
สำหรับปริมาณปุ๋ยที่ใช้
เกษตรกรจะต้องใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของปาล์มน้ำมันในแต่ละช่วงอายุ
แม่ยำที่สุด ควรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบ
ข้อมูลจาก : สารพันปัญหาคาใจ ปาล์มน้ำมัน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
คณะผู้เขียน
อาจารย์ธีระพงศ์ จันทรนิยม (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.)
รศ.ดร.สุธัญญา ทองรักษ์ (คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.)
ผศ.ดร.สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย (คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.)
นายธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ หัวหน้าทีมที่ปรึกษาการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (GIZ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น