ทำหมันสวนยาง 200,000 ไร่ ใน 3 เดือน รัฐจ่ายเพิ่มรายละ 4,000 บาท มาตรการลดผลผลิต ดันราคายางสูง
Labels:
News
15 ธันวาคม 2560 >>> คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
(กนย.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ 3 มาตรการ และจะนำเข้าหารือต่อ ครม.
ในสัปดาห์หน้า (19 ธันวาคม 2560) ได้แก่
1. สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง
(ยางแห้ง) วงเงิน 20,000 ล้านบาท และโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
วงเงิน 15,000 ล้านบาท
2. ลดการกรีดยางและลดพื้นที่การปลูกยาง โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จะชดเชยในอัตรา รายละ 4,000 บาท จากเดิมที่ได้รับอยู่แล้วรายละ 16,000 บาทต่อไร่ หวังเร่งรัดการโค่น ลดผลผลิต ในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2561 ควบคู่กับการให้ภาครัฐหยุดกรีด 3 เดือน
คาดว่าจะลดปริมาณผลผลิตยางแห้งประมาณ 10,000 ตัน
3. เตรียมรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง 2 แสนตัน ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 - 30 เมษายน 2561 เพื่อป้อนเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) |
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
นายกฤษฎา บุญราช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า กนย.
เห็นชอบโครงการสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง)
วงเงิน 20,000 ล้านบาทเพื่อช่วยดูดซับปริมาณยางออกจากระบบประมาณร้อยละ
11 ของผลผลิตยางแห้ง 350,000 ตัน จากผลผลิตทั้งปี
ประมาณ 3.2 ล้านตัน
โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี (ไม่เกิน 600 ล้านบาท) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561
- เดือนธันวาคม 2562 และมีระยะเวลาการชำระเงินคืนเงินกู้ไม่เกิน
1 ปีนับจากวันทำสัญญาต่อปี โดยเห็นชอบให้ กยท. ดำเนินโครงการ
รวมถึง
ยังเห็นชอบให้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
วงเงิน 15,000 ล้านบาท
เพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต
ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบตามกรอบวงเงิน 15,000 ล้านบาท
ปัจจุบันมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพียงจำนวน 29 ราย และได้รับอนุมัติสินเชื่อเข้าร่วมโครงการฯ 16 ราย
วงเงินประมาณ 8.887 พันล้านบาท ปริมาณการใช้ยางเพิ่มขึ้น 35,550
ตัน/ปี ขณะนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอีกหลายราย
ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานภาครัฐใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราให้มีเสถียรภาพ โดยการดูดซับปริมาณยางออกจากตลาด
เตรียมให้ กยท. รับซื้อผลผลิตยางพารา ได้แก่ ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 น้ำยางสด ยางก้อนถ้วย หรือยางชนิดอื่นๆ รับซื้อผ่าน ตลาดยาง กยท.
ตลาดเครือข่าย และตลาดกลางยางพารา กยท. ประมาณ 200,000 ตัน ในช่วงเดือนธันวาคม
2560 - 30 เมษายน 2561 ไปใช้งานหน่วยงานภาครัฐแจ้งความประสงค์ เช่น
การทำถนนลาดยางมะตอยผสมยางพาราชนิดผสมร้อน (Para
Asphaltic Concrete) ชั้นพื้นทางของถนน (Based) Para rubber
polymer soil cement ยางปูพื้นแบบ Block สนามฟุตซอล
หรือ สนามเด็กเล่น ยางปูสระน้ำ และอื่นๆ เป็นต้น
━━━━━━━━━━━━━━
กยท. หนุนปลูกพืชอื่นแทนยาง 2 แสนไร่ ลดปริมาณยาง
9 หมื่นตัน
━━━━━━━━━━━━━━
นายธีธัช สุขสะอาด
ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า จากนโยบายในการสร้างเสถียรภาพด้านราคา
ด้วยมาตรการลดพื้นที่ปลูก เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างปริมาณและความต้องการใช้ กยท.
มีแผนดำเนินการโดยเร่งรัดการโค่นยางมากยิ่งขึ้น
ด้วยการสนับสนุนการโค่นเพื่อปลูกแทนของเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท.
ไปปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่น ทั้งไม้ผลไม้แปรรูปและอื่นๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
จำนวน 200,000 ไร่
พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ชาวสวนยางรายละ 4,000 บาท
ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2561 นี้
จะเป็นการลดพื้นที่ปลูกยางแบบถาวร
และยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี
เน้นการปลูกแทนแบบผสมผสาน ตาม พ.ร.บ. กยท.พ.ศ.2558 อีกจำนวน 200,000 ไร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต
ควบคู่กับลดปริมาณผลผลิตคาดว่าการส่งเสริม และสนับสนุนครั้งนี้ จะลดปริมาณผลผลิตจากภาคเกษตรกรได้ไม่น้อยกว่า 90,000 ตัน
นอกจากนี้ ยังให้หน่วยงานภาครัฐที่มีสวนยาง ประมาณ 121,000 ไร่ ทั้ง
กยท. กรมวิชาการเกษตร และ ออป. ร่วมกันหยุดกรีดยาง
จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งช่วยลดปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดได้ไม่น้อยกว่า 6.78 พันตันในระยะเวลา 3 เดือนนี้
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น