รัฐต้องหนุนเกษตรกรทำยางแผ่น สร้างระบบสต็อกยางจากในสวน ไม่ต้องหยุดกรีด
มีคนมาถามผมว่า อาบูทำไมราคายางถูก...!
พวกนักลงทุนที่เข้ามาปั่นราคาเพื่อเก็งกำไรก็ยิ้ม
เพราะคาดเดาสถานการณ์จากปริมาณสต็อกได้ง่าย
ปัจจุบันเรามีเกษตรกรชาวสวนยาง 1,568,977 ครัวเรือน
หากพี่น้องเกษตรกรหันมาทำยางแผ่นแทนการขายผลผลิตเป็นยางก้อนถ้วย ก็จะเกิดการชะลอยางเข้าสู่ระบบ
1.57 ล้านตัน ในเวลาไม่กี่วัน (ในความเป็นจริงเราจะชะลอการไหลของสต็อกยางได้มากกว่านั้น
เพราะบางครัวเรือนเก็บสต็อกได้ 5-10 ตัน)
แต่ราคายางล้อรถยนต์ยังแพงเหมือนเดิม
?
ผมเลยตอบไปว่า...นี่แค่น้ำจิ้ม...!
เมื่อไหร่ก็ตามที่ชาวสวนยางเลิกทำยางแผ่นกันหมด
แล้วหันไปขายยางในรูปยางก้อนถ้วย ราคายางจะยิ่งดิ่งลงกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้อีก
เพราะการขายผลผลิตในรูปของยางก้อนถ้วย
ทำให้ยางส่วนใหญ่ไปรวมกันอยู่ที่หน้าลาน และ อยู่ในสต็อกของโรงงานทำยางแท่ง STR
อดีตยางเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในรูปของยางแผ่น
เก็บไว้รอราคาอยู่ในสต็อกท้ายไร่ของเกษตรกรเอง พ่อค้าไม่รู้ปริมาณยางที่แท้จริง
พ่อค้าจะรู้สต็อกเป๊ะๆ ก็แค่ตัวเลขจากสต็อกในกระบวนการทำยางผสม (Compound) เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณยางจริงทั้งระบบ
เราต่างรู้ดีว่า ยางก้อนถ้วยรอบการไหลของการเปลี่ยนมือมันเร็ว เพียง 3-4 วัน ยางก็ถูกเปลี่ยนไปอยู่ในมือพ่อค้า
หรือพูดง่ายๆ มียางไหลสู่มือพ่อค้าแทบทุกวัน
พ่อค้าจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อยางมาทำสต็อกเยอะๆ เพราะรู้ปริมาณสต็อกยางที่มีในระบบแบบเรียวไทม์
จะต่างกับในอดีต ที่ยางส่วนใหญ่ถูกเก็บอยู่ในมือเจ้าของสวน สต็อกยางส่วนใหญ่เป็นสต็อกนอกระบบ อยู่นอกการควบคุมของพ่อค้า
ซึ่งในอดีตพ่อค้าจะประเมินปริมาณยางที่แท้จริงในระบบไม่ได้
ทำได้เพียงแค่คาดเดาแบบประมาณการณ์
ในอดีตพ่อค้าจึงต้องใช้กลไกการขยับราคาขึ้น
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการขาย
การขยับราคาจึงเป็นกลไกหลักที่ถูกใช้ในการดึงยางออกมาจากมือเกษตรกร สู่มือพ่อค้า
วิถีของยางเปลี่ยน คนมีอำนาจต่อรองจึงถูกเปลี่ยนมือ
จะแก้ปัญหาราคายางให้ยั่งยืน ควรหวนคืนสู่สามัญ ผลักดันให้เกษตรกรหันมาทำยางแผ่นให้เยอะขึ้น
เพื่อชะลอการไหลของยางจากเกษตรกรสู่มือพ่อค้า ส่งเสริมให้เกษตรกรเห็นประโยชน์ของการเก็บผลผลิตไว้กับตัว
เพื่อให้เกิดกลไกการขยับราคา
ชาวสวนยางที่ยังคงมีเครื่องไม้เครื่องมือ
และเคยทำยางแผ่นมาก่อน ต่างรู้ดีว่าเขามีศักยภาพที่จะเก็บสต็อกยางได้เป็นตันต่อครัวเรือน
แต่ทว่าภาครัฐก็ต้องสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกษตรกรหันมาเก็บผลผลิตไว้กับตัวเพื่อรอราคา
รู้แบบนี้แล้วยังจำเป็นที่จะต้องหยุดกรีดยางกันอีกมั้ย
คิดสิคิด...! ท่านนักวิชาการเกษตรทั้งหลาย
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น