ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวหลังจากเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการของบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ
จำกัด (International Rubber Consortium : IRCo) ประกอบด้วยตัวแทนจากทั้ง
3 ประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย เมื่อวันที่
3 พ.ย. 60 ว่าที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ในประเด็นสถานการณ์ยางพารา
การคาดการณ์อุปสงค์และอุปทานของยางที่จะเกิดขึ้น
รวมถึงประเด็นราคายางในปัจจุบันที่ไม่เป็นไปตามกลไกการตลาด และได้นำเอาปัจจัยอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณา
ปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นกับประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก ทั้ง
3 ประเทศจะส่งผลต่อปริมาณยางในตลาดโลกที่มีแนวโน้มจะลดลง
ผลของปรากฏการณ์ลานินญ่า ที่จะทำให้เกิดฝนตกหนักมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของยางในแต่ละประเทศ
ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 – มกราคม
2561 รวมถึงการมาถึงของฤดูหนาวที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือน
ตุลาคม – ธันวาคม 2560 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อปริมาณยางในตลาดซื้อขายโลกลดลง
เช่นกัน
- Advertisement -
รวมถึงการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์ในตลาดหลัก เช่น จีน สหภาพยุโรป
และญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.8, 3.7 และ 7.1 ตามลำดับ
ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางล้อ
ปัจจัยด้านราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้น
และการที่ทั้ง 3 ประเทศมีเป้าหมายจะเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศมากขึ้น
โดยการนำยางไปสร้างถนนและทางยกระดับต่างๆ และอื่นๆ
ทั้งสามประเทศจะเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพร้อมจะดำเนินมาตรการเข้มข้นมากขึ้นร่วมกัน เพื่อช่วยผลักดันให้ราคายางกลับเข้าสู่ภาวะที่ควรจะเป็น อีกทั้ง ที่ประชุมเน้นว่า พร้อมจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยทั้ง 3 ประเทศ มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ดร.ธีธัช กล่าว
IRCo ชี้ 5
ประเด็นข่าว หนุนปัจจัยบวกต่อราคายาง
บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCO) ที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้กรอบการทำงานของสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ
(ITRC) ติดตาม 5
ประเด็นข่าวที่จะส่งผลให้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าราคายางจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบด้วย
1 มติที่ประชุมสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 60
เห็นชอบในการประกาศมาตรการควบคุมปริมาณส่งออกครั้งที่ 5
ซึ่งจะมีผลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 เป็นต้นไป
2 ข่าวการลดลงของปริมาณยางธรรมชาติในประเทศจีน ซึ่งลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จาก 510,356
ตัน (17 พ.ย. 60) ลดลงไป 187,948 ตัน คงเหลือปริมาณ 322,408 ตัน (24 พ.ย.60)
3 เหตุการณ์ข่าวรายงานเหตุไฟไหม้โกดังเก็บยางพาราในเมืองชิงเต่า
ทำให้ยางได้รับความเสียหายไปประมาณ 30,000 ตัน จากการตรวจนับสต๊อกเมื่อกลางเดือน
พ.ย. 60 ที่ผ่านมา พบว่าปริมาณของยางในโกดังชิงเต่า ลดลง 206,100 ตัน เหลือ
176,000 ตัน
4 ข่าวกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปคและนอกกลุ่มโอเปคที่นำโดยประเทศรัสเซีย
เห็นพ้องร่วมกันที่จะลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลงไปจนถึงปลายปี 2018
(ปริมาณน้ำมันจากกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปคและประเทศรัสเซียคิดเป็น 40% ของจำนวนมากผลิตทั่วโลก)
5 ข่าวน้ำท่วมใหญ่ 8
จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช
นราธิวาส และสุราษฎร์ธานี
ทำให้หลายพื้นที่ไม่สามารถกรีดยางได้จึงส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตในตลาดประเทศไทย
จากสถานการณ์ข่าวต้น IRCO เชื่อมั่นว่า
นี่คือสัญญาณที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะทำให้สถานการณ์ราคายางในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ที่มา : การยางแห่งประเทศไทย
ที่มา : การยางแห่งประเทศไทย
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น